สิทธิการตรวจสุขภาพ สำหรับ 3 กลุ่ม
1. สิทธิการตรวจสุขภาพของข้าราชการ
สำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ไม่รวมถึงบุคคลในครอบครัว) สามารถเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีในสถานพยาบาลของทางราชการได้ปีละ 1 ครั้ง โดยแบ่งการตรวจเป็น 2 ช่วงอายุตามข้อมูลที่ระบุไว้ในเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง คือ
ผู้มีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ สามารถใช้สิทธิการตรวจสุขภาพได้ดังนี้
1.1 เอกซเรย์ปอด
1.2 ตรวจปัสสาวะ
1.3 ตรวจอุจจาระ
1.4 ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
1.5 ตรวจมะเร็งปากมดลูก
2. ผู้มีอายุมากกว่า 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถใช้สิทธิการตรวจสุขภาพได้ดังนี้
2.1 เอกซเรย์ปอด
2.2 ตรวจปัสสาวะ
2.3 ตรวจอุจจาระ
2.4 ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
2.5 ตรวจมะเร็งปากมดลูก
2.6 ตรวจสารเคมีในเลือด
- กลูโคส
- คลอเลสเตอรอล
- ไตรกลีเซอไรด์
- การทำงานของไต (BUN)
- การทำงานของตับ (Creatinine)
- การทำงานของตับ (AST)
- การทำงานของตับ (ALT)
- การทำงานของตับ (ALP)
- กรดยูริก
2. สิทธิการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน
สำนักงานประกันสังคมได้มอบสิทธิการตรวจสุขภาพให้กับผู้ประกันตนเพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ปีละ 1 ครั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถรับบริการได้ ณ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง เพียงยื่นบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น โดยให้บริการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์อายุ ได้แก่
การตรวจร่างกายตามระบบ
1.1 การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test (15 ปีขึ้นไป)
1.2 การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข (30-55 ปีขึ้นไป)
1.3 การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ (40-54 ปี)
1.4 การตรวจสายตาด้วย Snellen eye Chart (55 ปีขึ้นไป)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1 ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC (18-70 ปีขึ้นไป)
2.2 ปัสสาวะ UA (55 ปีขึ้นไป)
การตรวจสารเคมีในเลือด
3.1 น้ำตาลในเลือด FBS (35-55 ปีขึ้นไป)
3.2 การทำงานของไต Cr (55 ปีขึ้นไป)
3.3 ไขมันในเส้นเลือดชนิด Total & HDL cholesterol (20 ปีขึ้นไป)
การตรวจอื่น ๆ
4.1 เชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg (ผู้ที่เกิดก่อนปี 2535)
4.2 มะเร็งปากมดลูก Pap Smear (30-55 ปีขึ้นไป)
4.3 มะเร็งปากมดลูก Via (30-55 ปีขึ้นไป)
4.4 เลือดในอุจจาระ FOBT (50 ปีขึ้นไป) .
4.5 เอกซเรย์ปอด Chest X-ray (15 ปีขึ้นไป)
3. บัตรทองหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ปัจจุบันยังไม่มีการมอบสิทธิการตรวจสุขภาพให้กับผู้มีสิทธิ์ทั่วไปโดยตรง แต่จะเป็นในลักษณะของการเข้าพบแพทย์เพื่อคัดกรองความเสี่ยงและซักถามประวัติหรือพฤติกรรมสุขภาพเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไปตามความจำเป็น จากนั้นจึงเป็นการส่งตรวจตามดุลยพินิจและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น
แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเข้ารับสิทธิการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพ ณ คลินิกผู้สูงอายุครบวงจรทั้ง 64 แห่งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้ที่สนใจเข้ารับบริการสามารถแจ้งความจำนงได้ที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุข โดยทางหน่วยบริการจะทำบัตรเพื่อเข้ารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุครบวงจรโดยคัดกรองตามรายการทั้ง 11 รายการ ได้แก่
- ตรวจสุขภาพทั่วไป
- เจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดระดับเม็ดเลือด ระดับไขมัน
- วัดภาวะความซึมเศร้า
- วัดภาวะสมองเสื่อม
- ประเมินด้านโภชนาการ
- ประเมินการใช้ชีวิตประจำวันหรือ ADL
- ประเมินด้านการใช้ยา
- ประเมินภาวะกระดูกพรุน
- คัดกรองภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
- วัดภาวะพลัดตกหกล้ม
- ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพ
การตรวจสุขภาพเป็นการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันก่อนเกิดโรคที่ทุกคนควรให้ความสนใจโดยเฉพาะผู้ที่มีสิทธิการตรวจสุขภาพดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นสิทธิประโยชน์ที่คนไทยไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง เข้ารับการตรวจเพื่อใช้สิทธิ์ได้ตามรายชื่อโรงพยาบาล ที่กำหนดจากหน่วยงานรัฐบาลได้ทันที
บริษัท เมดิคอลไลน์ แล็บ จำกัด บริการตรวจสุขภาพประจำปี
เปลี่ยนจากประกันสังคมมาเป็นสิทธิบัตรทองหรือบัตร 30 บาท รู้สู้โรค ThaiPBS
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เปลี่ยนจากประกันสังคมมาเป็นสิทธิบัตรทองหรือบัตร 30 บาท ในรายการ
รู้สู้โรค ThaiPBS 1 กันยายน 2566 (2023) เนื้อหาสำคัญ
- สิทธิการรักษาพยาบาลหลักๆ ของคนไทยมี 3 สิทธิ พื้นฐานคือ บัตรทอง ทุกคนมีแต่เกิด หากเป็นข้าราชการ จะได้สิทธิราชการ (ครอบครัว พ่อแม่ ได้สิทธิด้วย) หากเป็นคนทำงาน มีนายจ้าง จะอยู่ในสิทธิประกันสังคม (เป็นสิทธิเฉพาะตัว) ต้องส่งเงินสมทบ
- สิทธิบัตรทอง มี 2 กลุ่มคือสิทธิการรักษาพยาบาล และสิทธิสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค (ฉีดวัคซีน เคลือบหลุมร่องฟัน ตรวจคัดกรองมะเร็ง ตรวจยืนมะเร็งเต้านม ฯลฯ) คนไทยใช้สิทธิเหล่านี้ได้
- ประกันสังคม ต้องจ่ายเงินสมทบ ดูแล 2 ส่วนคือ รักษาพยาบาล และดูแลจากการทำงาน (ว่างงาน ออกจากงาน อุบัติเหตุ เกษียณ ตาย)
- สิทธิบัตรทอง กับ สิทธิประกันสังคม ใช้ร่วมกันไม่ได้ ตามกฏหมาย
- ประกันสังคม ม.33 หากลาออก (หรือว่างงาน) แล้วไม่ส่งสมทบใน 6 เดือน จะปรับเป็นสิทธิบัตรทองอัตโนมัติ [คลิป]
- หากเดิมทีประกันสังคม โรงพยาบาลเดิมอยู่ แล้ว เปลี่ยนสิทธิเป็นบัตรทอง จะคงโรงพยาบาลเดิมได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ เว้นว่า หากมีเหตุฉุกเฉินระหว่างนั้น ต้องใช้โรงพยาบาลอื่น อาจต้องเปลี่ยนโรงพยาบาล แต่กระนั้น ก็สามารถเปลี่ยนใหม่ในภายหลังได้เช่นกัน (ปีละ 4 ครั้ง)
- การใช้สิทธิรักษาทำอย่างไร ให้ไปคลินิกใกล้บ้าน หากรุนแรงจะมีระบบส่งตัว
- บัตรทองหากเจ็บป่วยฉุกเฉิน ใช้สิทธิฉุกเฉินได้ หากรุนแรงถึงชีวิต มีระบบ UCEP ดูแลผู้ป่วยวิกฤตสีแดง เข้าได้ทุกโรงพยาบาล
- เช็คสิทธิได้ที่ สปสช. 1330 หรือ Line @nhso (เช็คได้ทุกสิทธิ)
บำเหน็จ-บำนาญ ประกันสังคม ใช้สิทธิยังไงคุ้ม? ลงทุนนิยม EP.385 Wealth Me Up
คุณสาธิต บวรสันติสุข ผู้เชี่ยวชาญ มาให้ข้อมูลในหัวข้อ บำเหน็จ-บำนาญ ประกันสังคม ใช้สิทธิยังไงคุ้ม? ลงทุนนิยม EP.385 Wealth Me Up
5 Apr 2024
เงินบำเหน็จ vs เงินบำนาญ ประกันสังคม เลือกแบบไหนคุ้มกว่ากัน?
กองทุนชราภาพ ดูแลคนทำงาน หลังพ้นกำหนดส่งเงินสมทบ ผ่านทาง บำเหน็จ จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว และ บำนาญ จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
แบบไหนคุ้มกว่ากัน? อยู่ที่เงื่อนไขเขาเข้าว่ามาอย่างไร หากต้วยบำเหน็จ ต้องออกด้วยบำเหน็จ เข้าด้วยบำนาญ ออกด้วยบำนาญ เลือกไม่ได้ขาออก เลือกได้เฉพาะขาเข้า หมายถึงอย่างไร
- เงื่อนไข เงินบำนาญ คือ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ให้ได้อย่างน้อย 180 เดือน (ไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องก็ได้ แต่นับรวมตลอดชีวิตการทำงาน) จ่ายให้เกิน 180 เดือนไว้ จะได้
- เงื่อนไข เงินบำเหน็จ คือ จ่ายไม่ครบ 180 เดือน
อย่างไหนคุ้มกว่ากัน ต้องคำนวนแล้วเปรียบเทียบกัน
เงินบำเหน็จ จะได้เท่าไหร่ คำนวนได้จาก
- ระบบใช้ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท คำนวน (แม้ว่าจะมีฐานเงินเดือนจริงสูงกว่าก็ตาม)
- เงินสมทบส่วนลูกจ้าง 3% 450 บาท เงินสมทบส่วนนายจ้าง 3% 450 บาท รวม 900 บาท ต่อเดือน
- ระยะเวลา 15 ปี จะเท่ากับ 900x12x15 (ปี) รวม 162,000 บาท
เงินบำนาญ จะได้เท่าไหร่ คำนวนได้จาก
- ระบบใช้ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท คำนวน (แม้ว่าจะมีฐานเงินเดือนจริงสูงกว่าก็ตาม)
- อัตราบำนาญเริ่มต้น 20% สำหรับปีที่ 1-15
- อัตราบำนาญเพิ่มอีกปีละ 1.5% สำหรับปีที่ 16 เป็นต้นไป
- จะเท่ากับ 3,000 x 12 (เดือน)
- ระยะเวลาที่ จะได้รับเท่ากับรับบำเหน็จ (162,000 บาท) คือเมื่อรับไปแล้ว 4.5 ปี (162,000 / 3000x12)
ผู้ประกันตน เกษียณ ต่อ ม.39 ดีหรือไม่?
ผู้ประกันตน เกษียณ ต่อ ม.39 ดีหรือไม่? [
คลิป]
คนที่ต่อม.39 เพื่อคงอยู่ในกองทุนต่อ เพื่อรับสิทธิรักษาพยาบาล
เหมาะกับการจำเป็นต้องรักษาสุขภาพ
กรณี การรับบำนาญ หมายถึง หมดสิทธิรักษาพยาบาล เช่นกัน จะไปใช้สิทธิบัตรทองแทน (สถานพยาบาลภาครัฐในพื้นที่ๆอาศัยอยู่)
แนะนำไปสำรวจสถานพยาบาลที่จะรับบริการบัตรทองด้วย ประกอบการพิจารณา
หลักการคำนวนบำนาญชราภาพ
- ม.33 ใช้ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย ไม่เกิน 15,000 บาท
- ม.39 ใช้ฐานเงินเดือนไม่เกิน 4,800 บาท
ผู้ประกันตน ‘เกษียณ’ ต้องขอรับเงินบำนาญ ก่อนต่อ ม.39?
ผู้ประกันตน ‘เกษียณ’ ต้องขอรับเงินบำนาญ ก่อนต่อ ม.39 [
clip]
ผู้ประกันตน ม.33 จนครบอายุ 55 ปี ส่งสมทบครบ 180 เดือน มีสิทธิรับบำนาญ
สามารถสมัคร ม.39 ต่อได้ แต่ ควรทำหลังรับบำนาญ แล้ว 2 ก้อน แรกไปก่อน
เพื่อเป็นการล็อกฐานเงินเดือนที่บำนาญก้อนแรก ที่อิงฐานเงินเดือน 15,000 บาท
เพราะไม่ได้รับบำนาญก้อนแรก แต่ไปต่อ ม.39 เลย ระบบจะจัดฐานเงินเดือนแรก เป็นแค่ 4,800 บาท
ทั้งนี้ ตามกฏหมายที่เขียนไว้ ว่า เมื่อรับเงินบำนาญก้อนแรกไปแล้ว ในอนาคต เมื่ออยากจะกลับมา อีกครั้ง จะยึดจากฐานเพดานเงินเดือน ตามบำนาญก้อนแรก (ในม.33 นั่นเอง)
จ่ายเงินสมทบ 179 เดือน ทำอย่างไร…ให้ได้รับเงินบำนาญ?
จ่ายเงินสมทบ 179 เดือน แต่อายุครบ 55 ปี ก่อน ทำอย่างไร…ให้ได้รับเงินบำนาญ? [
clip]
เมื่ออายุครบ 55 ปี แต่จ่ายเงินสมทบ 179 เดือน เมื่อขอรับเงินจากกองทุนชราภาพ จะได้รับ บำเหน็จ (รับเงินก่อน) เท่านั้น
กรณีรับบำเหน็จแล้ว ถือว่าสิ้นสุดสิทธิ
เมื่อจะกลับเข้า ม.39 จะนับเริ่มหนึ่งใหม่ ไม่ได้นับต่อจาก 179 เดือน
บำเหน็จ คำนวนจาก 2 กรณี ตามจำนวนเดือนที่ส่ง
- ต่ำกว่า 12 เดือน (1-11 เดือน) : เงินสมทบของผู้ประกันตน x จำนวนเดือน (1-11 เดือน) = จำนวนเงินบำเหน็จชราภาพ
- เกิน 12 เดือน (12-179 เดือน หรือ 1 ปี-14 ปี 11 เดือน) : เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน = จำนวนเงินบำเหน็จชราภาพ
* “ผลประโยชน์ตอบแทน” เงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ 39 คือ "เงินปันผล" ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนจากการที่สำนักงานประกันสังคมนำเงินสมทบไปลงทุน โดยแต่ละปีจะมีอัตราที่แตกต่างกัน ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยย้อนหลัง 5 ปี มีผลตอบแทนดังนี้ 2562 4.52 2563 2.75 2564 2.83 2565 3.46 2566 2.53
ตัวอย่างการคำนวน
- กรณีส่งสมทบ 11 เดือน : 11 x 300 (ยอดส่งต่อเดือน) = 3,300 บาท
- กรณีส่งสมทบ 179 เดือน : เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน
1) คำนวนจากส่วนเงินสมทบ 900x179 เป็นเงิน 161,100 บาท (900 คือ 450 (3% ของ 15,000) ฝั่งลูกจ้าง และ 450 ฝั่งนายจ้าง)
2) คำนวนจากผลประโยชน์ตอบแทน 5 ปี ย้อนหลัง ดังนี้
2562 10,800 10,800 x 4.52% 488.16
2563 10,800 (10,800+10,800) x 2.75% 594.00
2564 10,800 (10,800+10,800+10,800) x 2.83% 916.92
2565 10,800 (10,800+10,800+10,800+10,800) x 3.46% 1,494.72
2566 9,900 [(10,800+10,800+10,800+10,800+9,900) x 2.53%] x 11/12 (11 จาก 12 เดือน) 1,231.47
รวมผลประโยชน์ตอบแทน 4,725.27 บาท
3) รวมทั้งสองส่วน 165,825.27 บาท
ทำอย่างไรหากจะอยากรับบำนาญ
ไม่ต้องรับบำเหน็จ แล้วสมัคร ม.39 ต่อได้ จะได้รับต่อ
แต่ฐานเงินเดือนจะลดลงจาก 15,000 ลงมาที่ 4,800 จริง
แต่ปกติจะคำนวนจำนวนเดือนที่ 60 เดือนสุดท้าย การมีเดือน 4,800 มารวมทำให้ฐานลดลง แต่ก็ถือว่าเล็กน้อย