อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป บางคนอาจมีอาการเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แต่ไม่ควรเกิด 1 เดือน ที่สำคัญต้องเข้าใจว่าผู้ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ใช่ผู้ป่วยทางจิตและไม่ใช่ผู้อ่อนแอ แต่อาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการแสดงออกทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเท่านั้น หากได้รับการช่วยเหลือและดูแลทางด้านจิตใจอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัว และกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ มีเพียงประมาณร้อยละ 5-10 นาที ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลและบำบัดรักษาจากจิตแพทย์ หรือทีมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิตแนะให้สังเกต 8 สัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่า บุคคลต้องได้รับการช่วยเหลือจากจิตแพทย์หรือบุคลากรสุขภาพจิตดังนี้
- มีความสับสนรุนแรงรู้สึกราวกับว่าโลกนี้ไม่มีอยู่จริง เหมือนกำลังฝันไป ล่องลอย
- รู้สึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ หยุดไม่ได้ จำแต่ภาพโหดร้ายได้ติดตา ฝันร้าย ย้ำคิดแต่เรื่องเดิม ๆ
- หลีกหนีสังคมกลัวที่กว้าง ไม่กล้าเข้า สังคม
- ตื่นกลัวเกินเหตุฝันร้ายน่ากลัว ควบคุมตนเองให้มีสมาธิไม่ได้ กลัวว่าจะตาย
- วิตกกังวลมากเกินไปจนทำอะไรไม่ได้หวาดกลัวรุนแรง มีความคิดฝังใจประสาทมึนชา
- ซึมเศร้าอย่างรุนแรงรู้สึกกว่าตัวเองไร้ค่า ท้อแท้ตำหนิตัวเอง หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบ อยากตาย
- ติดสุราและสารเสพติด
- มีอาการทางจิตหลงผิด ประสาทหลอน ฯลฯ
สำหรับการดูแลจิตใจตนเองและคนรอบข้าง เมื่อประสบเหตุรุนแรง ทำได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ใช้สุรา หรือยาเสพติดพยายามหากิจกรรมทำให้เกิดความเพลิดเพลิน พยายามใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นปกติ ปรึกษาพูดคุยเรื่องไม่สบายใจ หรือขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด หรือจากคนที่ไว้ใจ และเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนหรือสังคม เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมทางศาสนา ฯลฯ ตลอดจนขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง