ECMO ย่อมาจาก Extracorporeal Membrane Oxygenation
ECMO คล้ายกับเครื่องที่ใช้สำหรับการผ่าตัดหัวใจ (Open – Heart Surgery) ซึ่งผู้ป่วยจะต้องใช้เครื่องเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่เครื่อง ECMO อาจต้องใช้ถึงหลายสัปดาห์
การที่ ECMO ช่วยทดแทนการใช้งานของอวัยวะที่มีปัญหา เช่น หัวใจหรือปอด อวัยวะเหล่านี้จึงมีเวลาพักฟื้น ECMO จะใช้เฉพาะหลังจากได้ใช้มาตรการทางการแพทย์อื่นๆ แล้ว เมื่อหัวใจและ/หรือ ปอดได้หายเป็นปกติแล้วจะไม่ต้องใช้เครื่อง ECMO อาจใช้เวลาไม่กี่วันหรือหลายสัปดาห์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
จุดบ่งชี้ให้ใช้ ECMO VA – ECMO จะใช้ในผู้ป่วยที่มี Refractory Cardiogenic Shock ที่มีโรคหัวใจที่มีโอกาสหายสนิท (Reversible Heart Condition) ยังสามารถใช้เป็นสะพานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Ventricular Assist Device (VAD) หรือการปลูกถ่ายหัวใจ อัตราการรอดของผู้ป่วยที่ใช้ VA – ECMO อยู่ระหว่าง 30 – 50% ตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจต่างๆ
ผู้ที่จะใช้ ECMO ได้ เป็นหน้าที่ของทีมสหสาขาวิชาชีพนำโดย Specialized Cardiothoracic and Vascular Surgical Services พนักงานควรผ่านการฝึกอบรมอย่างดี มีเกณฑ์สำหรับการจัดการ ECMO รวมถึงข้อบ่งชี้และข้อห้าม (Indications and Contraindications) ระบบการขนส่งที่เหมาะสม
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
การติดต่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ส่งต่อผู้ป่วยกับโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
ผู้ป่วยอาจจะต้องใส่เครื่อง ECMO ก่อนเคลื่อนย้าย ถ้ามีอาการหนักและไม่คงที่ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระหว่างเคลื่อนย้ายน้อยอาจจะมาใส่เครื่อง ECMO เมื่อมาถึงโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
ECMO Team ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน ECMO นักเทคนิคผู้เชี่ยวชาญด้าน ECMO และพยาบาล
อ่านทั้งหมดเกี่ยวกับ
ECMO รพ.กรุงเทพ