ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความชราในแง่วิทยาศาสตร์การแพทย์

ความชราในแง่วิทยาศาสตร์การแพทย์ Thumb HealthServ.net
ความชราในแง่วิทยาศาสตร์การแพทย์ ThumbMobile HealthServ.net

ความชราในแง่วิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ ความเสื่อมถอยในการสร้างสภาวะสมดุลย์ปกติให้เกิดขึ้นของระบบอวัยวะ ความเสื่อมถอยของอวัยวะแต่ละส่วน จะเสื่อมถอยไปโดยไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน แต่อาจกระทบได้โดย อาหาร, สิ่งแวดล้อม, พฤติกรรมส่วนบุคคล และพันธุกรรม

ความชราในแง่วิทยาศาสตร์การแพทย์ HealthServ
ความชรา ในแง่วิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ ความเสื่อมถอยในการสร้างสภาวะสมดุลย์ปกติให้เกิดขึ้นของระบบอวัยวะ คนเราจะสมบูรณ์เต็มที่ 100% ในขณะที่อายุ 30 ปี จากนั้นความสมบูรณ์จะค่อย ๆ ลดลงอาจช้าหรือเร็วต่างกัน ความเสื่อมถอยของอวัยวะแต่ละส่วน จะเสื่อมถอยไปโดยไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน แต่อาจกระทบได้โดย อาหาร, สิ่งแวดล้อม, พฤติกรรมส่วนบุคคล และพันธุกรรม


มีหลักสำคัญหลายประการ เมื่อวัยสูงอายุขึ้น
1. บุคคลเมื่อย่างเข้าวัยชรา แต่ละคนที่เคยเหมือนกัน จะแสดงความแตกต่างกันมากขึ้นเป็นแบบฉบับโดยเฉพาะของแต่ละบุคคล
2. การเสื่อมฉับพลัน ของระบบอวัยวะใดก็ตาม มักเป็นผลมาจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ใช่จากความชราภาพโดยตัวเอง
3. ความชราโดยปกติ อาจไม่ปกติถ้าเพิ่มปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง, การสูบบุหรี่, การนั่งทำงาน office โดยขาดการออกกำลังกาย
4.ความชราโดยไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งมีการถดถอยพลังในการสร้างสภาวะสมดุลย์ของอวัยวะ ไม่ได้ก่อให้เกิดอาการใด ๆ หรือกระทบกระเทือนต่อกิจกรรมประจำวันแต่อย่างใด หากเข้าใจลึกซึ้งถึงสัจธรรมเหล่านี้ จะทำให้รู้ว่าทำไมคนเราจึงอายุยืนขึ้น เมื่อท่านอายุ 65 ปี ท่านจะมีอายุยืนไปได้อีก 17 ปี เมื่อท่านอายุ 75 ปี ท่านจะมีอายุยืนไปได้อีก 11 ปี เมื่อท่านอายุ 85 ปี ท่านจะมีอายุยืนไปได้อีก 6 ปี เมื่อท่านอายุ 90 ปี ท่านจะมีอายุยืนไปได้อีก 4 ปี เมื่อท่านอายุ 100 ปี ท่านจะมีอายุยืนไปได้อีก 2 ปี เราไม่แปลกใจว่าคนชราส่วนมาก มีคุณภาพชีวิตที่ดีพอสมควร มีเพียง 35% ของคนอายุ 85 ปี ที่ไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจส่วนตัวได้ทั้งหมด และเพียง 20% ที่ต้องอยู่ในสภาพทรุดโทรม ช่วยตัวเองไม่ได้ ในรายชราที่ไม่แข็งแรงช่วยตัวเองไม่ได้ จะเกิดผลข้างเคียงจากยาต่าง ๆ ได้ง่าย เมื่อผนวกกับภาวะเสื่อมถอยของการสร้างภาวะสมดุลย์ของสรีระที่มีอยู่แล้ว ทำให้คนชราเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อของโรคภัยจากสิ่งแวดล้อม และผลข้างเคียงจากยาได้ง่าย 
 
