Electric mobility Development Plan
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 รับทราบเรื่องการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน (พน.) เป็นหน่วยงานหลักให้รับรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน พร้อมทั้งสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงพลังงานได้หารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมยานยนตไฟฟ้าโดยมุ่งเน้นในกลุ่มรถโดยสารสาธารณะก่อน แล้วจึงขยายผลไปสู่การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลต่อไป ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้วางมาตรการการส่งเสริมยานยนตีไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (Energy Efficiency Plan: EEP 2015) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558 โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในปี 2579 รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคัน
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ที่ให้มีการส่งเสริมการใช้งานรถโดยสารสาธารณะฟฟ้าและการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จึงได้มีการดำเนินโครงการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ Charging Station ขึ้น สำหรับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เพื่อเป็นสถานีนำร่อง และเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการได้มีการจัดสรรเงินทุนสนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) ซึ่งใช้เวลาในการอัดประจุประมาณ 15-30 นาทีต่อครั้ง และสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) ซึ่งใช้เวลาอัดประจุประมาณ 1-8 ชั่วโมงต่อครั้ง โดยมีหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจำนวน 68 หน่วยงาน หรือ 80 หัวจ่าย ที่ได้รับงบประมาณที่ให้การสนับสนุน รวมทั้งสิ้นประมาณ 43.3 ล้านบาท ทั้งนี้สามารถแบ่งประเภทได้เป็น หน่วยงานราชการ จำนวน 14 หน่วยงาน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐประเภทอื่น จำนวน 10 หน่วยงาน และหน่วยงานเอกชน 44 หน่วยงาน
สำหรับการติดตามการใช้พลังงานของสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ที่ได้รับการสนับสนุน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พบว่ามีการใช้พลังงนในการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าจากทุกลสถานีไปแล้วรวมทั้งสิ้น 216,808 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (KWh) โดยหน่วยงานที่มีการใช้พลังงานในการอัดประจุไฟฟ้ามากที่สุดคือ หน่วยงานเอกชน ประเภทห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีการใช้พลังงานคิดเป็นร้อยละ 90 ของพลังงานที่ใช้โดยสถานีอัดประจุไฟฟ้าภายใต้โครงการทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามีพฤติกรรมการใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าที่สถานีอัดประจุไฟฟ้าภายในห้างสรรพสินค้าบ่อยกว่าการใช้งานที่สถานที่อื่น เช่น ภายในสำนักงาน หน่วยงานราชการ หรือสถานีจ่าย
เงื่อนไขการสนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า
1.กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีสิทธิได้รับการสนับสนุน charging station 150 หัวจ่าย จำแนกเป็น 3 กลุ่ม
(1) ส่วนราชการ จำนวนหัวจ่าย (ระยะที่1) 20 หัว ระยะที่2 5 หัว
(2) รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันการศึกษาของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐประเภทอื่นที่ไม่ใช่ ส่วนราชการ จำนวนหัวจ่าย (ระยะที่1) 20 หัว
(3) เอกชน จำนวนหัวจ่าย (ระยะที่1) 60 หัว ระยะที่2 45 หัว
รวมหัวจ่ายประจุไฟฟ้า ระยะที่1 100 หัว ระยะที่2 50
* ยกเว้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และ
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน สถาบันการศึกษาของรัฐ หน่วยงานของรัฐประเภทอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ ที่ได้ติดตั้งหัวจ่ายประจุไฟฟ้า (Charger) ประเภทเดียวกันไปแล้ว
2. องค์ประกอบสถานีอัดประจุไฟฟ้าและราคาประเมิน มีดังนี้
(1) หัวจ่ายประจุไฟฟ้าแบบเร่งด่วน (Quick charge)
ใช้เวลาในการประจุไฟฟ้าประมาณ 30 นาที
อัดประจุไฟฟ้าได้สูงสุด 80% จากจำนวนเต็มความจุของแบตเตอรี่
ราคาประเมิน 1,000,000 บาทต่อหน่วย
(2) หัวจ่ายประจุไฟฟ้าแบบธรรมดา (Normal Charge)
ใช้เวลาในการประจุไฟฟ้าประมาณ 1-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประเภทยี่ห้อและรุ่น
ของรถยนต์ไฟฟ้า
ราคาประเมิน 100,000 บาทต่อหน่วย
(3) ค่าปรับปรุงพื้นที่บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า
เขตหรือพื้นที่อันเป็นสถานที่หรือจุดให้บริการอัดประจุไฟฟ้า แบบ Quick หรือ
Normal เช่น ปรับปรุงพื้นที่ติดตั้ง Charging station ปรับปรุงระบบสายส่ง
ไฟฟ้า ปรับปรุงพื้นที่ช่องจอดรถ เป็นต้น
ราคาประเมิน 900,000 บาทต่อหน่วย
3. การสนับสนุนการลงทุน Charging station
4.การตรวจสอบและเก็บข้อมูล
หน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ ต้องให้ความร่วมมือกับทางโครงการในการเข้า
ตรวจสอบและเก็บข้อมูลการใช้งาน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี นับจากวันที่ติดตั้งแล้วเสร็จ
กำหนดเวลารับสมัครเข้าร่วมโครงการ ตุลาคม 2559 - มีนาคม 2560
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
โครงการสนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า
อาคารเคเอ็กซ์ ชั้น 12 เลขที่ 110/1 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำพูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600
โทร. 086-390-3339