โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร กฎกระทรวง ฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 51 แห่งพะราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออก กฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 46 (พ.ศ.2518) อกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 69 (พ.ศ.2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
ข้อ 2 โรคหรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจ ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามมาตรา 41 คือ
(1) โรคหรือความผิดปกติของตา
(ก) ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือเมื่อรักษา และแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็น ยังอยู่ในระดับ ต่ำกว่า 3/60 หรือ ลานสายตาโดยเฉลี่ย แคบกว่า 10 องศา
(ข) สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษา และแก้สายดาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็น ยังอยู่ในระดับ 6/24 หรือต่ำกว่า ทั้งสองข้าง
(ค) สายตาสั้นมากกว่า ㆍ ไดออปเดอร์ หรือสายตายาวมากกว่า ๕ ไดออปเดอร์ทั้งสองข้าง
(ง) ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract)
(จ) ต้อหิน (Glaucoma)
(ฉ) โรคขั้วประสาทตาเสื่อมทั้ง ๒ ข้าง (Optic Atrophy)
(ช) กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง
(2) โรคหรือความผิดปกติของหู
(ก) หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ 500 - 2,000 รอบ ต่อวินาทีหรือมากกว่า 55 เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง
(ข) หูชั้นกลางอักเสบ เรื้อรังทั้งสองข้าง
(ค) เยื่อแก้วหูทะลุ ทั้งสองข้าง
(3) โรคของหัวใจและหลอดเลือด
(ก) หัวใจหรือหลอดเลือดพิการ อย่างถาวร จนอาจอันตรายร้ายแรง
(ข) ลิ้นหัวใจพิการ
(ค) การเต้นของหัวใจผิดปกติ อย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
(ง) โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ชนิดที่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และ อาจเป็นอันตราย
(จ) หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
(ฉ) หลอดเลือดภายในกระโหลกศีรษะ โป่งพอง หรือผิดปกติ ชนิดที่อาจเป็นอันตราย
(4) โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด
(ก) โรคเลือด หรือ อวัยวะสร้างเลือด ผิดปกติ อย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย
(ข) ภาวะม้านโต (Hyperspleenism) ที่รักษาไม่หาย และ อาจเป็นอันตราย
(5) โรคของระบบหายใจ
(ก) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Diseases)
(ข) โรคหลอดลมพอง (Brrooonchiectasis)
(ค) โรคหืด (Asthma)
(ง) โรคของระบบหายใจ ที่ทำให้สมรรถภาพปอด ลดลง อย่างถาวรจน Forced Expiratory Volume in One Second ต่ำกว่า 2 ลิตร หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าปกติ
(6) โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ
(ก) ไตอักเสบ เรื้อรัง
(ข) กลุ่มอาการไตพิการ (Nephritic Syndrome)
(ค) ไตวาย เรื้อรัง
(ง) ไตพองเป็นถุงน้ำ แต่กำเนิด (Polycystic Kidney)
(7) โรคหรือความผิดปกติ ของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
(ก) ข้ออักเสบเรื้อรัง จนกระดูกเปลี่ยนรูป
(ข) แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง ผิดปกติ ดังต่อไปนี้
- แขน ขา มือ หรือเท้า ด้วน หรือพิการ ถึงแม้ว่าจะรักษา ด้วยวิธีใหม่ที่สุด แล้วก็ยังใช้การไม่ได้
- นิ้วหัวแม่มือด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้
- นิ้วชี้ของมือด้วน ดั้งแต่ข้อปลายนิ้ว
- นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้
- นิ้วหัวแม่เท้าด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้
- นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้
- นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้
- นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อโคนนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้
(ค) คอเอียงหรือแข็งทื่อ ชนิดถาวร
(ง) กระดูกสันหลังโก่ง หรือคดหรือแอ่น จนเห็นได้ชัด หรือแข็งทื่อ ชนิดถาวร
(จ) กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contractuure) จนเป็นผลให้อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ใช้การไม่ได้
(8) โรคของต่อมไร้ท่อ และภาวะผิดปกติ ของเมตะบอลิสัม
(ก) ภาวะต่อมชัยรอยด์ทำงานน้อยไป อย่างถาวร
(ข) ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อย ไปอย่างถาวร
(ค) ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติ อย่างถาวร
(ง) เบาหวาน
(จ) ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีค่าดัชนี ความหนาของร่างกาย (Body MassIndex) ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป
(ฉ) โรคหรือความผิดปกติ เกี่ยวกับ เมตะบอลิสัม ของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลยสาร น้ำ อีเล็กโทรลัย และกรดด่าง ตลอดจน เมตะบอลิสัมอื่นๆ ชนิดถาวร และอาจเป็นอันตราย
(9) โรคติดเชื้อ
(ก) โรคเรื้อน
(ข) โรคเท้าช้าง
(ค) โรคติดเชื้อเรื้อรัง ระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้
(10) โรคทางประสาทวิทยา
(ก) จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา 69 หรือต่ำกว่านั้น
(ข) ใบ้ (Mutism) หรือพูดไม่เป็นภาษา หรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง (Aphasia) ชนิดถาวร
(ค) ลมชัก (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก (Seizures) อย่างถาวร
(ง) อัมพาต (Paralysis) ของ แขน ขา มือ หรือเท้าชนิดถาวร
(จ) สมองเสื่อม (Dementia)
(จ) โรคหรือความผิดปกติ ของสมอง หรือไขสันหลัง ที่ทำให้เกิด ความผิดปกติอย่างมาก ในการเคลื่อนไหว ของแขนหรือขา อย่างถาวร
(ช) กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (Myasthenia Gravis)
(11) โรคทางจิตเวช
(ก) โรคจิต หรือโรคที่ทำให้จิต ผิดปกติ อย่างรุนแรง และถาวร
(12) โรคอื่น ๆ
(ก) กระเทย (Hermaphrodism)
(ข) มะเร็ง (Malignant Neoplasm)
(ค) โรคตับอักเสบเรื้อวัง ชนิดร้ายแรง (Chronic Active Hepatitis)
(ง) ตับแข็ง (Cirrhosis of Liver)
(จ) คนเผือก (Albino)
(ฉ) โรคลูปัสอิธิมาโตซัส ทั่วร่างกาย (Systemic Lupus Erythematosus)
(ช) กายแข็ง ทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis)
(ช) รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่
- จมูกโหว่
- เพดานโหว่หรือสูง หรือลิ้นไก่สิ้น พูดไม่ชัด
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2540
(ลงชื่อ) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(ลงชื่อ) เสนาะ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ:-
- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ใช้ บังคับมาเป็นเวลานาน การกำหนดความพิการทพพลภาพ หรือโรค ซึ่งไม่สมารถจะรับ ราชการทหารได้จึงยังไม่สอดคล้องกับสภาพของความพิการทพพลภาพ หรือ โรคที่ เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดความพิการทพพลภาพ หรือโรคเป็นไปอย่าง ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพคามเป็นจริงในปัจจบัน สมควรปรับปรุงการกำหนด ความพิการทพพลภาพ หรือโรค ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้เสียใหม่ จึง จำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ (กฎกระทรวง ฯ นี้ ได้ลงประกาศในราชกิจจานเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๘ ก ลง ๓ มิ.ย.๔๐ หน้า ๑๑)
- โรงพยาบาลทหารกองเกินที่สามารถไปขอรับการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก 19 แห่ง ได้แก่
ส่วนกลาง: รพ.พระมงกุฎเกล้า(กรุงเทพฯ) , รพ.อานันทมหิดล (ลพบุรี) , รพ.ค่ายธนะรัชค์ (ประจวบคีรีขันธ์) , รพ.รร.จปร. (นครนายก)
ทภ.1 : รพ.ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี) , รพ.ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี) ,รพ.ค่ายอดิส (สระบุรี) , รพ.ค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)
ทภ.2 : รพ.ค่ายสุรนารี (นครราชสีมา) รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (อุบลราชธานี) , รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม (อุดรธานี) ,รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์) , รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา (สกลนคร)
ทภ.3 : รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก) ,รพ.ค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์) ,รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง) , รพ.ค่ายกาวิละ (เชียงใหม่)
ทภ.4 : รพ.ค่ายวชิราวุธ (นครศรีธรรมราช) , รพ.ค่ายเสนาณรงค์ (สงขลา)