ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยุงชอบกัดใคร ใครมักถูกยุงกัด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ยุงชอบกัดใคร ใครมักถูกยุงกัด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น HealthServ.net
ยุงชอบกัดใคร ใครมักถูกยุงกัด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ThumbMobile HealthServ.net

คนที่เป็นเป้าหมายถูกยุงกัด มี 6 ประเภท

ยุงชอบกัดใคร ใครมักถูกยุงกัด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น HealthServ
สาเหตุที่ยุงชอบกัดเรา เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจ อุณหภูมิ ความร้อนในร่างกาย กลิ่นตัว หมู่เลือด  คน 6 กลุ่มที่จะเป็นเป้าของยุงกัด ได้แก่ คนอ้วน คนออกกำลังกาย คนท้อง คนเมา เด็ก


ยุงสามารถจับความร้อนจากรังสี หรืออุณหภูมิจากผิวหนังได้ 

ยุงอยู่ในที่อุณหภูมิสูงได้ดีกว่าอยู่ในอุณหภูมิต่ำ ยุงจึงมักชุกชุมในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว และยุงชอบคนที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง เช่นกัน 

ดังนั้นอุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งสัญญาณเรียกยุงมาหา
 

ยุงชอบกัด คนหายใจแรงและบ่อย
เพราะ ยุงนั้นจะมีเรดาร์ชนิดพิเศษที่ไว้ใช้ตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อเราหายใจ จะนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาด้วย ใครหายใจมากสุดก็จะล่อยุงมาหาได้มากสุด
 

ยุงชอบกัดคนดื่มแอลกอฮอล์ 
แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป รวมทั้งปริมาณแอลกอฮอล์ที่ขับออกทางเหงื่อ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เป็นการดึงดูดยุงมา
 

ยุงชอบดูดเลือดคนกรุ๊ป โอ
เป็นรสนิยมของยุง !! ซึ่งอันที่จริง บางคนอาจจะไม่ทราบว่ายุงที่กัดเป็นยุงตัวเมีย ซึ่งการที่ยุงดูดเลือดเพราะต้องการโปรตีนไปสร้างไข่ของยุง และกรุ๊ป O มีโปรตีนมากที่สุด
 
 
ยุงชอบกัดผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

เพราะฮอร์โมนแตกต่างกัน


 
ยุงชอบกัดคนท้อง 
 
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มักจะโดนยุ่งกัดมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า เพราะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจมากกว่าคนทั่วไปถึง 21% และร่างกายจะอุ่นกว่าคนทั่วไปประมาณ 1.26 องศาฟาเรนไฮต์ 


 
 
ยุงชอบกัดคนที่มีปริมาณแบคทีเรียมากบนผิวหนัง
 
แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์บนผิวหนังที่อยู่บนตัวเราผลิตสารเคมีที่แตกต่างกัน ซึ่งบางชนิดมีกลิ่นที่น่าดึงดูดสำหรับยุงมากกว่า ดังนั้นถ้ายกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นก็เหมือนคนที่ยังไม่ได้อาบน้ำ มักจะโดนยุงกัดมากกว่าคนที่อาบน้ำแล้ว เพราะแบคทีเรียบนผิวมีอยู่มากกว่าและยังไม่ถูกชำระ 


 
ยุงชอบกัดเด็ก มากกว่า ผู้ใหญ่
 
เด็กเล็กตัวจะอุ่นมากอุ่นแทบตลอดเวลา จึงเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยุ่งชอบเข้าหา


 
ยุงชอบกัด คนใส่เสื้อผ้าสีเข้ม
 
เพราะเสื้อสีเข้มเป็นสีที่บรรดายุงสามารถมองเห็นได้ดีที่สุด
 
 

 

วิธีป้องกัน สามารถใช้สิ่งของในครัวเรือนที่หาได้ง่าย ๆ อย่างกระเทียม เพราะยุงไม่ชอบกลิ่นฉุน หรือหากใครที่ไม่ชอบกลิ่นฉุน พริกไทยดำก็ช่วยป้องกันได้ ดังนั้นคนที่ชอบกินกระเทียมและพริกไทยก็จะเป็นคนที่ยุงไม่โปรดปรานมักจะหลีกเลี่ยงเช่นกัน 
 ยุงเป็นสาเหตุของหลายโรคดังนี้

 ไข้เลือดออก
เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีโดยมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อย มีจุดเลือดเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง เช่น แขน ขา ลำตัว ควรหลีกเลี่ยงการกินยาแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบชนิด NSAIDS เพราะอาจทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารได้ โดยให้ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้แทน
 
ไข้ซิกา
เกิดจากเชื้อไวรัสซิกาโดยมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อและปวดตา หากป่วยด้วยโรคนี้ระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กเกิดมาศีรษะเล็กกว่าปกติ

ชิกุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อ
เกิดจากเชื้อไวรัสชิกุนกุนยามียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามข้อโดยเฉพาะบริเวณข้อนิ้วมือและข้อมือ ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาแบบจำเพาะ เป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วย
 
ไข้มาลาเรีย
เกิดจากเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายหวัดแต่รุนแรงกว่า โดยจะมีไข้สูง หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนมากพบโรคนี้ได้บริเวณป่าและชายแดน ปัจจุบันมียารับประทานเพื่อป้องกันก่อนเข้าพื้นที่เสี่ยง
 
เท้าช้าง
เกิดจากหนอนพยาธิฟิลาเรียอุดทางเดินน้ำเหลือง มียุงลายเสือเป็นพาหะ มักพบบริเวณชายแดนติดกับประเทศเมียนมา ผู้ป่วยจะมีอาการขาบวมใหญ่และผิดรูปคล้ายเท้าช้าง ในผู้ชายสามารถบวมลามขึ้นไปถึงบริเวณอัณฑะได้
 
ไวรัสเวต์ไนล์ 
เกิดจากไวรัสเวสต์ไนล์ที่มียุงรำคาญเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน และมีผื่นคันตามร่างกาย ในผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยปัจจุบันมีวิธีรักษาแต่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน 
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด