Phil Cheetham ได้ทำการศึกษาวงสวิงของนักกอล์ฟอาชีพที่มีชื่อเสียงหลายร้อยคน โดยใช้เครื่อง TPI 3D พบว่ามีลักษณะที่เหมือนกัน จนไม่สามารถบอกความแตกต่างของนักกอล์ฟแต่ละคน คือ ลำดับการเคลื่อนไหวของร่างกายที่มีลักษณะแบบเดียวกัน ตั้งแต่ Top swing จนถึงจุดกระทบ ทั้งที่วงสวิงจะมองเห็นแตกต่างกันได้ชัด เช่น Ernie Else , Vijay Singh , Jim Furyx , Ray Floyd , John Dally. ลักษณะการทำงานของร่างกายส่วนต่าง ๆ ที่เห็นแบบเดียวกันทั้งหมดนี้เรียกว่า Kinematic Sequence หรือการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามลำดับ เพื่อส่งถ่ายโมเมนตัมไปที่หัวไม้กอล์ฟ
การแบ่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เคลื่อนไหวในการตีกอล์ฟ ดังนี้
- ส่วนล่างของร่างกาย (Lower body)
- ส่วนลำตัว (Torso trunk)
- แขนและมือ (Arm and Hand)
- ไม้กอล์ฟ
นักกอล์ฟอาชีพชั้นนำ ใช้ส่วนต่าง ๆ ตามลำดับเหมือนสะบัดแซ่และทำได้สม่ำเสมอ
จากการใช้เครื่อง 3D Data Analysis วัดความเร็วของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและนำมาเขียนเป็นกราฟตั้งแต่ T (top swing) และ I (impact) จะพบ Kinematic Sequence ดังนี้
- ลำตัว (สีเขียว - trunk) เร่งความเร็วสูงกว่าสะโพก และลดความเร็วอย่างรวดเร็ว
- แขน (สีน้ำเงิน - Arm) เร่งความเร็วที่สูงกว่าลำตัว และลดความเร็วลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
- ไม้กอล์ฟ (สีน้ำตาล) เร่งความเร็วสูงสุดที่จุดกระทบ หรือก่อนจุดกระทบเล็กน้อย
สังเกตกราฟความเร็วสูงสุดของสะโพกเริ่มก่อน ตามมาด้วยความเร็วสูงสุดของลำตัว ตามด้วยความเร็วสงสุดของแขน และสุดท้ายจึงเป็นความเร็วสูงสุดของหัวไม้กอล์ฟที่จุดกระทบ ตามลำดับ และเมื่อถึงความเร็วสูงสุดจะต้องชะลอหรือลดความเร็วลง เพื่อส่งถ่ายโมเมนตัมไปที่ส่วนของร่างกายต่อไปตามลำดับขั้น
นักกอล์ฟสมัครเล่นส่วนใหญ่ จะมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่จะไม่อยู่ในลำดับการเคลื่อนไหว เช่น ความเร็วสูงสุดของแขน และไม้ มาก่อนสะโพกหรือลำตัว ทำให้ต้องชดเชยการเคลื่อนไหวส่วนอื่น เพื่อให้ตีถูกลูก เช่น งอข้อศอกำซ้าย ยืดตัวขึ้น ทำให้สูญเสียทั้งความเร็วและความเร็วของไม้กอล์ฟ
ในการศึกษาด้วย EMG ของกล้ามเนื้อระหว่างการทำสวิงจะเห็นชัดเจนว่า ก่อนถึง Top swing กล้ามเนื้อสะโพกขวา และกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาซ้ายเริ่มทำงานก่อน
Analyzed Signals / Periods
การทำงานของลำตัวจะเริ่มต่อเนื่อง ก่อนการทำงานของแขน (ดูที่กล้ามเนื้อเหยียดข้อศอก – Triceps muscle) จากนั้นจึงเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขวาท่อนล่าง ที่จะเริ่มทำงานเต็มที่ หลังการทำงานของกล้ามเนื้อมัดอื่น
ในนักกอล์ฟอาชีพ สามารถเร่งความเร็วหัวไม้จากตำแหน่งของ Transition เมื่อแขนซ้ายขนานกับพื้นจนถึงจุด Impact ใช้เวลา 0.05 วินาที
ในนักกอล์ฟสมัครเล่นส่วนใหญ่ จากตำแหน่ง Down swing จนถึง Impact ใช้เวลามากกว่า 0.11 วินาที และดูการทำงานของกล้ามเนื้อ จะพบว่ามีการทำงานของแขนขวาท่อนล่างเริ่มมาก่อนตั้งแต่เริ่มดาวน์สวิง ทำให้ Kinematic Sequence เสียไป
นักกอล์ฟสมัครเล่นหรือนักกอล์ฟที่เคยตีดี ๆ แล้ว Kinematic Sequence เสียไป มีสาเหตุใหญ่ ๆ คือ
- การส่งแรงไปที่หัวไม้กอล์ฟไม่ถูกหลักกลศาสตร์ (Improper swing mechanices)
- สภาพร่างกายมีข้อจำกัด เช่น ไม่สามารถหมุนข้อสะโพกเข้าในได้ (Internal rotation of Hip) ไม่สามารถหมุนไหล่ได้หรือสภาพกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอ
- การใช้ไม้กอล์ฟที่ไม่เหมาะสม เช่น ยาวเกินไป หนักเกินไป หรือก้านแข็งเกินไป
การวิเคราะห์วงสวิงด้วยเครื่อง Golf Simulator และบันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อด้วย EMG จะช่วยบอกได้ว่าวงสวิงมี Kinematic Sequence ที่ดี และใช้กล้ามเนื้อที่สำคัญ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพตามลำดับการส่งแรงไปที่ไม้กอล์ฟหรือไม่