ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วิตามิน C มีประโยชน์อย่างไร มีโทษหรือไม่ และการนำมาใช้ในรูปแบบใดบ้าง

วิตามิน C มีประโยชน์อย่างไร มีโทษหรือไม่ และการนำมาใช้ในรูปแบบใดบ้าง Thumb HealthServ.net
วิตามิน C มีประโยชน์อย่างไร มีโทษหรือไม่ และการนำมาใช้ในรูปแบบใดบ้าง ThumbMobile HealthServ.net

เวลานี้คงเป็นกระแสนิยมเกี่ยวกับผิวขาวใส ชะลอวัย ไม่มีใครไม่รู้จักวิตามิน และคงจำกันได้ว่าวิตามิน C มีประโยชน์มากมาย ทั้งรักษาโรค และป้องกันโรค เช่น โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน แม้แต่รักษาและป้องกันหวัด เรามารู้จักกับวิตามิน C กันซักเล็กน้อยว่า คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีโทษหรือไม่ และการนำมาใช้ในรูปแบบใดบ้าง




วิตามิน C หรือชื่อเต็มๆว่า กรดแอสคอบิค (Ascobic Acid) เป็นวิตามินที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากการทานเข้าไป มีหน้าที่หลักๆ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งจะป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากขบวนการสันดาบในร่างกาย หรือจากมลพิษ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ซึ่งจะทำให้เซลล์ต่างๆ เสื่อม หรืออาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่ผิดปกติได้ วิตามิน C ยังทำหน้าที่เป็นตัวช่วย (Cofactor) ในขบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวกับผิวหนัง และของเส้นเลือดให้แข็งแรง ไม่เปราะ ยืดหยุ่นได้ดี และการหายของแผลต่างๆ เป็นปกติ วิตามิน C ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสามารถป้องกัน และรักษาหวัดได้ และยังลดการอักเสบจากการติดเชื้อ มีรายงานว่า วิตามินสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล  และคลายเครียด เนื่องจากสามารถเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ในการสร้างฮอร์โมนต้านความเครียด ความต้องการในแต่ละวัน (Recommended Daily Intake) ควรได้รับ 40-90 mg/day โดยคนท้อง ให้นมลูก สูบบุหรี่ หรือบุคคลที่มีความเครียดทั้งจิตใจและร่างกาย เช่น กำลังป่วยอยู่ ควรได้รับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย USA Vitamin C recommendations ได้กำหนดขนาดที่ควรได้รับ ดังนี้
  • ผู้ชาย ผู้ใหญ่ 90 mg/ day     
  • ผู้หญิง ผู้ใหญ่ 75 mg/ day
     
 
 ปัจจุบันเริ่มมีการใช้  Megadose โดยทานขนาดสูง 2000 mg/ day โดยทางสถาบันได้รายงานผลวิจัยว่า ได้ผลดีในแง่การรักษามะเร็ง และชลอวัย เนื่องจากวิตามิน C มีความสามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อเราทานเข้าไปจะสลายและถูกดูดซึมง่าย และขับถ่ายออกทางปัสสาวะ อย่างรวดเร็ว ดังนั้น แม้ทานขนาดสูง หรือมากเกินไป ร่างกายก็สามารถขับถ่ายออกมาอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ได้ประโยชน์จากการทานขนาดที่สูงไม่มากนัก และโอกาสเกิดพิษจากวิตามิน C ก็มีน้อยเช่นกัน
 
ผลข้างเคียงของวิตามิน C การทานขนาดสูงมากกว่า 1000 mg อาจจะทำให้เกิดท้องเสีย และทานตอนท้องว่าง จะเกิดการระคายเคือง ทางเดินอาหาร เนื่องจากความเป็นกรด อาจจะเกิดอาการท้องอืด เฟ้อ บางครั้งถึงขั้น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และแน่นอนเนื่องจากวิตามิน C ขับทางปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นกรด ดังนั้น จึงเพิ่มโอกาสเกิดการตกตะกอนของผลึก ต่างๆ กลายเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้  ดังนั้น จึงแนะนำให้ทานวิตามิน C พร้อมดื่มน้ำมากๆ แหล่งของวิตามิน C  ได้แก่ ผัก ผลไม้  เช่น พลัม อซีโลรา กูสแบรี่ แบลคเคอเรนท์ บลอคเคอรี่ พริกหวาน โขม กะหล่ำดอก ในเนื้อสัตว์  และตับสัตว์ ก็เป็นแหล่งวิตามิน C เช่นกัน การปรุงอาหารมีความสำคัญต่อคุณค่าวิตามิน C เพราะจะลดปริมาณวิตามิน C ได้ถึง 60% ดังนั้น ไม่ควรปรุงอาหารจนสุกเกินไป  การลวกผัก วิตามิน C จะละลายออกมาอยู่ในน้ำลวกผัก ค่อนข้างสูง เช่นกัน ดีที่สุดคือ ผัก ผลไม้สดที่ไม่สุก เก็บมาใหม่ๆ จะมีปริมาณสูงที่สุด และการเก็บรักษาที่ดีที่สุด คือ แช่เย็น เพราะการอบแห้ง ดอง เชื่อม ทำให้ปริมาณวิตามินลดลงเช่นกัน
 
การขาดวิตามิน C พบในพวกควบคุมอาหารมากๆ    มังสวิรัต สูบบุหรี่ โรคเกี่ยวกับการดูดซึม อาการที่พบคือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดข้อ เลือดออกตามไรฟัน แผลหายช้า และติดเชื้อง่าย     วิตามิน C ในรูปแบบอาหารเสริม  มีทั้งรูปแบบเม็ดอัด แคปซูล ลูกอม ผสมน้ำหวาน-เครื่องดื่ม หรือผงละลายน้ำ และมีนำมาทำในรูปใช้ภายนอก เช่น ซีรั่ม ครีม โลชั่น เพราะเชื่อว่าผิวจะดูไม่เหนื่อยล้า หมองคล้ำ ขาวใส เปร่งปรั่ง ไม่ร่วงโรยก่อนวัย
 
ถึงตอนนี้คงทราบข้อมูลของวิตามิน C แล้ว ก็สามารถหาได้จากอาหารทั่วๆ ไป ซึ่งก็เพียงพอที่ทำให้ไม่เกิดอาการขาดวิตามินแล้ว ส่วนใครจะเสริม ทานเพิ่มเติม หรือทาก็คงต้องพิจารณาเพื่อตัดสินใจ อย่างไร ข้อมูลของบริษัทที่โฆษณาถึงสรรพคุณที่ดีเท่านั้น และจะเป็นความคิดที่ผิดมาก ถ้าบางคนไม่ยอมทานผัก ผลไม้ แต่ทานอาหารเสริมแทน นอกจากจะไม่ให้ประโยชน์เท่าอาหารจริง ๆ แล้วยังเสียเงินโดยใช่เหตุครับ


นพ.ธัญธรรศ  โสเจยยะ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด