อย. เผยแพร่บทความ เพื่อตอบคำถามนี้ไว้แล้ว
"อาหารที่อุ่นจากไมโครเวฟบ่อยๆ แล้ว จะเสี่ยงอันตรายจริงหรือไม่? "
คำตอบคือ "ไม่จริง"
เตาอบไมโครเวฟ ทำงานโดยแผ่คลื่นย่านความถี่ไมโครเวฟ เข้าไปในอาหาร ทำให้อนุภาคของน้ำ (รวมทั้งไขมัน และ น้ำตาล) ในอาหาร ดูดซับพลังงาน เกิดการสั่นสะเทือนขึ้นจนกลายเป็นความร้อน ทำให้อาหารอุ่น/ร้อนขึ้น ทำให้อาหารสุก นำไปรับประทานได้
กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาหาร แต่อย่างใด (ต่างกับการปรุงอาหารด้วยวิธีต่างๆ เช่น ผัด ทอด ต้ม ปิ้ง ย่าง ฯลฯ)
ไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่สูง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และ เพราะว่า ไมโครเวฟ ไม่ใช่ "รังสี" จึงไม่กระจายและสะสมในร่างกายมนุษย์
ดังนั้น กระบวนการ "อุ่นด้วยไมโครเวฟ" จึงไม่ได้ทำให้เกิดสารพิษ หรือก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย แต่อย่างใด
ประเด็นความปลอดภัย
สิ่งที่จะเป็นประเด็นความปลอดภัย ที่มักสงสัยและความกังวล มี 2 ส่วน คือ
1. อาหาร
2. ภาชนะบรรจุ
1. ข้อกังวลกรณีอาหาร
การจะเกิดพิษหรืออันตรายจากอาหาร อยู่ที่ว่าอาหารนั้น ได้รับการเก็บรักษาอย่างถูกต้อง เพียงพอหรือไม่
โดยเฉพาะกับอาหารแช่เย็นหรือแช่แข็ง ที่ปัจจุบันซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต
"อันตรายจากการกินอาหารเหล่านี้ ก็อาจเกิดจากการเก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ไม่เย็นเพียงพอที่จะชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตขึ้น และอาหารเริ่มเสียก่อนวันที่ควรบริโภค ส่งผลให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารขึ้นได้ ... จึงควรจะต้องระมัดระวังในเรื่องการเก็บรักษาอาหารที่ซื้อมาด้วย"
2. ข้อกังวลต่อภาชนะบรรจุที่ใช้ในการเวฟ
ความกังวลอันตรายจากสารเคมีที่มากับภาชนะ หลังจากผ่านการเวฟแล้ว อาจจะเป็นพิษ หรือตกค้างในอาหาร
ในข้อเท็จจริงคือ ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารเหล่านี้ เป็นภาชนะชนิดที่สามารถใช้อุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟได้ เพียงแต่ว่า ควรใช้แค่ครั้งเดียว แล้วทิ้ง ห้ามใช้เวฟซ้ำ
ภาชนะแบบไหนเข้าไมโครเวฟได้บ้าง?
- จาน ถ้วยเซรามิก ถ้วยกระเบื้อง ชนิดปลอดภัยกับไมโครเวฟ
- ถ้วยแก้ว เครื่องแก้ว
- กล่องพลาสติก ชนิด PP (Polypropylene) และ PET (Polyethylene terephthalate) พลิกดูที่ด้านล่างภาชนะได้
- จานและถ้วยกระดาษ ใช้อุ่นระยะสั้นเท่านั้น ควรดูตลอดเวลาที่เวฟ
- กระดาษซับน้ำมัน กระดาษรองขนม
- ฟอยล์ห่ออาหาร ชนิดสำหรับเตาไมโครเวฟ
- ถุงทำอาหารที่ใช้กับเตาอบ
ภาชนะที่ ห้าม เอาเข้าไมโครเวฟ
- ภาชนะโลหะ ทุกชนิด
- ภาชนะที่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น ขอบโลหะ หูจับ ฝาโลหะ
- ภาชนะเซรามิกที่มีขอบโลหะ ขอบทอง ขอบเงิน
- ภาชนะที่มีตกแต่ง ลวดลาย ด้วยสีเงิน สีทอง
- ภาชนะกระดาษที่มีหมึกพิมพ์
- ภาชนะ จาน ชาม เซรามิก ที่แตกหรือมีรอยบิ่น
- ถาดอะลูมิเนียม
- ไม้
- โฟมพลาสติก
- ถุงกระดาษ
- ที่ปิดถุงโลหะ
- ชามเมลามีน
วิธีทดสอบความทนร้อนของภาชนะที่จะใช้ในไมโครเวฟ
- ใส่น้ำเปล่าเติมน้ำเย็น 1 ถ้วย (250 มล.) ในภาชนะนำถ้วย ชาม ที่ต้องการทดสอบ นำเข้าไมโครเวฟ
- เริ่มทำงานด้วยไฟสูงสุดเป็นเวลา 1 นาที
- ทดสอบสัมผัสภาชนะ บริเวณที่ไม่ถูกน้ำ ว่ามีความร้อนมากหรือไม่ หากส่วนนั้น ร้อนมาก จนไม่สามารถจับด้วยมือเปล่าได้ ถือว่าเป็นภาชนะที่ "ไม่ควรนำมาใช้กับไมโครเวฟ"
- การทดสอบ ห้ามเกิน 1 นาที
* hafele thailand