ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นายกตั้งหน่วยพิเศษจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับรพ.รัฐและให้บริการในรพ.เอกชน

นายกตั้งหน่วยพิเศษจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับรพ.รัฐและให้บริการในรพ.เอกชน Thumb HealthServ.net
นายกตั้งหน่วยพิเศษจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับรพ.รัฐและให้บริการในรพ.เอกชน ThumbMobile HealthServ.net

ติดตามสถานการณ์ของโรคโควิด19 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการจัดหาวัคซีน ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย มีผลตั้งแต่ 9 เมษายน 64

นายกตั้งหน่วยพิเศษจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับรพ.รัฐและให้บริการในรพ.เอกชน HealthServ
นายกรัฐมนตรีจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อเป็นคณะทำงานพิจารณาจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด19 โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังนี้

องค์ประกอบ
1) ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกส สกลสัตยาทร ประธานคณะทำงาน
2 นพ.โสภณ เมฆธน รองประธานคณะทำงาน
3) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณะทำงาน
4) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา คณะทำงาน
5) ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ คณะทำงาน
6) อธิบดีกรมควบคุมโรค คณะทำงาน
7) อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ คณะทำงาน
8) ศาสตราจารย์ พิชัย สนแจ้ง คณะทำงาน
9) ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ คณะทำงาน
10) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ก่อพงศ์ รุกขพันธ์ คณะทำงาน
11) พญ.เมธินี ไหมแพง คณะทำงาน
12) นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี คณะทำงาน
13) นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช คณะทำงาน
14) นพ.นพพร ชื่นกลิ่น คณะทำงาน
15) นพ.บุญ วนาสิน คณะทำงาน
16) พญ.เจรียง จันทรโกมล คณะทำงาน
17) นายประทีป กีรตีเรขา เลขานุการคณะทำงาน
18) ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เลขานุการคณะทำงาน
 
หน้าที่และอำนาจ
  1. เสนอแนวทาง และมาตรการในการจัดหาวัคซีนโควิด สำหรับใช้ในสถานพยาบาลของรัฐ และวัคซีนทางเลือกเพื่อนำมาให้บริการในสถานพยาบาลเอกชน
  2. ติดตามสถานการณ์ของโรคโควิด19 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการจัดหาวัคซีน
  3. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ 9 เมษายน 64
 
นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีวัคซีนโควิด-19 ที่ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนก่อนใช้ โดยผู้ขออนุญาตเป็นผู้ถือทะเบียนและรับผิดชอบการจำหน่ายในประเทศ บางบริษัทที่มีผู้แทนในประเทศไทยจะดำเนินการโดยบริษัทนั้น เช่น ไฟเซอร์ หรือแอสตร้าเซเนกา สำหรับผู้ผลิตอื่นที่ไม่มีบริษัทลูกหรือตัวแทนในประเทศไทย ผู้ผลิตรายนั้นต้องตั้งผู้แทนและให้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียน จากการหารือกรณีกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนเรียกร้องสิทธิให้ซื้อวัคซีน ได้ข้อสรุปโดยการแบ่งวัคซีนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) วัคซีนที่รัฐจัดหา 2) วัคซีนทางเลือก ที่ได้สั่งการให้ตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนขึ้นมาร่วมพูดคุยหาแนวทางจัดหาวัคซีนทางเลือกอีกประมาณ 10 ล้านโดสหรือมากกว่า เพิ่มเติมจากวัคซีนที่รัฐจัดหา โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 30 วัน ถ้าได้ตรงนี้มาเพิ่มก็จะครอบคลุมประชากรประมาณ 40 ล้านคน หรือราวร้อยละ 60 – 70 ของประชากรไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นตามหลักวิชาการทางการแพทย์ในการป้องกันโรค - ThaiGov

สธ. เผยรัฐยินดีเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมจัดหา-บริการวัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชน

   ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนเผย ภาครัฐยินดีเปิดโอกาสให้เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน /สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ร่วมจัดหา-บริการวัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชน เพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนมากขึ้น ไม่มีการปิดกั้นแต่ต้องรอพ้นช่วงที่วัคซีนมีจำกัด
 
           วันนี้ (9 เมษายน 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าวประเด็นความร่วมมือในการจัดหาวัคซีนร่วมกับภาคเอกชน ว่า วันนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหาร หารือร่วมกับเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ถึงแนวทางการจัดหา-บริการวัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชนเพิ่มเติม โดยมอบให้ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธานในการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ซึ่งภาคเอกชนได้แสดงเจตจำนงมีส่วนร่วมในการจัดหาวัคซีน โดยอาศัยว่าอาจมีความคล่องตัวมากกว่าภาครัฐ รวมทั้งยินดีทำตามแผนบริหารจัดการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการกระจายวัคซีนและบริการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ การร่วมดำเนินงานจะเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งทาง อย. ได้เปิดกว้างการขึ้นทะเบียนวัคซีนทุกชนิด ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนส่งเอกสารเข้ามาพิจารณาเพื่อให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัย และการที่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมนับเป็นการช่วยสนับสนุนภาครัฐ และช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนมากขึ้น โดยช่วงเวลาที่มีความเป็นไปได้ที่ภาคเอกชนจะจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมได้นั้น น่าจะเป็นช่วงที่วัคซีนมีมากขึ้นหลังเดือนมิถุนายน 2564 
 
          นพ.นคร กล่าวต่อว่า การจัดหาวัคซีนภาครัฐโดยกรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ดำเนินการได้เป็นอย่างดีสามารถจัดหาได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขมีศักยภาพในการจัดบริการวัคซีน มีโรงพยาบาลของภาครัฐกว่า 1,000 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอีกประมาณ 10,000 แห่ง
 
           “การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส เป็นอีกปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ วัคซีนที่มีอยู่ยังสามารถใช้ป้องกันโรคและอาการป่วยรุนแรงได้ แต่ไม่สามารถคาดการณ์ในอนาคต สิ่งสำคัญที่จะเอาชนะไวรัสกลายพันธุ์ได้ คือการกระจายวัคซีนออกไปให้ครอบคลุมประชาชนมารับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนในระยะเวลารวดเร็ว ป้องกันไม่ให้ระบาดใหญ่ขอย้ำว่า กรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติ สามารถจัดหาวัคซีนเพียงพอสำหรับประชาชนคนไทย การที่เอกชนมีเจตนาในการเข้ามาเสริมการทำงานก็ยินดี เพื่อเดินหน้าต่อสู้กับโควิดด้วยกันต่อไป” นพ.นครกล่าว

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
9 เมษายน 2564
นายกตั้งหน่วยพิเศษจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับรพ.รัฐและให้บริการในรพ.เอกชน HealthServ
นายกตั้งหน่วยพิเศษจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับรพ.รัฐและให้บริการในรพ.เอกชน HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด