“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในกลุ่มสมาชิกสหประชาชาติ 193 ทั่วโลก (Post 2015 Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นข้อตกลงต่อเนื่องมาจากความสำเร็จ Millennium Development Goals (MDG) ในปี 2543 – 2558 ประกอบกับที่ประชุมสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกให้การยอมรับความสำเร็จการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย และเป็นต้นแบบการเรียนรู้ด้านหลักประกันสุขภาพของนานาชาติและคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของกรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านสุขภาพและปลอดภัยจากภัยคุกคามด้านสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เศรษฐกิจและสังคมไทยพัฒนาได้อย่างยั่งยืน (มติ ครม.เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559)
เพื่อการสื่อสารสร้างความเข้าใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของประชาชนคนไทยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหนังสือ “หลักประกันสุขภาพ 10 เรื่องควรรู้” เป็นการรวบรวมข้อมูลความรู้พื้นฐานด้านหลักประกันสุขภาพให้เป็นหนังสืออ่านเข้าใจง่าย ใช้ประกอบการเรียนรู้เรื่องหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่เครือข่ายภาคีต่างๆ และผู้สนใจ เป็นคู่มือและนำความรู้ไปถ่ายทอดสร้างความเข้าใจให้กับครอบครัว ชุมชนและสื่อสารสังคมให้ประชาชนคนไทยรับรู้ เข้าใจ เข้าถึงการใช้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ธันวาคม 2560
1. หลักการของประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ซึ่งการมีสุขภาพดีของบุคคล มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ทั้งการสร้างเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็น ต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างหลักประกัน สุขภาพ คือ การให้สิทธิประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นโดยไม่มีอุปสรรค ทางการเงิน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคงด้าน สุขภาพให้กับทุกคน ตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิตให้มีสุขภาพที่ดี เมื่อเจ็บป่วย ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ซึ่งส่งผลต่อการเสริมสร้าง ศักยภาพทุนมนุษย์ให้มีความพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
ปัจจุบันประเทศไทยมีประกันสุขภาพภาครัฐ 5 ประเภท ได้แก่ 1) สิทธิหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ 2) สิทธิประกันสังคม 3) สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาล ของข้าราชการ 4) สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น และ 5) สิทธิหน่วยงาน รัฐอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม
ประเทศไทยก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage, UHC) หลังจากรัฐบาลจัดให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้ประชาชนคนไทยมีสิทธิ เข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน ไม่ต้องล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาล
2. สิทธิหลักประกัน สุขภาพของคนไทย
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้คนไทยทุกคนมีสิทธิ ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี “กองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัด บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการ สาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ “สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” จึงเป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาล จัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิต (ไม่ใช่สิทธิเพื่อการสงเคราะห์ เฉพาะกลุ่ม) ) และมักเรียกว่า “สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิ 30 บาท” คุณสมบัติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3 ข้อ คือ
1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ (ที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ ของรัฐ) ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษา พยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ สิทธิสวัสดิการรักษา พยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง
(ตัวอย่าง) บุคคลที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น
- เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจากบิดา มารดา
- บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป หรือ สมรส) และไม่มี สิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ
- บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ เช่น สิทธิข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน
- ผู้ประกันตนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (หมดสิทธิประกันสังคม) • ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากราชการโดยมิได้รับบำนาญ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน กลุ่มคนเหล่านี้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียน เพื่อเลือกหน่วยบริการประจำ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศติดต่อกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป (ข้อมูล จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) หรือผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้งในต่างประเทศ (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง) จะสามารถใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อเมื่อเดินทางกลับมาอาศัยอยู่ ในประเทศไทยแล้ว โดยประชาชนติดต่อแก้ไขสถานะบุคคล ณ หน่วยบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้บ้าน
3. ตรวจสอบสิทธิและการลงทะเบียน
คนไทยทุกคนมีสิทธิประกันสุขภาพภาครัฐตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกใน การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง จึงควรตรวจสอบสิทธิของ ตนเองและบุคคลในครอบครัว ซึ่งสปสช.ได้พัฒนาระบบทะเบียนสามารถตรวจสอบ สิทธิได้ 3 วิธี ดังนี้
1. ติดต่อด้วยตนเอง ในวันเวลาราชการ
• ต่างจังหวัด - หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) หรือที่คุ้นเคยในชื่อสถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 - 12
• กรุงเทพมหานคร - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. - จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่ กทม. ได้แก่ o สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพมหานคร (ข้อมูลเพิ่มเติม หน้า 19) o สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
2. ทางโทรศัพท์ สายด่วน สปสช. โทร. 1330 • ตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัว ประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก หมายเหตุ : ค่าบริการโทรศัพท์มือถือตามโปรโมชั่น สำหรับโทรศัพท์ พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้านหรือตู้โทรศัพท์สาธารณะ) ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ
3. ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ได้แก่
www.nhso.go.th
app สปสช
ข้อมูลสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในระบบตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ จะปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน ทุกวันที่ 15 และวันที่ 28 ของทุกเดือน
การลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ
เพื่อให้ประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีหน่วยบริการประจำ* (ข้อมูลเพิ่มเติมหน้า 21) สปสช.จัดระบบลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติของประชาชน ดังนี้
1) การลงทะเบียนรายบุคคล
แยกเป็น 2 กรณี
1.1กรณียื่นแบบคำร้องด้วยตนเอง ของผู้มีสิทธิที่ยังไม่ได้รับการ ลงทะเบียน (สิทธิว่าง) และผู้มีสิทธิขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ
1.2กรณีหน่วยบริการลงทะเบียนให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งแรก หากผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังไม่ได้รับการ ลงทะเบียน (สิทธิว่าง) เข้ารับบริการรักษาพยาบาลครั้งแรกที่หน่วย บริการใดในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้หน่วยบริการที่ ให้การรักษาพยาบาลจัดให้ผู้มีสิทธิลงทะเบียนและเลือกหน่วยบริการ ประจำ โดยบันทึกข้อมูลตามโปรแกรมการลงทะเบียนออนไลน์ และแจ้ง สปสช.ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ให้บริการ
2)การลงทะเบียนในกลุ่มเฉพาะ เช่น
- กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ศึกษาหรือพักในหอพักของสถานศึกษา ที่เห็นชอบ และสมัครใจลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตาม ข้อบังคับ สปสช.
- กลุ่มทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ดำเนินการโดยกรมการแพทย์ ทหาร กระทรวงกลาโหม
3)การลงทะเบียนแทนผู้มีสิทธิ ตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ได้แก่
- กรณี เด็กแรกเกิด 0-5 ปี
- กรณี บุคคลสิ้นสุดสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ /รัฐวิสาหกิจ หรือสิ้นสุดสิทธิประกันสังคม หรือสิ้นสุดสิทธิประกันสุขภาพอื่นที่รัฐ จัดให้
- กรณี หน่วยบริการประจำที่บุคคลได้ลงทะเบียนไว้แล้วถอนตัว หรือ พ้นจากการเป็นหน่วยบริการประจำ
- กรณี เปลี่ยนหน่วยบริการประจำสำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนหน่วยบริการประจำกลับไปยังภูมิลำเนา/ผู้พำนัก ในราชทัณฑ์ที่พ้นโทษ (ผู้พ้นโทษต้องขังในเรือนจำ) / ทหารเกณฑ์ที่ปลด ประจำการ
หมายเหตุ : บุคคลที่ได้รับการลงทะเบียนแทน สามารถยื่นคำร้องพร้อม เอกสารลงทะเบียน ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ที่ สถานที่รับลงทะเบียน
4) การลงทะเบียนสิทธิคนพิการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คนพิการผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิ คนพิการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องนำใบรับรองความ พิการจากแพทย์ หรือแสดงบัตรคนพิการตาม พ.ร.บ ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550 ลงทะเบียน ณ สถานที่รับ ลงทะเบียน เพื่อรับสิทธิฟื้นฟูสมรรถภาพ
เอกสารลงทะเบียน
1) บัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าไม่มีบัตรประจำ ตัวประชาชน ให้ใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
2) หนังสือรับรองการพักอาศัย (กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัว ประชาชน) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหลักฐาน อื่นที่แสดงว่าตนเองนั้นอาศัยอยู่จริง เช่น ใบเสร็จ ค่าน้ำ ค่าไฟ สัญญาเช่า ที่พัก ฯลฯ
3)แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน)
กรณีมอบให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทน ต้องเพิ่มหนังสือมอบอำนาจ และสำเนา บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจด้วย
สถานที่ลงทะเบียน
• ต่างจังหวัด ติดต่อในวันเวลาราชการ ได้ที่
- หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือที่คุ้นเคยในชื่อ สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 - 12
• กรุงเทพมหานคร
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. ในวันเวลาราชการ
- สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในวันเวลา ราชการ (เวลา 8.00 น. - 16.00 น.)
- จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 น. - 19.00 น.
4. หน่วยบริการและการใช้สิทธ
หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หมายถึง สถานบริการ* ที่ขึ้นทะเบียน เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือที่คุ้นเคยในชื่อสถานีอนามัย คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง เป็นต้น
สถานบริการ* หมายถึง สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทย หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่น ที่คณะกรรมการกำหนดเพิ่มเติม
“เครือข่ายหน่วยบริการ” หมายถึง หน่วยบริการที่รวมตัวกันและขึ้นทะเบียน เป็นเครือข่ายหน่วยบริการ
หน่วยบริการประจำ หมายถึง หน่วยบริการหรือกลุ่มหน่วยบริการที่ขึ้น ทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำ โดยได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เพื่อบริการสาธารณสุขในลักษณะเหมาจ่ายรายหัว และค่าใช้จ่าย อื่นตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด โดยหน่วยบริการมี คุณลักษณะ ดังนี้
1. ให้บริการด้านเวชกรรมด้วยตนเอง
2. จัดบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต อย่างเป็นองค์รวม ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจ วินิจฉัยโรคการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
3. เป็นหน่วยต้นสังกัดของหน่วยบริการปฐมภูมิ และอาจมีหน่วยบริการ ปฐมภูมิมากกว่า 1 แห่งเป็นเครือข่าย
4. มีเครือข่ายหน่วยบริการเพื่อการส่งต่อผู้รับบริการไปรับบริการสาธารณสุข ในกรณีที่เกินขีดความสามารถ
5. ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเลือกลงทะเบียนใน หน่วยบริการประจำ เพื่อเป็นหน่วยบริการประจำตัวของตนเองที่ จะเข้ารับบริการสาธารณสุข โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ ตามสิทธิที่กำหนด
หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายถึง หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ ปฐมภูมิในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำ และรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำ หรือค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้
1) จัดบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิได้อย่างเป็นองค์รวม ทั้งการสร้าง เสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
2) ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ สามารถใช้บริการสาธารณสุขในหน่วยบริการ ปฐมภูมิที่เป็นเครือข่ายของหน่วยบริการประจำที่เลือก (ต้นสังกัดของ หน่วยบริการปฐมภูมิ) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิที่กำหนด
หน่วยบริการรับส่งต่อ หมายถึง หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ รับการส่งต่อทั่วไปหรือหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้าน ซึ่งสามารถจัดบริการ สาธารณสุขระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ หรือเฉพาะทาง โดยผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ สามารถใช้บริการสาธารณสุข ณ หน่วยบริการรับส่งต่อได้ เมื่อได้รับการ ส่งต่อหรือได้รับความเห็นชอบจากหน่วยบริการประจำ หรือตามที่ สปสช.กำหนด ทั้งนี้ หน่วยบริการที่รับส่งต่อมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากหน่วย บริการประจำหรือจากกองทุน ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนด
หน่วยบริการร่วมให้บริการ หมายถึง สถานบริการที่จัดบริการสาธารณสุข ระดับปฐมภูมิเฉพาะด้านตามเกณฑ์ที่สปสช.กำหนด และได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วย บริการร่วมให้บริการ โดยมีข้อตกลงเป็นหนังสือกับหน่วยบริการประจำหรือ สำนักงาน ในการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิ ทั้งนี้ หน่วยบริการร่วมให้บริการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำหรือจาก กองทุน ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข
ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเข้ารับบริการสาธารณสุข ดังนี้
กรณีทั่วไป
1. ติดต่อรับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำตามสิทธิ ของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. แจ้งความจำนงใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อนรับบริการ
3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายและ เลขประจำตัวประชาชน ที่ทางราชการออกให้ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแสดงสำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
สำหรับผู้ลงทะเบียนสิทธิคนพิการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีที่จำเป็น สามารถรับบริการสาธารณสุขได้ที่หน่วยบริการของรัฐ ที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ทุกแห่ง
กรณีอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วยฉุกเฉิน
ถ้าผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกิดอุบัติเหตุหรือภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน อยู่ไกลจากหน่วยบริการประจำตามสิทธิ สามารถใช้สิทธิเข้ารับบริการได้ที่หน่วย บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้ตามความจำเป็น โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต
ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อการ รอดชีวิต สามารถเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยใช้ บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงตนในการเข้ารับบริการ จะได้รับการรักษา จนอาการพ้นวิกฤติ จากนั้น โรงพยาบาลที่ให้การรักษาจะส่งตัวผู้ป่วยกลับไป ยังหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่พร้อมให้การรักษาต่อไป
ผู้้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต หมายถึง ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งมี อาการบ่งชี้ว่า จะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง การหายใจ ต้องได้รับการรักษาและดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้ เสียชีวิตได้รวดเร็ว ยกตัวอย่าง เช่น หัวใจหยุดเต้น / หอบรุนแรง / มีอาการเขียว คล้ำ / หมดสติไม่รู้สึกตัว / สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลม / มีอาการวิกฤติจาก อุบัติเหตุ / มีเลือดออกมากห้ามไม่หยุด / ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง / แขน ขา อ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก / ชัก / มีอาการวิกฤติจากไข้สูง เป็นต้น
เจ็บป่วยฉุกเฉิน ติดต่อได้ที่ โทร 1669
5. บริการที่คุ้มครองค่าใช้จ่าย*
ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่าย* บริการ สาธารณสุข ดังนี้
- การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค
- การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด จนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง โรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ เอดส์ วัณโรค ฯลฯ รวมถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การคลอดบุตร ใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- บริการทันตกรรม ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์เสริม ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุม ร่องฟัน ผ่าฟันคุด ใส่เพดานเทียมเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ และการทำฟัน ปลอมฐานพลาสติก
- ค่ายาและเวชภัณฑ์ ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ และยาที่มีค่าใช้ จ่ายสูง ตามประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ
- การจัดการส่งต่อ เพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ
- บริการแพทย์แผนไทย ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้แก่ ยาสมุนไพรหรือ ยาแผนไทย การนวดเพื่อการรักษา การอบหรือประคบสมุนไพรเพื่อ การรักษา การฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด
- บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ให้แก่คนพิการ ผู้สูงอายุและผู้ที่ จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด กิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์ เครื่องช่วยตามประเภทความพิการได้ตามเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด
ทั้งนี้ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้ผู้ใช้สิทธิหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ
จ่ายค่าบริการเมื่อรับบริการรักษาพยาบาลและได้รับยา ครั้งละ 30 บาท ให้แก่โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่ ระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป (สถานพยาบาลที่มีเตียงนอนตั้งแต่ 10 เตียงขึ้นไป) โดยยกเว้นบุคคล 21 กลุ่มตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และผู้ที่มีความ ประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ 30 บาท
สามารถแจ้งความจำนงไม่จ่ายค่าบริการได้ที่ หน่วยบริการ
* คุ้มครองค่าใช้จ่ายตามการวินิจฉัยทางการแพทย์และประกาศของคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
บริการที่ไม่อยู่ในความคุ้มครอง
- การรักษาภาวะมีบุตรยาก / การผสมเทียม
- การแปลงเพศ / การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์
- การตรวจวินิจฉัยและรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง วิจัย
- การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถ ซึ่งอยู่ในความคุ้มครองตาม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เฉพาะส่วนที่บริษัท หรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย
- การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมาย ว่าด้วยสารเสพติด ยกเว้น บางกรณีตามประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภท ผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้น กรณีมีความจำเป็นต้องรักษา ต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ Transplantation) ยกเว้น บางกรณี ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การปลูก ถ่ายตับในเด็ก (อายุไม่เกิน 18 ปี) ที่เป็นโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่ กำเนิด เป็นต้น
6. การรักษาพยาบาลโรคเรื้อรัง และบริการกรณีเฉพาะ
7. บริการสร้างเสริมสุขภาพ และบริการป้องกันโรค
8. สิทธิการรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายจาก การรักษาพยาบาล
9. กองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น/พื้นท
10. ช่องทางบริการข้อมูล หลักประกันสุขภาพแห่งชาต