ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ฟันคุด (Tooth impaction)

ฟันคุด (Tooth impaction) Thumb HealthServ.net
ฟันคุด (Tooth impaction) ThumbMobile HealthServ.net

ฟันคุด หมายถึง ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาทางช่องปากได้ตามปกติซึ่งอาจจะไม่ขึ้นมาเลยหรือขึ้นมานิดหน่อย ไม่เต็มซี่เนื่องจากมีฟันซี่อื่นมาขวางไว้ ฟันคุดมักจะเกิดขึ้นในฟันกรามด้านล่างซี่ที่สาม (ซี่ในสุด)

ฟันคุด (Tooth impaction)
โดย ทพ. ณพงษ์ พัวพรพงษ์

ฟันคุด หมายถึง ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาทางช่องปากได้ตามปกติซึ่งอาจจะไม่ขึ้นมาเลยหรือขึ้นมานิดหน่อย ไม่เต็มซี่เนื่องจากมีฟันซี่อื่นมาขวางไว้ฟันคุดมักจะเกิดขึ้นในฟันกรามด้านล่างซี่ที่สาม (ซี่ในสุด)

การรักษา

แนะนำให้ถอนออกแม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวด การถอนออก บางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูกบ้าง อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า ผ่าฟันคุด สำหรับบางรายที่จำเป็นต้องผ่าฟันคุดในฟันกรามล่างซี่ที่สาม อาจจำเป็นต้องถอนฟันกรามบนซี่ในสุดไปด้วย (ถ้ามี) เพราะฟันซี่นี้ไม่มีฟันคู่สบเนื่องจากถูกถอนออกไปแล้ว บางครั้งอาจจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะอาจจะกัดลงมาโดนเหงือกด้านล่างทำให้เป็นแผลอักเสบ

บางคนอาจสงสัยว่าถ้าฟันคุดไม่มีอาการปวดก็ต้องไปถอนออกด้วยหรือ คำตอบคือใช่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ฟันคุดเป็นฟันที่ขึ้นมาไม่ครบซี่ทำให้การทำความสะอาดเป็นไปได้ยาก ซึ่งจะทำให้ฟันซี่นั้นผุได้ง่ายและอาจทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่รอบๆเหงือกบริเวณนั้นมากจะเกิดเป็นโรคเหงือกได้อีกด้วย

ในผู้ป่วยบางรายฟันคุดที่ขึ้นมาเอียงๆ อาจจะไปดันฟันที่ขวางอยู่ข้างหน้าทำให้ฟันข้างหน้าได้รับความเสียหายไปด้วย คราวนี้จากการที่ต้องถอนแค่1ซี่ก็อาจจะเป็นมากกว่า1ซี่ก็ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่ฟันคุดที่ฝังอยู่ในขากรรไกรทั้งซี่เลยอาจจะมีการแปรสภาพตัวเองไปเป็นถุงน้ำ ซึ่งจะไปทำลายส่วนของกระดูกขากรรไกรได้อีกด้วย

สำหรับผลที่เกิดขึ้นหลังจากผ่าฟันคุด ที่พบบ่อยๆ คือ แก้มบวม,เจ็บแผล เหล่านี้เป็นปฏิกิริยาตอบโต้จากร่างกายเรา มิได้เป็นสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด แต่ก็ควรรับประทานยาที่ทันตแพทย์ให้มาให้ครบ
ยาแก้อักเสบต้องรับประทาน ให้หมด ยาแก้ปวดทานเมื่อปวด เพื่อป้องกันผลแทรกซ้อนอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและนัดหมายได้
ที่ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลวิภาวดี
โทร0-2941-2800กด1

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด