ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคเครียดภายหลังภยันตราย ความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรง PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)

โรคเครียดภายหลังภยันตราย ความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรง PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)  Thumb HealthServ.net
โรคเครียดภายหลังภยันตราย ความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรง PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)  ThumbMobile HealthServ.net

โรคเครียดภายหลังภยันตราย เช่น ภัยพิบัติ การก่อการจราจล การฆาตกรรม สงคราม เป็นต้น ซึ่งคนที่ต้องเผชิญอยู่กับเหตุการณ์นั้นๆ รอดชีวิตมาได้ หรือว่าเป็นผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เกิดมีความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรงมาก จนทุกข์ทรมาน ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ตามมา

โรคเครียดภายหลังภยันตราย ความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรง PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)  HealthServ
อาการผู้ที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็นภาวะ PTSD
 
ระยะที่หนึ่ง (1 เดือนหลังเจอเหตุการณ์) เราจะเรียกว่าระยะทำใจ หรืออาการเครียดเฉียบพลัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการเครียดแล้วเกิดอาการทางประสาทขึ้นมาได้
 
ระยะที่สอง (มากกว่า 1 เดือน) มีลักษณะอาการสำคัญ 4 อย่าง คือ
 
1. เห็นภาพเหตุการณ์ผุดขึ้นมาซ้ำๆ หรือฝันเห็นบ่อยครั้ง
 
2. อาการ Flash Back คือ เกิดความตื่นตัว เห็นเหตุการณ์นั้นๆ กำลังจะเกิดขึ้นกับเรา ควบคุมไม่ได้
 
   นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ตกใจง่าย ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ไม่มีสมาธิ เครียดได้กับสิ่งต่างๆ รอบตัว
 
3. พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะส่งผลทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจ เช่น ภาพข่าวเหตุการณ์ การพูดถึงจากบุคคลอื่น
 
4. มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงลบ รู้สึกว่าชีวิตตัวเองหม่นหมอง ทั้งตัวเองและสิ่งรอบข้าง คิดว่าตัวเองคงไม่มีความสุขได้อีกต่อไปแล้ว ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบหรือเคยทำมาก่อนอีกแล้ว ทำให้อาจคิดฆ่าตัวตาย หรือพึ่งสารเสพติดต่างๆ เพื่อต้องการให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่จริงๆ แล้วอาจจะทำให้เกิดผลร้ายแรงยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว
 
กลุ่มเสี่ยง ได้แก่
 
  • คนที่มีประสบการณ์ถูกทำร้ายตอนเด็กๆ
  • คนที่ไม่ค่อยมีเพื่อนหรือครอบครัวมาคอยช่วยเหลือ
  • คนที่ชอบพึ่งพาคนอื่นมาโดยตลอด ไม่พยายามช่วยเหลือตนเอง
  • คนที่มีอาการทางจิตเวชเป็นทุนเดิม เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า โรควิตกกังวล
  • คนที่อายุน้อยไม่มีประสบการณ์ คนอายุมากที่มีปัญหาเรื่องการปรับตัว
  • ผู้หญิงมีแนวโน้มจะเป็นโรค PTSD ได้มากกว่าผู้ชาย

 
แนวทางการรักษา มีดังนี้
  1. ยอมรับตัวเอง ไม่ต้องกลัวการรักษาหรือคิดว่าตัวเองเป็นโรคจิตเวชร้ายแรง ไม่ว่าใครที่เคยเจอเหตุการณ์ร้ายๆ ก็ต้องเครียดด้วยกันทั้งนั้น
  2. ทำจิตบำบัดในเชิงพฤติกรรมบำบัด เช่น ให้เผชิญกับสิ่งที่หวาดกลัว เหตุการณ์ที่เคยหวาดกลัว        ให้คนไข้ได้ปรับตัว หาทางที่จะควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง
  3. ฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ ฝึกลมหายใจ วิธีการเบี่ยนเบนความคิดเมื่อเราคิดหมกมุน
  4. ทำกลุ่มบำบัด โดยนำบุคคลที่เคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กันมาพบกัน แล้วร่วมแชร์ความรู้สึกประสบการณ์ เหมือนมีเพื่อนคอยรับฟังความคิดเห็นของเรา เพื่อให้เผชิญกับเหตุการณ์นั้นๆ ได้ดีขึ้น
  5. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง 

โปรดใช้ถ้อยคำสุภาพ เหมาะสม เพื่อบรรยากาศที่ดีในการสนทนา และแบ่งปันข้อมูลอันมีคุณค่าต่อกัน

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด