ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน PHEV และ BEV ความเหมือนและความต่าง

ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน PHEV และ BEV ความเหมือนและความต่าง Thumb HealthServ.net
ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน PHEV และ BEV ความเหมือนและความต่าง ThumbMobile HealthServ.net

ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้ให้คำอธิบายถึงความเหมือนและความต่างของยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน PHEV และ BEV ไว้ดังนี้

ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน PHEV และ BEV ความเหมือนและความต่าง HealthServ
ความเหมือนและความต่าง ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน PHEV และ BEV
 
ประเภทของยานยนต์ไฟฟ้ามี 4 ประเภทหลักคือ 
1. ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด(Hybrid Electric Vehicle–HEV) 
2. ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle–PHEV)
3. ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle–BEV) 
4. ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle–FCEV)
 
 
ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน PHEV และ BEV ความเหมือนและความต่าง HealthServ


   ยานยนต์ไฟฟ้า PHEV หรือ BEV ถูกจัดเป็นยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินเหมือนกัน ซึ่งมีการอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกโดยสามารถประจุไฟฟ้าจากที่บ้านหรือสถานีอัดประจุไฟฟ้าตามสถานที่สาธารณะโดยทั่วไป หากรถ PHEV มีไฟฟ้าในแบตเตอรี่เต็มจะทำ งานด้วยพลังงานไฟฟ้าก่อนในระยะประมาณ 20-50 กม. จากนั้นถึงจะทำ งานด้วยเครื่องยนต์เหมือนในรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV)โดยมีระยะทางวิ่งรวมมากกว่า 500-700 กม.ต่อการเติมเชื้อเพลิง
 
 ในขณะที่รถ BEV จะวิ่งด้วยไฟฟ้าอย่างเดียว โดยจะมีระยะวิ่งด้วยไฟฟ้าตั้งแต่ 130 กม.จนไปถึง 500 กม. ต่อการประจุไฟฟ้า ซึ่งระยะทางจะขึ้นกับขนาดของแบตเตอรี่ภายในตัวBEVนั้นหมายถึงราคาของรถด้วย ทั้งนี้ได้สรุปความแตกต่างของคุณลักษณะทางเทคนิคของ PHEV และ BEV ในตารางที่1 โดยข้อมูลในตารางเป็นการรวบรวมจากรถยนต์ PHEV และ BEV ที่มีการจำ หน่ายในปี2016 ในประเทศไทยและต่างประเทศได้แก่สหรัฐอเมริกาและยุโรป


 
 
 ทั้งนี้ระยะทางที่วิ่งด้วยไฟฟ้าเป็นระยะทางจากการทดสอบตามมาตรฐานของประเทศนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่มีการเปิดระบบปรับอากาศหรือเปิดแอร์หากเปิดแอร์ ระยะทางจะลดลงประมาณ 15-20% นอกจากนี้ระยะเวลาในการอัดประจุไฟฟ้าจนเต็มขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมและกำลังของตัวอัดประจุไฟฟ้าในรถยนต์(On-board charge) ของรถยนต์แต่ละยี่ห้อและรุ่นด้วย

 สำหรับในการให้บริการอัดประจุไฟฟ้านั้นทางกระทรวงพลังงานงานได้มีการประสานความร่วมมือสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าจำ นวน 100แห่งในสถานที่รัฐเอกชนและมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน และนอกจากจะส่งเสริมรถขนส่ง รถเก๋ง แต่ตอนนี้มีการทำตามนโยบายของกระทรวงพลังงานใน 5 ปีที่จะทำ รถตุ๊กๆ 22,000 คันเป็นรถตุ๊กๆไฟฟ้าซึ่งจะมีการสนับสนุนให้400,000 บาทในช่วงแรก “แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าของคนไทยก็ยังมีหลายมุมมองที่ต้องเร่งปรับตัวรับการเกิดรถยนต์ไฟฟ้า และในอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาถูกลงและสามารถอัดประจุไฟฟ้าสำรองที่สามารถจุไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น”
 
 ทั้งนี้ในการพัฒนาแบตเตอรี่เมื่อเทียบกับพลังงานอื่นๆ นํ้ามัน ถ่านหินมีคุณค่าพลังงานในตัวเองมากกว่าแบตเตอรี่ในขณะที่นํ้ามัน 20 กว่าลิตรวิ่งได้เป็นร้อยกิโลเมตร แต่แบตเตอรี่นํ้าหนักเท่ากันวิ่งได้เพียงไม่กี่กิโลเมตร และใช้เวลาบรรจุประจุไฟฟ้า 5 ชั่วโมงและตอนนี้ลดลงเหลือ 3 ชั่วโมงได้แล้วและเทคโนโลยีจะพัฒนาขึ้น ส่วนนํ้ามันนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยและIMF คาดคะเนว่า นํ้ามันจะมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นถึงตอนนี้รถยนต์ไฟฟ้าอาจมีราคาสูง แต่ต่อไปในอนาคตจะเป็นอีกทางเลือกที่ดี
 
 
 
โดย ยศพงษ์ ลออนวล
นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
คุยกับนายก EVAT
เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด