คุณคงไม่ชอบเข้าเฝือก ที่เป็นแฟชั่นของผู้ที่กระดูกหักบ่อยๆ
จึงควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก เพื่อทราบภาวะเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในการป้องกันตนเองไม่ให้กระดูกบางลง และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกตั้งแต่วันนี้
โรงพยาบาลวิภาวดี บริการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่องที่วัดความหนาแน่นของกระดูกได้ทุกส่วนของร่างกาย ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับโรคกระดูกพรุนกันก่อน
โรคกระดูกพรุน Osteoporosis
โรคกระดูกพรุน Osteoporosis คือโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูกไม่สามารถจะรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการกระดูกหักตามมา (Decreased Bone Mass, Defective Bone Microarchitecture) นอกจากจะเรียกว่าโรคกระดูกพรุน อาจเรียก โรคกระดูกบาง โรคกระดูกผุ ก็ได้
โรคกระดูกพรุน นี้พบมากในผู้สูงอายุโดยประมาณ 60 ปี ขึ้นไป โดยจะพบปัญหาในหญิงมากกว่าชาย เพราะในหญิงจะมีการลดลงของเนื้อกระดูกเป็นอย่างมากในช่วง5ปี หลังวัยหมดประจำเดือน สตรีวัยหมดประจำเดือนในอเมริกา ประมาณ1/3-1/2ของสตรีกลุ่มนี้จะเป็นโรคกระดูกพรุน และเมื่ออายุสูงขึ้นโอกาสกระดูกหักก็จะมีสูงเพิ่มไปด้วย โดยจะเป็นการทรุดหักของกระดูกสันหลัง การหักของกระดูกสะโพก และสุดท้ายคือกระดูกต้นขาหัก จะเห็นว่าปัญหากระดูกพรุนนี้ก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิต คุณภาพชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ โรคกระดูกพรุนพบมากในสตรีผิวขาวโดยเฉพาะพวกที่อยู่ใกล้ขั้วโลกรองลงมาเป็นผิวขาวเหลืองในเอเซีย และพบน้อยลงในชาวผิวดำ
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
สามารถกล่าวรวมๆ ของปัญหาที่มีผลทำให้การสะสมของเนื้อกระดูกได้ไม่ดี และปัจจัยที่ทำให้มีการสูญเสียมากกว่าปกติ
- พันธุ์กรรม จากเชื้อชาติ ผิวขาว>เอเชีย>ผิวดำ/เพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- โภชนาการ บริโภคแคลเซียมต่ำ / ดื่มแอลกอฮอล์มาก / ดื่มกาแฟมาก / บริโภคเกลือมาก/บริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์มาก
- ชีวิตความเป็นอยู่ สูบบุหรี่มาก / กิจวัตรการออกกำลังกายน้อย
- โรคที่มีผลต่อการเสียเนื้อกระดูก
รังไข่ฝ่อ (ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน) / การตัดมดลูก /
ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป / ต่อมพาราไทรอยด์ทำงาน
มาก เกินไป /ไตวายเรื้อรัง / โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ภาวะ วัยหลังหมดประจำเดือน
- ยาที่มีผลต่อการสูญเสียเนื้อกระดูก
ยาทดแทนไทรอยด์ / ยากลุ่มสเตียรอยด์ / ยากันชัก /
ยาขับ ปัสสาวะชนิด“ Loop“/
ยาลดกรดที่มีฤทธิ์จับกับฟอสเฟต /ยาเตตร้าซันคลิน /
ยารักษาวัณโรค ไอโซไนเอซิค
การวินิจฉัย
ในปัจจุบันใช้การวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density Mea Surement)โดยใช้เครื่องDEXA (Dual Energy X-ray Absorptionmetry)โดยวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา ปลายกระดูกข้อมือ และนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าปกติในเพศและอายุช่วงเดียวกัน
ถ้าพบว่ากระดูกมี Bone Mineral Density (BMD) < 1.00 gm/cm2จะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย
การวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนเมื่อBMD< 2.5 SD (Standard Diviation)ของประชากรในวัยสาวการวัดความหนาแน่นกระดูกบุคคล2ครั้งห่างกัน1-2ปี จะช่วยให้สามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์โรคกระดูกพรุนได้ เป็นวิธีที่ช่วยให้การประกอบการตัดสินใจในการป้องกันหรือวางแผนการรักษาโรคกระดูกพรุนต่อไป ไม่นิยมในการตรวจจากเลือด เพราะวิธีการตรวจยังไม่ไวและแม่นยำพอ บางตัวถึงแม้ให้ความแม่นยำดี แต่การวิเคราะห์สารเหล่านี้ทำได้ยาก และยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง มักจะใช้ในการวินิจฉัยเพื่อการศึกษา ดังนั้นในปัจจุบันการตรวจวัด การวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density Measurement) จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด
ข้อแนะนำสำหรับสตรี
- การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอตลอดอายุขัย ตั้งแต่วันเด็กไปจนถึงชรา จะช่วยไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
- มีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร โปรตีน เพื่อเป็นแกนของกระดูก / แคลเซียมและฟอสเฟต (มาจับที่กระดูกเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกระดูก)
- ออกกำลังกายอยู่อย่างสม่ำเสมอ อย่าเอาแต่นั่งๆ นอนๆ เพราะจะมีการสลายของกระดูกมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- ดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียของกระดูก
- ได้มีการประเมินสภาวะของกระดูกว่ามีการเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด ในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน
- ในหญิงที่มีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่า1 SDควรได้รับฮอร์โมนทดแทน แต่ควรดูข้อห้ามก่อน
- ถ้ามีข้อตรงกับการห้ามใช้ฮอร์โมนช่วย ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีอื่นที่เหมาะสมแทน
- ให้มีความระมัดระวังในการเคลื่อนไหวและดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย เพื่อลดการลื่นหกล้ม
สอบถามรายละเอียด และนัดหมายได้ที่
แผนกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลวิภาวดี
โทร.0-2941-2800 กด 1
กายดี ใส่ใจดี โรงพยาบาลวิภาวดี