ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

SEX กับโรคหัวใจ

SEX กับโรคหัวใจ Thumb HealthServ.net
SEX กับโรคหัวใจ ThumbMobile HealthServ.net

เพศสัมพันธ์เป็นความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ การมีข้อจำกัดในการมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากความเจ็บป่วยอาจก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสุขภาพร่างกาย และจิตใจของทั้งผู้ป่วย และคู่สมรส และอาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตครอบครัว ส่วนตัว และสังคมส่วนรวม


ปัญหาเพศสัมพันธ์กับโรคหัวใจ


จากการศึกษาและการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจมีปัญหาเพศสัมพันธ์ 30–40% โดยเกิดจาก

  1. ผลกระทบโดยตรงจากโรคหัวใจเองที่พบบ่อย คือ เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกขณะออกแรงทำให้เกิดความกลัวไม่กล้ามีเพศสัมพันธ์
  2. มีความรู้สึกผิด ๆ เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์
  3. มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค ทำให้ความรู้สึกเรื่องเพศลดลง


การมีเพศสัมพันธ์เป็นของ ต้องห้าม หรืออันตราย หรือไม่ ต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

การมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ใช่สิ่งต้องห้าม ไม่ใช่อันตราย แต่เป็นสิ่งที่ควรระวังเท่านั้น ถ้าผู้ป่วยมีความรู้เรื่องโรคของตนเองรวมทั้งมีสภาพจิตใจที่ปกติประกอบกับความร่วมมือของคู่สมรส



การเตรียมร่างกาย และจิตใจ

การฝึกการออกกำลังที่เหมาะสมภายหลังเกิดโรคหัวใจ (ตามคำแนะนำของแพทย์) นอกจากาจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้รวมทั้งลดอาการไม่สบายที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีที่จะขจัดความกลัว ก็ต้องปรึกษาหารือกับแพทย์ที่รักษา (ทั้งคู่สมรส และตัวผู้ป่วย) ถึงวิธีที่ปลอดภัยรวมทั้งการกินยาอย่างเคร่งครัด ยาบางอย่างอาจใช้เพื่อป้องกันอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ยาขยายหลอดเลือด

 


ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าตนเองพร้อม หรือแข็งแรงพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้

 

  1. จิตใจ มีความรู้สึกต้องการร่วมเพศ กับมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ (ผู้ชาย) อย่างมาก โดยเฉพาะในตอนเช้า หรืออาจเคยมี “ฝันเปียก” ไม่มีความกลัวหรือความวิตกกังวล
  2. ร่างกาย ท่านอาจค่อย ๆ ลอง “สำเร็จความใคร่” ด้วยตนเองไปก่อนเพื่อความความมั่นใจ และทดสอบความแข็งแรง



ท่านสามารถออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์โดยไม่มีอาการของโรคหัวใจ

ผลจากการวิจัยของแพทย์ในอเมริกา พบว่าการร่วมเพศจะทำให้หัวใจทำงานหนักเท่า ๆ กับ

  1. เดินขึ้นขั้น 2 ของตึกหรือบ้านได้อย่างคล่องแคล่ว
  2. เดินเร็ว ๆ รอบ ๆ บ้าน
  3. การทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
  4. ถ้าเป็นวิชาการขึ้นหน่อย คือกำหนดการออกแรงจนหัวใจเต้น 120 ครั้ง/นาที หรือความดันโลหิตสูง 180/100 ม.ม. ปรอท อยู่นาน 10 วินาที โดยไม่มีอาการทางหัวใจ



การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของผู้ป่วยโรคหัวใจ

  1. ร่วมกับคู่สมรสของตนเอง และคู่สมรสร่วมมือด้วย
  2. สถานที่ที่คุ้นเคย มิดชิด
  3. เวลาที่เหมาะสม คือ เวลาเช้ามือหลังจากร่างกายได้หลับนอนพักผ่อนอย่างเต็มที่มาแล้ว ถ้าเป็นเวลาค่ำก็ควรเป็นหลังอาหารมื้อเย็น อย่างน้อย 2 ชั่วโมง และไม่ดื่มจานเมามาย
  4. มีการปลุกร้าอารมณ์กันก่อนให้เต็มที่เพื่อเป็นการเตรียมหัวใจให้ค่อย ๆ ปรับตัว
  5. ท่าของการร่วมเพศ ควรเป็นท่าสบาย ๆ ธรรมชาติไม่ให้ผู้ป่วยอึดอัดเจ็บปวดหรือออกแรงมาก คู่สมรสควรจาช่วยให้หรือออกแรงมากกว่า
  6. ร่วมเพศทางช่องทางของคนปกติ
  7. อย่าลืมกินยารักษาโรคหัวใจตามคำแนะนำของแพทย์ บางครั้งสำหรับบางคนแพทยาจะแนะนำยากินหรือยาอมใต้ลิ้นก่อนการร่วมเพศ แต่เนื่องจากความต้องการทางเพศอาจไม่แน่นอนว่า เมื่อใด อย่างน้อยท่านควรกินยาตามมื้อที่กำหนดไว้เสมอ ๆ

 



ข้อหลีกเลี่ยงก่อนมีเพศสัมพันธ์

 

  1. อาหารมื้อหนัก โดยเฉพาะงานเลี้ยงที่มีการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ถ้าต้องการควรรอหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 2 ชั่งโมง
  2. ออกแรงหรือออกกำลังกายจนเหนื่อยมาก่อน หรือมีความเครียดมากมาก่อน
  3. การร่วมเพศบุคคลที่ไม่ใช้คู่สมรสอายุแตกต่างกันมาก ๆ
  4. ท่าร่วมเพศผิดธรรมชาติ เช่นท่าทางทวารหนัก จะเพิ่มความเคียด ความตื่นเต้นแก่หัวใจมากเกินไป
  5. ความรีบร้อนบรรยากาศไม่ดี สถานที่ไม่ดี อุณหภูมิร้อน หรือหนาวเกินไป

 

อาการผิดปกติ ระหว่าง หรือหลังการร่วมเพศ

มีความจำเป็นที่ท่านควรสังเกตอาการของตนเองขณะหรือหลังการร่วมเพศ เพื่อที่จะช่วยเหลือตนเอง หรือแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อรักษา และการป้องกันอาการผิดปกติที่อาจก่อให้เกิดอันตราย อาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้มักเกิดหลังการร่วมเพศใหม่ ๆ

  1. หัวใจเต้นเร็ว หรือรู้สึกใจสั่นอยู่นานกว่า 10 นาที
  2. หายใจหอบเร็ว หรือหายใจลำบาก อยู่นานกว่า 10 นาที
  3. มีอาการเจ็บแน่นกลางอกเหมือนอย่างที่เคยเป็น แต่รุนแรงกว่า
  4. นอนหงายไม่ได้ เพราะมีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวข้างต้น
  5. อ่อนเพลียมาก เวียนหัวจะเป็นลม เหงื่อออกมากตัวชื้น




ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการผิดปกติ

  1. นอนพักอยู่กับเตียง อย่าเพิ่งรีบลุกเดินหรือถ้าจำเป็นก็ค่อย ๆ เคลื่อนไหว ถ้าพอจะมีออกซิเจนอยู่กับบ้านก็ใช้ดมเลย
  2. ใช้ยาอมใต้ลิ้น หรือยาพ่นใต้ลิ้น ถ้าอาการต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ดีขึ้น อม หรือพ่นซ้ำอีกในทุก 5 – 10 นาที ถ้าซ้ำสองสามครั้งแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาลใกล้เคียง หรือ โรงพยาบาลที่เคยไปรับการรักษ
  3. ในโอกาสพบแพทย์ที่รักษาโรค ควรขอคำแนะนำ




สรุป


การมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ถ้าร่างกายยังแข็งแรงพอสมควร คู่สมรสร่วมมือดีและขอคำแนะนำจำแพทย์แล้ว โอกาสที่จะเกิดอันตรายน้อยมาก และโอกาสถึงตายเกือบไม่มี อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่ควรมีเพศสัมพันธ์บ่อยเกินไป คนอายุ 40 ปีขึ้นไปควรมีเพศสัมพันธ์ประมาณสัปดาห์ละไม่เกิน 1 - 2 ครั้ง

ขอย้ำอีกครั้งว่า ความปลอดภัยของท่านขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การร่วมมือของบคู่สมรส และความไม่ประมาท

 

จากเอกสารเผยแพร่ รพ.พระมงกุฎ

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด