ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นมแม่กับการป้องกันโรคภูมิแพ้

นมแม่กับการป้องกันโรคภูมิแพ้ Thumb HealthServ.net
นมแม่กับการป้องกันโรคภูมิแพ้ ThumbMobile HealthServ.net

ถ้ามีคำถามจากคุณแม่ว่า - ในครอบครัวมีคุณย่าเป็นโรคภูมิแพ้ค่ะลูกคนแรกไม่ได้ให้นมแม่เพราะไม่มีความรู้ แรกๆ ลูกมีผื่นที่หน้าเพราะแพ้นมวัว หลังจากนั้นจากสี่ปีแรกลูกเข้าออกโรงพยาบาลตลอดเป็นปอดบวมบ้าง หลอดลมอักเสบบ้าง หมอบอกว่าลูกเป็นภูมิแพ้ ตอนนี้กำลังจะมีลูกคนที่สอง ดิฉันควรจะทำอย่างไรคะถ้าไม่อยากให้เป็นเหมือนคนโต?

นมแม่ กับการป้องกันโรคภูมิแพ้

คำถามจากคุณแม่

“ในครอบครัวมีคุณย่าเป็นโรคภูมิแพ้ค่ะลูกคนแรกไม่ได้ให้นมแม่เพราะไม่มีความรู้ แรกๆ ลูกมีผื่นที่หน้าเพราะแพ้นมวัว หลังจากนั้นจากสี่ปีแรกลูกเข้าออกโรงพยาบาลตลอดเป็นปอดบวมบ้าง หลอดลมอักเสบบ้าง หมอบอกว่าลูกเป็นภูมิแพ้ ตอนนี้กำลังจะมีลูกคนที่สอง ดิฉันควรจะทำอย่างไรคะถ้าไม่อยากให้เป็นเหมือนคนโต?”


คำตอบจากคุณหมอ


ความกังวลใจของคุณแม่ท่านนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยขึ้นเพราะปัจจุบันนี้ เราพบว่าเด็กในเมืองใหญ่เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งถ้ามีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวด้วยแล้ว โอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเช่น ถ้าพ่อหรือแม่ เป็นโรคภูมิแพ้ลูกมีโอกาสเป็น 30 % ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้โอกาสเกิดโรคนั้นสูงถึง 60% - 70%

แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภูมิแพ้แต่การที่ทารกได้รับอาหารที่มีโปรตีนแปลกปลอม เช่น นมผสมหรืออาหารโปรตีนอื่นๆ เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ ในระยะที่ทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง คือระยะอายุ 6 เดือนแรก ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปทารกที่กินนมผสมมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่กินนมแม่ 2-7 เท่า

ทารกระยะ 6 เดือนแรก
ยังมีข้อจำกัดในการย่อย และสลาย โปรตีนแปลกปลอม

• เยื่อบุทางเดินอาหารไม่แข็งแรง ยังมีช่องว่างระหว่างเซลล์กว้างกว่าปกติ
• น้ำย่อยอาหารยังมีไม่พอ
• สารภูมิคุ้มกันที่จะคอยดักจับของแปลกปลอม ยังมีไม่พอ

ดังนั้นถ้าได้รับโปรตีนแปลกปลอมเช่นนมผสมหรืออื่นๆ โปรตีนเหล่านั้นจึงมีโอกาสยังอยู่ในสภาพโมลากุลขนาดใหญ่ เพราะย่อยไม่ได้เต็มที่ หลุดลอดไปกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้เพระไม่มีภูมิคุ้มกันคอยดักจับและเยื่อบุทางเดินอาหารที่อยู่กันอย่างหลวมๆ โปรตีนในน้ำนมแม่นั้นเป็นโปรตีนของคนจึงไม่กระตุ้นให้เกิดการแพ้


ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวใน
6 เดือนแรก ช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาภูมิแพ้

สำหรับคุณแม่ท่านนี้ มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ในครอบครัวควรอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงลูกคนที่สองด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว อย่างน้อยที่สุดเป็นเวลา 6 เดือน เนื่องจากมีหลักฐานสนับสนุนว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ทั่งที่ผิวหนัง แพ้อาหาร และโรคหืดหอบได้อย่างชัดเจนในช่วงอายุ 2 ปีแรกและยังส่งผลลดความรุนแรงของโรคได้ ถ้าเป็นโรคเหล่านี้ในตอนโต


สำหรับคุณแม่ที่ไม่อยากให้ลูกเป็นภูมิแพ้ ควรปฏิบัติดังนี้

1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
2. ถ้าลูกมีอาการแพ้เช่น มีผื่นแพ้ ในช่วงที่ให้นมลูกแม่ควรหลีกเลี่ยงกินอาหารแพ้ง่าย เช่น ไข่ นมวัว ถั่วลิสง
3. เริ่มให้อาหารอื่นเสริมแก่ลูก หลังอายุ 6 เดือน โดยเริ่มจากอาหารที่มีโอกาสก่อโรคภูมิแพ้ น้อยก่อน เช่น ข้าวบด กล้วยครูด ฟักทอง เนื้อไก่ ไข่แดง
4. ถ้าครอบครัวมีกรรมพันธุ์เป็นโรคภูมิแพ้ควรชะลออาหารแพ้ง่ายเช่น ไข่ขาว ถั่ว ปลา โดยพิจารณาให้อย่างน้อยหลังลูกอายุ 1 ปี
5. ป้องกันลูกจากสิ่งแวดล้อมที่แพ้ง่าย เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว ขนสุนัข
โดยทั่วไปทารกที่กินนมผสมมีโอกาสที่เป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่กินนมแม่ 2-7 เท่า


ข้อมูลจาก รพ.พระมงกุฎฯ

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด