สนุกสนานกัน 9 วัน 9 คืน กับการแสดงดนตรีศิลปินทุกคืน
20 กุมภาพันธ์ จ๊ นงผณี
21 กุมภาพันธ์ ลูกแพร อุไรพร
22 กุมภาพันธ์ รัชโย
23 กุมภาพันธ์ รำวงย้อนยุค อ๊อด โฟร์เอส
24 กุมภาพันธ์ รำวง แนนซี่
25 กุมภาพันธ์ ตรี ชัยณรงค์
26 กุมภาพันธ์ วง L.กฮ
27 กุมภาพันธ์ ดอกแค ท็อปไลน์
28 กุมภาพันธ์ ปู่จ๋าน ลองไมค์ x เคนน้อย ร้อยลีลา
พบกับการจำหน่ายสินค้าและของดีเมืองสระบุรี สินค้าโอท็อป ของดี 4 ภาค อาหารนานาชาต สะอาด อร่อย สินค้าราคาถูกเพียบ ราคาโรงงาน ขนมาเพื่อพี่น้องสระบุรีกันเลย สินค้าหลากหลาย ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรม ตกแต่งบ้าน ไม้ดอกไม้ประดับ ก็มี
เจ้าพ่อเขาตก เทพารักษ์แห่งเทือกเขาสุวรรณบรรพต
เจ้าพ่อเขาตก เป็นเทพารักษ์ของเขาตก ปกปักษ์รักษาเทือกเขาสุวรรณบรรพต (เขาสัจจพันธคีรี) คู่เมืองพระบาทแต่โบราณกาล
เล่ากันว่าเป็นหินก้อนใหญ่สีดำอยู่ปลายสุดของเขาหินปูน อยู่ห่างจากมณฑปพระพุทธบาทประมาณ 3 กิโลเมตร ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นอุกกาบาตที่ตกมาจากท้องฟ้า เนื่องจากมีเนื้อหินแตกต่างจากหินภูเขาทั่วไปซึ่งเป็นหินปูน ชาวบ้านจึงพากันมากราบไหว้ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ต่อมาได้สร้างศาลไม้ไว้ ณ บริเวณนี้ เรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อเขาตก
ใน พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาสักการะรอยพุทธบาท สระบุรี ขณะที่เสด็จผ่านศาลเจ้าพ่อเขาตก ทอดพระเนตรเห็นประชาชนเข้ามากราบไหว้ศาลจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรรัตน์สงคราม นำศิลาก้อนหนึ่งจากเขาตกมายังกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ช่างจำหลักเป็นรูปเทวดานั่งชันเข่า ถืออาวุธ สูงประมาณ 80 เซนติเมตร และนำมาประทับยังศาลเจ้าพ่อเขาตก สระบุรีเพื่อให้ประชาชนสักการบูชา
ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวศาลถูกไฟป่าไหม้อีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) เมื่อยังเป็นพระมงคลทิพมุนี สร้างศาลขึ้นใหม่และหล่อรูปเคารพใหม่อีกองค์หนึ่งทำเป็นรูปเทวดาทรงเครื่อง สูงประมาณ 1 เมตร ประทับนั่งอยู่ด้านหน้าเจ้าพ่อเขาตก ชาวบ้านเรียกกันว่า “เจ้าตาก” และชาวจีนได้ตีความหมายว่ารูปเคารพดังกล่าว คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและรูปเคารพเจ้าพ่อหนูเจ้าพ่อเสืออยู่ซ้ายและขวา
เจ้าพ่อเขาตกเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวจังหวัดสระบุรีเป็นอย่างมาก ต่อมามีการตัดถนนพหลโยธิน ทำให้เส้นทางการเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาทได้เปลี่ยนไป ชาวจีนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีร่วมมือกันสร้างศาลเจ้าพ่อเขาตกใหม่ขึ้นใกล้กับวัดพระพุทธบาท และได้อัญเชิญเจ้าพ่อเขาตก มาประทับยังศาลใหม่ เรียกกันว่า “โรงเจเจ้าพ่อเขาตก” ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมูลนิธิเจ้าพ่อเขาตก มีการจัดงานเทศกาลประจำปีของศาลในช่วงใกล้เคียงกับเทศกาลตรุษจีนโดยมีมหรสพสมโภชที่ยิ่งใหญ
ปัจจุบันนี้ ศาลเจ้าพ่อเขาตก ได้มาตั้งอยู่ใกล้กับวงเวียนถนนพุทธเกษตร ก่อนถึงวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารเพียง 600 เมตร รูปแบบศาลเจ้า เป็นแบบผสมไทย - จีน ได้เปิดทำการเป็นมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสพภัย ผู้ยากไร้ และดำเนินงานด้านสาธารณะกุศลต่าง ๆ อีกด้วย ในนาม “มูลนิธิเจ้าพ่อเขาตก”
นอกจากจะเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ปกปักษ์รักษาผืนแผ่นดินแล้ว ประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธายังนิยมมากราบไหว้ขอพรจากเจ้าพ่อเขาตกให้อำนวยอวยชัย ให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โชคลาภเงินทอง แคล้วคลาดปลอดภัย ไร้ภยันตราย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย
ในปัจจุบันพบว่ามีศาลเจ้าพ่อเขาตก ซึ่งมีรูปเคารพในลักษณะคล้ายกับเจ้าพ่อเขาตก สระบุรี ในพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่งด้วยกัน เช่น ศาลเจ้าพ่อเขาตก วังหน้า ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครศาล เจ้าพ่อเขาตก ในวัดราชคฤห์วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ศาลเจ้าพ่อเขาตก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ นอกจากนี้แล้วยังมีศาลเจ้าพ่อเขาตก ซึ่งมีรูปเคารพในลักษณะจีนในชุมชนชาวจีนต่าง ๆเช่น ศาลเจ้าพ่อเขาตก ย่านบางลำพูศาลเจ้าพ่อเขาตก บางยี่เรือ กรุงเทพฯ ศาลเจ้าแม่เขาสามมุขอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีศาลเจ้าก่าเทียงไตตี้ชุมชนบ้านหัวกุญแจ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ประเพณีเจ้าพ่อเขาตก
ประเพณีเจ้าพ่อเขาตก หรือแห่เจ้าพ่อเขาตก จัดเป็นประเพณีสำคัญอีกประเพณีหนึ่งของชาวอำเภอพระพุทธบาท จัดขึ้นทุกปีระหว่างวันขึ้น 1-4 ค่ำ เดือน 5 ในบริเวณวัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จ.สระบุรี
ภายในงานนอกจากขบวนแห่เจ้าพ่อเขาตกแล้ว ยังมีการแสดงอภินิหารต่างๆ ของเจ้าพ่อเขาตกควบคู่ไปกับการกระทำพิธีลุยไฟ แห่สิงโตล่อโก๊ะ ตลอดจนการแสดงงิ้ว ซึ่งจะมีชาวจีนที่เป็นลูกศิษย์ของเจ้าพ่อมาร่วมงานอย่างคับคั่งตลอด 4 วัน เป็นประจำทุกปี
ข้อมูลจาก Museum Thailand , พิพิธภัณฑ์บางลำพู