ลักษณะโรค มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและปวดมวนท้องรุนแรงเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้และปวดศีรษะ บางครั้งมีอาการคล้ายเป็นบิด ถ่ายอุจจาระปนเลือดหรือมูก ไข้สูง ตรวจเลือด พบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง เป็นโรคที่ไม่ค่อยรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ นอกจากกรณีที่มีการสูญเสียน้ำมากมีระยะเวลาดำเนินโรค 1-7 วัน การติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกายและการตายพบได้น้อยมาก
ระยะฟักตัว ปกติ 12-24 ชั่วโมง หรือ อยู่ในช่วง 4-30 ชั่วโมง
อาการ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดปน ส่วนใหญ่มีอาการภายหลังรับประทานอาหารทะเล ที่ปรุงไม่สุกพอหรือ อาหารที่ปนเปื้อนอาหารทะเลหรือชะล้างด้วยน้ำทะเลที่ปนเปื้อนเชื้อ
วิธีติดต่อ โดยการรับประทานอาหารที่ถูกเก็บไว้ ณ อุณหภูมิห้องหลังจากปรุงแล้ว ซึ่งทำให้เชื้อโรคมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น การระบาดที่มีอาการอาเจียน ร่วมด้วย ส่วนมากพบเกี่ยวกับข้าว (เช่น ข้าวผัดในร้านแบบบริการตนเอง) ผักและอาหาร เนื้อที่เก็บรักษาไม่ถูกต้องหลังจากปรุงแล้วก็เป็นสาเหตุได้
การรักษา รักษาตามอาการ ทดแทนด้วยน้ำและเกลือแร่ ด้วยสารละลายเกลือแร่ และน้ำตาลทางปากสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยเกือบทุกราย การให้สารน้ำทางเส้นเลือดคงจำเป็นในผู้ป่วยที่มีการช็อค ในรายที่มีลำไส้เน่าต้องให้ยาปฏิชีวนะ นาน 14 วัน และพิจารณาผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้
การป้องกัน โรคอาหารเป็นพิษทุกสาเหตุ มาตรการป้องกันโดยใช้กฏหลัก 10 ประการในการเตรียมอาหารที่ปลอดภัย ดังนี้
1.เลือกอาหารที่ผ่านการเตรียมเป็นอย่างดี
2.ปรุงอาหารที่สุก
3.ควรกินอาหารที่สุกใหม่ๆ
4.ระมัดระวังอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่าให้มีการปนเปื้อน
5.อาหารที่ค้างมื้อต้องทำให้สุกใหม่ก่อนรับประทาน
6.แยกอาหารดิบและอาหารสุก ให้ระมัดระวังการปนเปื้อน
7.ล้างมือก่อนจับต้องอาหารเข้าสู่ปาก
8.ให้พิถีพิถันเรื่องความสะอาดของห้องครัว
9.เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์ อื่นๆ
10.ใช้น้ำสะอาด
พญ.ดวงพร โชคมงคลกิจ
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร