ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย Thumb HealthServ.net
ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ThumbMobile HealthServ.net

ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถขับของเสีย และน้ำที่มีอยู่เกินออกจากกระแสโลหิตได้ ของที่คั่งและของเหลวที่มีอยู่เกิน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

โรคไตเรื้อรังเป็นกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อ (non-communicable disease) โรคหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2558 พบว่าคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เมื่อการทำงานของไตลดลงจนกระทั่งอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate; eGFR) น้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร จะจัดว่าเป็นไตวายระยะสุดท้าย (end stage renal disease; ESRD) ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy; RRT) ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) การล้างไตทางหน้าท้อง (peritoneal dialysis) หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (kidney transplantation)

ไตวายเรื้อรังคืออะไร 

            ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถขับของเสีย  และน้ำที่มีอยู่เกินออกจากกระแสโลหิตได้  ของที่คั่งและของเหลวที่มีอยู่เกิน  ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน 
 
            สาเหตุสำคัญของภาวะไตวายเรื้อรัง  เกิดจากเบาหวานและความดันโลหิตสูง, ไตส่วน Glomeruli  อักเสบ, Polycystic Kidney, ยากลุ่ม NSAID, ภาวะ Uric สูงทำให้ Urate เกาะที่ Medullary  Interstitium  เกิด Interstitial Fibrosis แต่ภาวะไตเสื่อมเลวลง
 
            ในระยะแรกของภาวะไตวายเรื้อรังอาจไม่พบอาการผิดปกติ  ในระยะท้ายผู้ป่วยต้องล้างไต หรือเปลี่ยนไตจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ 
 
            เป้าหมายสำคัญของการรักษา  คือ  การป้องกันไม่ให้ภาวะไตวายเรื้อรังดำเนินโรคเป็นภาวะไตวายระยะสุดท้าย  โดยการควบคุมภาวะโรคที่เป็นสาเหตุของไตวาย  เช่น  เบาหวาน  ความดัน  และภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้  เช่น  การติดเชื้อและการฉีด Contrast เพื่อการวินิจฉัยทางรังสีวิทยา
 
 

สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อย

ได้แก่
  1. เป็นโรคเรื้อรังอยู่เดิม เช่น เบาหวาน , ความดันโลหิตสูง , โรคเอสแอลอี (โรคพุ่มพวง) , โรคเกาต์ , นิ่วในไต 
  2. ผลข้างเคียงจากยาและสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือที่มักเรียกกันว่ายาแก้อักเสบ , ยาแก้ปวดข้อ , ยาลดความดันโลหิตบางชนิด , ยาปฏิชีวนะ และรวมถึงยาลดความอ้วนบางตัว 
  3. กรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคถุงน้ำในไต 


 
เบาหวาน เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

 
 

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังเป็นภัยเงียบ ซึ่งมักไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน จนกระทั่งเมื่อไตเสื่อมมากแล้ว อย่างไรก็ตามมี อาการสำคัญบางอย่างที่อาจเป็นสัญญาณเตือน ว่าท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ และควรไปพบแพทย์
 
 
 
 
 

อาการเริ่มต้นของโรคไต

1. อาการปัสสาวะแสบขัดที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปกติมักจะพบในเพศหญิง แต่หากพบในเพศชายอาจต้องไปตรวจเพิ่มเติมว่ามีโรคนิ่วระบบไต หรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะอื่นๆ หรือไม่
 
2. อาการปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งแรง ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุดกลางคัน บ่งบอกถึงว่ามีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย หรือมดลูกหย่อนในเพศหญิง
 
3. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ  ในคนปกติเมื่อเรานอนหลับ 6-8 ชั่วโมง มักจะไม่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ หรืออาจตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางคืนได้ 1-2 ครั้ง เนื่องจากในตอนกลางคืน ไตจะดูดกลับน้ำมากขึ้น ทำให้การขับปัสสาวะลดลง แต่ในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะดูดกลับน้ำได้ไม่ดี ทำให้ต้องลุกมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ อีกโรคที่ทำให้มีอาการนี้ คือ เบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะไตเรื้อรังเช่นกัน
 
4. ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ เลือด หรือขุ่นกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกว่ามีเลือดปน หรือมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ สาเหตุ เช่น มีนิ่ว , ไตอักเสบ หรือเนื้องอกทางเดินปัสสาวะ 
 
5. อาการบวมรอบตา บวมหน้า บวมเท้า อาการบวมที่หน้าสังเกตได้ง่ายเวลาตื่นนอน ส่วนเท้าบวมอาจพบเมื่อเข้าช่วงบ่าย หรือยืนนานๆ ใช้มือกดที่เท้าหรือหน้าแข้งจะมีรอยบุ๋ม อาการบวมนี้อาจพบได้ในโรคหัวใจ โรคตับหรือโรคไต
 
เมื่อเริ่มเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ไตจะเริ่มขับน้ำและของเสียออกทางปัสสาวะไม่ได้ตามปกติ ทำให้เริ่มมีอาการต่างๆ เช่น
 
  - รู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ง่วงซึม สับสน เนื่องจากมีของเสียในร่างกายมากขึ้น 
  - เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียจากภาวะซีด เนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนสร้างเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ 
  - บวมในตำแหน่งต่างๆ เช่น เปลือกตา ข้อเท้า เท้า หน้าแข้ง เนื่องจากไตกำจัดน้ำส่วนเกินออกไม่ได้ เมื่อมีน้ำสะสมในร่างกายมากขึ้น จะเกิดภาวะน้ำท่วมปอดและหายใจลำบาก
 - ความดันโลหิตสูง ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อ่อนเพลีย และเป็นโรคหัวใจได้
 
หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
 
 


วิธีชะลอการเสื่อมของไต

            - ดูแลโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุของไตเรื้อรัง เช่น ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับไม่เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท ควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในช่วง 80-120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) หรืออย่างน้อยต้องไม่เกินกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในโรคที่เป็นเรื้อรัง เช่น ไตเสื่อมจากเอสแอลอี นิ่ว หรือถุงน้ำในไต
            -  พักผ่อนให้เพียงพอ (อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน)
            -  หลีกเลี่ยงความเครียด
            -  ดื่มน้ำบริสุทธิ์สะอาดให้เพียงพอ วันละ 1.5 - 2 ลิตรต่อวัน การดื่มน้ำบาดาลอาจทำให้เกิดโรคนิ่วได้ แต่ต้องระวังการดื่มน้ำมากเกินไป อาจทำให้ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ แต่ถ้าไตไม่ดีและเริ่มบวม แพทย์จะแนะนำให้เริ่มจำกัดน้ำ
            -  การดูแลเรื่องอาหาร ลดทานอาหารเค็ม ลดอาหารมัน ลดโปรตีน ลดทานผักผลไม้ (แพทย์จะอธิบายแก่ผู้ป่วยในแต่ละระยะเอง)
            -  การออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นพิเศษ คือ การออกกำลังกายชนิดต่อเนื่อง เช่น การเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค การยกน้ำหนัก (แต่ไม่ควรหนักเกินไป) ออกกำลังกายประมาณวันละ 30-60 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ไม่ควรออกกำลังกายจนเหนื่อยถึงขั้นไม่สามารถพูดเป็นคำๆได้ ควรออกกำลังช่วงเช้าหรือเย็น และควรหยุดออกกำลังกายเมื่อรู้สึกเหนื่อย หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ แน่นท้อง ตะคริว เวียนศีรษะ จะเป็นลม
            -  ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วนเกินไป
            -  หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อไต เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ถ้าใช้ติดต่อกันก็อาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (ยาแก้อักเสบ แก้ปวดข้อ) ยาอื่นๆ เช่น พวกสมุนไพรบางอย่าง
            -  หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
            -  หลีกเลี่ยงยาเสพติด เฮโรอีน โคเคน ยาอี (เอคสตาซี) กัญชา
            -  เพศสัมพันธ์ไม่ได้เป็นข้อห้าม แต่การเป็นโรคไตเรื้อรังอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง
            -  หยุดสูบบุหรี่
            -  หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
            -  ระวังอย่าให้เกิดท้องเสีย ถ้ามีท้องเสียควรทานน้ำให้พอ
            -  อย่าหลงคำโฆษณาชวนเชื่อ
          - ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาตัวใหม่ๆ เสมอ
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด