เป็นโรคอันตรายที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขในพื้นที่ประเทศเขต ร้อนชื้น โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เพื่อให้เกิดความ“ตระหนัก” ถึงความสำคัญของโรค การให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกและผู้ดูแลรู้จักวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้นที่บ้าน รู้สัญญาณอันตราย ซึ่งต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ ตลอดจนรู้แนวทาง และช่วยเหลือกันในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค
ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา รายงานถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2559 ณ วันที่20 ธันวาคม 2559 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever: DF, Dengue haemorrhagic fever: DHF, Dengue shock syndrome: DSS) สะสมรวม 60,964 ราย อัตราป่วย 93.18 : แสนคน จำนวนผู้ป่วยลดร้อยละ 57.36 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2558 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 60 ราย อัตราป่วยตาย เท่ากับ ร้อยละ 0.10 จะเห็นได้ว่าคนมีการระวังและป้องกันอันตรายจากยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกกันมากขึ้น แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด เพราะไข้เลือดออกไม่มีทางรักษา และทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่รู้จักวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสเดงกี่ โดยมี 4 ชนิดคือ เดงกี่-1, เดงกี่-2, เดงกี่-3 และเดงกี่-4 ทําให้คนเรามีโอกาสที่จะป่วยจากโรคไข้เลือดออกได้หลายครั้ง มีพาหะนำโรคที่สำคัญคือ ยุงลาย เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ กัด จะส่งเชื้อให้คน ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา ยุงลายมักออกหากินตอนกลางวัน และวางไข่ในน้ำสะอาดที่ขังนิ่ง
อาการ
แบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะพักฟื้น อาการที่สำคัญในระยะไข้ คือ อาการไข้สูงลอยประมาณ 39-40°C นาน 2-7 วัน มักมีหน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูกคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง และอาจมีภาวะเลือดออกร่วมด้วย โดยอาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่ จะไม่ปรากฏพร้อมๆกัน จึงต้องเฝ้าติดตามเป็นระยะๆ ระยะวิกฤต เมื่อผู้ป่วย มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีอาการเพลีย ซึม ไม่ดื่มนํ้า ไม่รับประทานอาหาร ไม่มีกิจกรรมตามปกติ เมื่อไข้ลง (บางรายจะกระหายนํ้ามาก) อาเจียน ปวดท้องมาก เลือดออกผิดปกติ มีอาการช็อก(IMPENDING SHOCK) คือมือเท้าเย็นกระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย สีผิวคลํ้าลง ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะ 4-6 ชม. ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ เอะอะโวยวายเป็นระยะอันตรายของโรค เข้าสู่ระยะช็อกแม้อยู่ในภาวะช็อก ผู้ป่วยจะมีสติดี พูดจารู้เรื่อง ต้องรีบนําส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที และกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มนํ้าเกลือแร่หรือนํ้าผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย โดยให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่นํ้าเปล่าอย่างเดียว ภาวะช็อกส่วนใหญ่เกิดจากมีการรั่วของพลาสม่าออกนอกหลอดเลือด ทําให้ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น และบางรายอาจถึงขั้นมีความดันโลหิตตํ่าหรือที่เรียกว่าช็อกตามมา นอกจากนั้นภาวะช็อกอาจเกิดจากการที่เลือดออกในอวัยวะสําคัญได้แก่ เลือดออกในกระเพาะอาหาร ประจําเดือนมามากกว่าปกติ และเลือดออกจากแผลผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด
ภาวะช็อก
อาจทําให้เกิดภาวะล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะไตและตับ ซึ่งส่งผลรุนแรงถึงขั้นทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ระยะพักฟื้นกรณีผู้ป่วยรับการรักษาแล้วแพทย์ให้กลับบ้านได้ ควรดูแลและปฏิบัติตนต่อไปคือไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทําให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้ หากมีคนในบ้านมีไข้สูง ให้พามาตรวจควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ระมัดระวังภาวะเลือดออกต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการแคะจมูก การแปรงฟัน การออกกําลังกายหรือเล่นกีฬาที่มีความรุนแรงหากมีอาการผิดปกติควรรีบพามาพบแพทย์ทันทีให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน หรือ ยากลุ่ม NSAID เช่นไอบูโปรเฟน เนื่องจากทําให้เกิดเลือดออกทางเดินอาหารมากขึ้น หรือมีผลต่อตับได้กําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งที่บ้าน ที่ทํางาน และที่โรงเรียน
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไข้เลือดออก มีเพียงรักษาตามอาการเท่านั้น ดังนั้นการป้องกัน กําจัดลูกนํ้า ภาชนะใส่นํ้าภายในบ้านควรปิดฝาให้มิดชิด และอีกวิธีหนึ่งคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งในตอนนี้วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตัวแรกของโลก ได้เข้าสู่ประเทศไทยแล้วซึ่งวัคซีนนี้สามารถใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีถึง 45 ปี และพบว่านอกจะสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้แล้วยังสามารถลดการเกิดไข้เลือดออกชนิดรุนแรงได้ถึง 93.2% และสามารถลดการนอนโรงพยาบาลโรคไข้เลือดออกได้ 80.8%