 
แนวความคิดสำหรับคนชรา ในแง่วิทยาศาสตร์การแพทย์
 
1. คนชรา (อายุมากกว่า 75-80 ปี) เมื่อมีโรคใหม่ไปกระทบอวัยวะใด จะแสดงอาการต่างจากอาการอันเกิดจากอวัยวะเดียวกันในคนหนุ่มสาวเพราะความเสื่อมที่เป็นทุนเดิมของอวัยวะของคนชรามีมากกว่า ฉะนั้น อาการของโรคจึงผิดไปจากเดิม อาจวินิจฉัยยาก (ถ้าไม่ทราบ) เช่น อาการต่อมธัยรอยด์เป็นพิษในคนแก่เพียง 25% จะแสดงอาการคอโต มือสั่น ตาโปน ซึ่งเป็นอาการของคนหนุ่มสาว แต่ส่วนมากคนชราจะแสดงอาการที่หัวใจ (เต้นผิดปกติ) สับสน ซึมเศร้า เป็นลมหมดสติ หรืออ่อนเพลีย ว่าไปแล้วในคนชรานั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร ก็แสดงอาการคล้ายกัน คือ สับสน, ซึมเศร้า, ปัสสาวะโดยไม่รู้ตัว, เป็นลมหมดสติ ซึ่งความเป็นจริงต่อไปนี้ มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ อาการอันเกิดจากอวัยวะที่ถูกกระทบจากโรคในคนชรา มักต่างจากอาการแสดงออก โดยอวัยวะนั้นความรุนแรงของโรคเดียวกันในคนหนุ่มสาว เช่น อาการสับสนที่พบในคนชรา ไม่ได้แปลว่า คนชรานั้นมีโรคที่ตัวสมอง หรืออาการซึมเศร้าในคนชรา ก็ไม่เกิดจากภาวะป่วยทางจิต หรือปัสสาวะไม่รู้ตัวจะมาจากต้นตอที่กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน หรือการเป็นลมที่มักคิดว่าต้นเหตุจากโรคหัวใจ

2. เนื่องจากความเสื่อมถอย ของการสร้างความสมดุลย์ ให้กลับเป็นปกติของอวัยวะต่าง ๆ โรคต่าง ๆ ที่กระทบอวัยวะ แม้ว่าไม่รุนแรง ก็สามารถทำให้อวัยวะนั้นล้มเหลวในการทำงานได้ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวในคนชราเกิดได้แม้มีต่อมธัยรอยด์ เป็นพิษแค่เล็กน้อย หรือการสนับสนสูญเสียปัญญาไปแค่เพราะเกิดโรค Alzheiner's (โรคสมองฝ่อในคนชรา) แค่ระยะเริ่มต้นหรือปัสสาวะไม่ออก แค่ต่อมลูกหมากโตเพียงเล็กน้อยไปกด หรือหมดสติจากการเป็นโรคเบาหวานอ่อน ๆ แต่ก็น่าประหลาดว่า การรักษาโรคจากต้นเหตุมักไม่ยาก เพราะว่าโรคเมื่อไม่รุนแรง และผลสรุปที่ได้จากเรื่องนี้ อีกข้อก็คือขนาดยาที่ไม่มาก (ขนาดปกติจะถูกใช้ในคนหนุ่มสาว) ก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงในคนชราได้ เช่น - ยาแก้ปวดหวัดธรรมดา ขนาดปกติ ก็ทำให้เกิดความงุนงง สับสน - ยาขับปัสสาวะธรรมดา ก็ทำให้เกิดปัสสาวะไม่ออก (ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้) - ยาหัวใจ แม้ว่าขนาดยาปกติ (ระดับยาในเลือดปกติ) ก็ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า เป็นต้น

3. เนื่องจากกลไกรักษาความสมดุลย์ของอวัยวะต่าง ๆ อาจบกพร่องในเวลาเดียวกันหลายระบบ เมื่อได้รับการแก้ไขรักษา แม้ว่าแต่ละระบบจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยก็บังเกิดผลให้คนไข้ชรา มีอาการโดยรวมดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา เช่น ปัญญาเสื่อมถอยในคนไข้อาจเพิ่มความรุนแรง เมื่อหูได้ยินไม่ดี หรือสายตาไม่ดี, อาการจิตซึมเศร้า หรือภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะเกลือแร่ในเลือดขาดความสมดุลย์ หรือการควบคุมการถ่ายปัสสาวะยิ่งแย่ลง เมื่อเกิดการอุจจาระแข็งอุดถ่ายไม่ออกร่วมด้วย แต่การแก้ไขอาการต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีขึ้น ก็ทำได้จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แม้ว่าไม่ได้แก้ในโรคพื้นฐานโดยตรง เช่น สมองเสื่อม

4. ภาวะเหล่านี้พบบ่อยในคนชรา แต่ถ้าพบในคนหนุ่มสาวแล้วถือว่าผิดปกติมาก เช่น มีเชื้อในปัสสาวะ, หัวใจเต้นผิดปกติชนิด PVC (ต้นตอจากหัวใจห้องล่าง) กระดูกอ่อนกร่อน, น้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ หรือกระเพาะปัสสาวะเกร็งตัวตลอดเวลาในคนชรา สิ่งเหล่านี้อย่าไปโทษว่าเป็นต้นตอสาเหตุของโรคที่เป็นอยู่ ถ้ามุ่งแต่เรื่องเหล่านี้ อาจทำให้แพทย์ผู้รักษาหลงทางวินิจฉัยโรคผิดได้ เช่น เมื่อพบเชื้อในปัสสาวะก็ด่วนสรุป วินิจฉัยว่าเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือพบน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ในคนชราที่ป่วย ก็เหมาว่าเป็นเบาหวาน ซึ่งนำไปเกิดอาการประสาทเสื่อม แต่ภาวะบางอย่างในคนชรา เช่น ภาวะเลือดจาง, ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, ภาวะซึมเศร้าหรือภาวะสับสน ต้องหาสาเหตุ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติของคนชรา

5. เนื่องจากอาการต่าง ๆ ที่ปรากฏกับคนชรา มักเกิดจากสาเหตุร่วม บางครั้งเมื่อพบความผิดปกติพร้อมกันหลายอย่าง ถ้าเป็นคนหนุ่มสาวต้องคิดว่าเป็นโรคเดียว เช่น ไข้,เลือดจาง,เอ็นโบลัสเส้นเลือดในจอตา, เสียงเลือดฟู่ในหัวใจ ถ้าเจออาการเหล่านี้ในคนหนุ่มสาว อาจเป็นเพราะลิ้นหัวใจติดเชื้ออักเสบ, แต่ในอาการหลายอย่างแบบเดียวกันนี้ในคนชรา อาจเกิดจากหลายสาเหตุมาร่วมกันในเวลาเดียวกัน เช่น กินยาแก้ปวดทำให้เลือดออกจากกระเพาะ และเกิดเลือดจาง, เอ็นโบลัสเส้นเลือดในจอตา เกิดจากคอลเลสเตอรัล, เรื่องเสียงเลือดฟู่ในหัวใจ เกิดจากลิ้นหัวใจ แอร์ ออติดแข็ง และไข้ เกิดจากไข้หวัด เป็นต้น

6. คนชรา มักจะตกเป็นเหยื่อของการแทรกซ้อนจากโรคได้สูง การรักษาแต่แรกโดยเฉพาะการป้องกัน มีความสำคัญยิ่งยวด เช่น ผลที่ได้จาการใช้ยาล้างก้อนเลือดในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจวายจากเส้นเลือดอุดตันในระยะ 6-12 ชั่วโมงแรก, หรือยาเบตาบลอกเกอร์ ที่ทำให้การรักษาต่อเนื่อง หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจตายก็ได้ประโยชน์ในคนชราไม่ยิ่งหย่อนกว่าคนหนุ่มสาวที่เป็นโรคเดียวกัน ผลการรักษาความดันโลหิตสูง หรือการให้วัคซีน แก้โรคไข้หวัด หรือปอดบวม ก็ให้ความคุ้มค่าสูง การป้องกันโรคในคนสูงอายุ อาจต้องพิจารณาหลายแง่มุมที่ต่างออกไป เช่น การให้ยาเพิ่ม Culcium ให้กระดูกแข็งขึ้น อาจไม่ได้ประโยชน์ในแง่ป้องกันการล้มกระดูกหัก แต่วิธีอื่น ๆ เช่น การสร้างสมดุลย์ในท่วงท่าของคนสูงอายุ ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา รักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกี่ยวข้อง รับประทานอาหารครบถ้วน, แก้ไขภาวะทุโภชนาการ, ขจัดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ และลดภัยอันตรายในสภาพแวดล้อม ก็จะเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันเรื่องล้มกระดูกหัก ดีกว่าไม่มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกระดูก เป็นต้น 
 
จะเห็นว่า วัยชรานั้น มีเรื่องจะต้องทำความเข้าใจ เนื่องจากคนชราไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ที่มีตัวเลขอายุมาก ๆ เช่นเดียวกับที่เราเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่ว่า เด็กมิใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ แค่นั้น มีความแตกต่างทั้งในแง่สรีระวิทยา และอาการแสดงของโรค การแทรกซ้อนของโรคอย่างมาก ความเข้าใจที่ถูกต้องย่อมช่วยในการดูแลคนวัยชรา เป็นไปโดยถูกหลัก และได้ประโยชน์สูงสุด ในอนาคตประเทศไทยย่อมมีวัยชราที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสัดส่วนที่มากขึ้นในสังคม ดังนั้น การมีความรู้และเน้นถึงวิทยาศาสตร์การแพทย์ในคนอายุมากจึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรค่าแก่การศึกษาให้มากขึ้น
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด