ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) หรือภาวะหัวใจวาย

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) หรือเรียกว่า ภาวะหัวใจวาย คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เพียงพอต่อความต้องการในขณะพัก หรือเมื่อต้องการออกกำลัง เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของโรคหัวใจทุกชนิด และยังเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆอีกหลายโรค

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
หรือเรียกว่า ภาวะหัวใจวาย คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เพียงพอต่อความต้องการในขณะพัก หรือเมื่อต้องการออกกำลัง เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของโรคหัวใจทุกชนิด และยังเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆอีกหลายโรค

สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว
แบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ

  1. หัวใจต้องทำงานหนักเกินกำลัง จาก
    - ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว
    - ปริมาตรของเลือดในระบบไหลเวียนมากเกินไป
    - มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  2. มีความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น
    - กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
    - กล้ามเนื้อหัวใจตาย
    - กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  3. มีความผิดปกติของเยื่อบุหัวใจ
    - มีน้ำ เลือด หรือ หนองภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
    - เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว

  • ไอตอนกลางคืน อาจมีเสมหะเป็นฟองสีชมพูร่วมด้วย
  • หอบเหนื่อยตอนกลางคืน
  • นอนราบหายใจไม่สะดวก
  • หอบเหนื่อยง่ายหลังออกแรง
  • ทำงานหนักไม่ได้
  • อ่อนเพลีย เหนื่อย เวียนศีรษะ
  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • บวมที่ปลายเท้า ข้อเท้า และกดบุ๋ม

การป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว

  1. สังเกตอาการของตนเอง หากน้ำหนักเพิ่มรู้สึกผิวหนังตึง ข้อเท้าบวม รองเท้าหรือผ้าคับ และไอบ่อยขึ้น รู้สึกเพลีย และการทำกิจวัตรประจำวันได้ช้าลง อาจเป็นอาการเริ่มแรกของภาวะหัวใจล้มเหลวควรรีบมาพบแพทย์
  2. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจบางอย่างสามารถป้องกันได้ เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างสม่ำเสมอ ลดชั่วโมงการทำงานให้สั้นลง
  4. หลีกเลี่ยงการทำให้อารมณ์เสียหรือความเครียด
  5. จำกัดกิจกรรมต่างๆลง ไม่ทำงานที่ออกแรงมากๆ อย่างหักโหม
  6. จำกัดอาหารเค็ม จำกัดน้ำดื่ม และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. มาพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างสม่ำเสมอ

จาก เอกสารเผยแพร่ รพ.พระมงกุฎฯ

โปรดใช้ถ้อยคำสุภาพ เหมาะสม เพื่อบรรยากาศที่ดีในการสนทนา และแบ่งปันข้อมูลอันมีคุณค่าต่อกัน

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด