ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กองทุนเงินทดแทน vs กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร

กองทุนเงินทดแทน vs กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร Thumb HealthServ.net
กองทุนเงินทดแทน vs กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร ThumbMobile HealthServ.net

กองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม เป็นกองทุนภายใต้การดูแลของประกันสังคม มีวัตถุประสงค์และสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ที่ผู้ประกันตนทุกคนควรทำความรู้จักไว้สักหน่อย

นิยามความหมายของกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม

 
กองทุนเงินทดแทน 
คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน ของร่างกาย ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง 


กองทุนประกันสังคม 
คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่ประกันตน โดยได้รับเงินสมทบจาก นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับ มี 7 กรณี (ที่ไม่เกิดจากการทำงาน) นั่นคือ
  • ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร
  • ทุพพลภาพ
  • สงเคราะห์บุตร
  • ว่างงาน
  • ชราภาพ
  • ตาย

จากนิยามความหมายข้างต้น บ่งชี้ว่า สรุปข้อแตกต่างของแต่ละกองทุน "จะอยู่ที่สาเหตุของการเกิดสิทธิ"  [sso]
 
             กองทุนเงินทดแทน  จ่ายให้เมื่อเหตุ เกิดจากการทำงาน
            " เป็นหลักประกัน ในการดูแลลูกจ้าง กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง "
 
             กองทุนประกันสังคม  จ่ายให้เมื่อเหตุ เกิดกับตัวผู้ประกันตน  (ไม่ใช่จากการทำงาน) 
             "เป็นหลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือที่เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน"

 
กองทุนเงินทดแทน vs กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร HealthServ

สิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง


กองทุนเงินทดแทน และ กองทุนประกันสังคม มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง ที่ไม่เหมือนกัน ดังนี้
 

กองทุนเงินทดแทน


มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับ 4 กรณี 

ค่ารักษาพยาบาล 
  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง จ่าย 50,000 บาท
  • บาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรังจ่ายไม่เกิน 150,000 บาท
  • หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 300,000 บาท
  • หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 500,000 บาท
  • หากไม่เพียงพอจ่ายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท
เว้นแต่  ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษา หรือกรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
 
ค่าทดแทนรายเดือน
  •  ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน *ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน (ค่าจ้างสูงสุด 20,000 บาท)
  • แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่วันแรก รวมไม่เกิน 1 ปี
  • สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายไม่เกิน 10 ปี
  • ทุพพลภาพตลอดชีวิต
  • ถึงแก่ความตายหรือสูญหาย 10 ปี และค่าทำศพ
 
 ค่าทำศพ 
  •  จ่ายตามที่กระทรวงกำหนด อัตราที่กำหนดในกฏกระทรวง(ค่าทำศพ 50,000บาท) 
 
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน
สำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ได้รับตามอัตราดังนี้
  • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัดไม่เกินวันละ 100 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 24,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 140,000 บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 180,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้มีอำนาจพิจารณา
  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 160,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการไม่เกิน 24,000 บาท



 

กองทุนประกันสังคม 


คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่ประกันตน โดยได้รับเงินสมทบจาก นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับ มี 7 กรณี (ที่ไม่เกิดจากการทำงาน) นั่นคือ
  • ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร
  • ทุพพลภาพ
  • สงเคราะห์บุตร
  • ว่างงาน
  • ชราภาพ
  • ตาย


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด