ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไวรัสเมอร์ส-โควี ไวรัสกลุ่มโคโรน่า

ไวรัสตัวนี้จัดอยู่กลุ่มโคโรน่าไวรัสเช่นเดียวกับไข้ หวัดซาร์ส แต่ไม่ใช่ตัวเดียวกับซาร์ส

ไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 หรือเมอร์ส–โควี คืออะไร...

 
จากข้อมูลระบุว่า ไวรัสตัวนี้จัดอยู่กลุ่มโคโรน่าไวรัสเช่นเดียวกับไข้ หวัดซาร์ส แต่ไม่ใช่ตัวเดียวกับซาร์ส ซึ่งโดยปกติไวรัสกลุ่มนี้จะก่อให้เกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ มีอาการตั้งแต่ระดับอ่อนๆเป็นไข้หวัดธรรมดา และรุนแรงถึงขั้นหายใจติดขัด ระบบการหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด
 
 
จริงๆแล้ว โคโรน่าไวรัส 2012 ที่เรียกว่าเมอร์ส-โควี นี้ไม่ใช่ไวรัสที่เพิ่งค้นพบ เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์ แต่มีการพบในคนครั้งแรกตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 การแพร่ระบาดของโรคส่วนใหญ่อยู่ในประเทศในแถบตะวันออกกลาง มักพบในกลุ่ม
 
ผู้เดินทางไปแสวงบุญ ผู้สัมผัสอูฐ หรือดื่มนมอูฐ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและยารักษา
 
 
ในเดือน พ.ค.2557 ข้อมูลจากศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งยุโรป (European Centre for Disease Prevention and Control) รายงานว่า พบผู้ป่วยยืนยันทั้งสิ้น 495 ราย เสียชีวิต 141 ราย ใน 17 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ตูนิเซีย อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กรีซ อียิปต์ สหรัฐอเมริกา และเยเมน โดยในช่วงเวลาดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ไม่มีรายงานการพบทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต มีเพียงผู้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังเท่านั้น
 
 
อธิบดีกรมควบคุมโรค บอกว่า ขอแนะนำให้ประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปตะวันออกกลาง ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด งดสัมผัสกับอูฐ หรือดื่มนมอูฐดิบ ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ และหากเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ภายใน 14 วัน พบมีอาการป่วย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้ใส่หน้ากากอนามัยและให้รีบพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศทันที เนื่องจากแหล่งแพร่เชื้อไวรัสนี้อยู่ในประเทศตะวันออกกลางเป็นหลัก
 
 
สำหรับประเทศไทย ได้มีการเฝ้าระวังโรคนี้ตั้งแต่มีรายงานพบผู้ป่วยในแถบตะวันออกกลางเมื่อปี 2555 จนถึงปัจจุบัน และยังไม่มีการพบผู้ป่วยในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม จะยังคงมาตรการอย่างต่อเนื่อง 3 เรื่อง คือ
 
1.ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลทุกแห่ง เฝ้าระวังผู้ป่วย เน้นกลุ่มที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้สูง ไอ ถ่ายเหลว อาเจียน และมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศตะวันออกกลาง หรือเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศที่พบผู้ป่วย
 
2.ให้กรมควบคุมโรควางแผนการดูแลสุขภาพชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปร่วมพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย จะเริ่มเดินทางช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้ จำนวน 10,400 คน และ
 
3.จัดทำคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไปที่จะเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง
 

กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย ขอให้หลีกเลี่ยงการเที่ยวชมฟาร์ม พื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร และตลาดที่มีอูฐอยู่ แต่หากจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสอูฐ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำนมดิบจากอูฐ ที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ รวมทั้งการกินอาหารที่ไม่สะอาด หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการล้างปอกเปลือก หรือปรุงให้สุก เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งของสัตว์ได้
 
 
“ขอแนะนำให้ประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปตะวันออกกลาง ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข งดสัมผัสกับอูฐ หรือดื่มนมอูฐดิบ ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ และหากเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ภายใน 14 วัน พบมีอาการป่วย คือ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้ใส่หน้ากากอนามัยและขอให้รีบพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศทันที เนื่องจากแหล่งแพร่เชื้อไวรัสนี้อยู่ในประเทศตะวันออกกลางเป็นหลัก” อธิบดีกรมควบคุมโรคย้ำ พร้อมกับบอกว่า เบื้องต้นประเทศไทยจะนำเอางบประมาณ และมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้ออีโบลามาใช้ในการป้องกันโรคเมอร์ส-โควีก่อน
 
ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด