ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เปิดบ้าน คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก บำรุงราษฎร์ ความสุขของครอบครัวคือความสำเร็จ

เปิดบ้าน คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก บำรุงราษฎร์ ความสุขของครอบครัวคือความสำเร็จ Thumb HealthServ.net
เปิดบ้าน คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก บำรุงราษฎร์ ความสุขของครอบครัวคือความสำเร็จ ThumbMobile HealthServ.net

ภาวะมีบุตรยาก เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคู่ชายหญิงหลายคู่ ที่ไม่สามารถมีบุตรได้ตามธรรมชาติ และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งปัญหานี้ส่งผลต่อโครงสร้างประชากรในขณะเดียวกันกับที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ดังนั้นการแพทย์การเจริญพันธุ์ จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ และบำรุงราษฎร์ ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมแก้ปัญหาให้กับคู่สมรสจำนวนมาก ด้วยเทคโนโลยีการรักษาผู้มีบุตรยาก ที่เปิดให้บริการมานานกว่า 20 ปี ด้วยอัตราความสำเร็จที่สูงถึง 90% ย่อมยืนยันถึงคุณภาพได้อย่างชัดเจน

เปิดบ้าน คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก บำรุงราษฎร์ ความสุขของครอบครัวคือความสำเร็จ HealthServ
 
จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รายงานว่าปี 2565 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ 502,107 ราย ลดลง 7.79% เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีเด็กเกิดใหม่ 544,570 ราย ซึ่งก็ลดลง 7.28% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีเด็กเกิดใหม่ 587,368 ราย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีสถิติเด็กเกิดใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง




 

วัยที่มากขึ้นส่งผลต่อการตั้งครรภ์

เภสัชกรหญิง อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ภาพรวมว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเรื่องของโครงสร้างประชากร จากอัตราเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จัดว่าเป็นวาระแห่งชาติ สาเหตุอาจจะเกิดจากกลุ่มประชากรที่มีความพร้อม เช่น กลุ่มหนุ่มสาว ที่แต่งงานช้าลง แต่เมื่อมีความต้องการจะมีบุตร ความพร้อมอาจลดลง ยิ่งโดยเฉพาะกับสตรีแล้ว เมื่อวัยที่มากขึ้น สิ่งที่อาจคิดไม่ถึงคือ เซลส์ของไข่ย่อมเสื่อมสภาพลง และส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น เกิดภาวะครรภ์เสี่ยง เป็นต้น บำรุงราษฎร์ โดยศูนย์การเจริญพันธุ์และคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก (Fertility Center and IVF Clinic) เข้าใจปัญหาลักษณะนี้เป็นอย่างดี ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ผสานกับเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ ที่ครบถ้วน ยืนยันด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ที่เป็นตัวเลขตัวชี้วัดความสำเร็จที่ระดับ 90% บำรุงราษฎร์และทีมแพทย์ มีความยินดีและพร้อมให้ข้อมูลการเตรียมตัวและการวางแผน เพื่อการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อการมีทายาทตัวน้อย มาเติมเต็มความสุขในครอบครัว ทำให้บ้านสมบูรณ์และอบอุ่นตลอดไป
 
 

Miracle of Life โดยคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (Fertility Center and IVF Clinic) มีความพร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมดูแลให้คำปรึกษา วางแผน การมีบุตรอย่างครบวงจร เพื่อให้ผู้รับบริการประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
 

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์
  • รศ. นพ. ชาติชัย ศรีสมบัติ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดด้วยกล้อง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • พญ. ณหทัย ภัคธินันท์ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • ผศ. พญ. ชนัญญา ตันติธรรม สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • ผศ. นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
และทีมงานเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค ผู้ช่วยแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์และด้านอื่นๆ ที่ร่วมอยู่ในทีม

ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร

รศ. นพ. ชาติชัย ศรีสมบัติ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดด้วยกล้อง คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก บำรุงราษฎร์ อธิบายนิยาม "ภาวะมีบุตรยาก" (Infertility) คือ การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และไม่มีการคุมกำเนิดติดต่อกันประมาณ 1 ปี แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์จะเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก หรือผู้หญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจมีบุตร จะเริ่มเข้าสู่ภาวะมีลูกยากเช่นกัน
 

มีลูกยากเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

ภาวะมีบุตรยากเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ตามปัจจัย เงื่อนไขและภาวะต่างๆ ที่แตกต่างกันไป
 
สำหรับฝ่ายหญิง ปัจจัยเรื่องอายุ มักจะเป็นปัจจัยอันดับแรกที่นึกถึงกับการมีลูกยาก แต่กระนั้น อายุไม่ใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียว ยังมีภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ ภาวะมดลูกที่มีความผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกมีเนื้องอกที่ผิดปกติ มีซีสที่รังไข่ มีช็อกโกแลตซีส หรือว่าเคยผ่าตัดที่รังไข่มาก่อน 
 
สาเหตุทางฝ่ายชาย อาจมีความซับซ้อนน้อยกว่าฝ่ายหญิง ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ "สเปิร์ม" ของฝ่ายชาย ซึ่งภาวะที่พบได้ เช่น ตัวอสุจิไม่สมบูรณ์ เคยผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ไส้เลื่อนที่อัณฑะ เคยมีการกระทบกระเทือนที่บริเวณอวัยวะเพศอย่างรุนแรง และมีประวัติการผ่าตัด ที่บริเวณที่อาจจะมีเรื่องของฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องการสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติดอื่นๆ
 
นอกจากนี้ อาจมีกรณีอื่นๆ เช่น การที่เคยได้รับยาเคมีบำบัด (ไม่ว่าจะเป็นทั้งฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย) ก็อาจจะมีผลทำให้ทั้งไข่และสเปิร์มมีคุณภาพลดลงได้ หรือ ถ้าหากเคยมีหรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะนี้อาจทำให้แพทย์นึกถึงท่อนำไข่ ที่อาจจะตีบหรือตันจนทำให้มีลูกยาก
  

ความพร้อมและวิธีการรักษาของคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประกอบด้วยทีมแพทย์และบุคลากรผู้ชำนาญการด้านการเจริญพันธุ์ของศูนย์กว่า 20 ท่าน ซึ่งสามารถดูแลอย่างครบวงจรได้ในที่เดียว พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องปัญหาการมีบุตรยากจากปัจจัยต่างๆ และร่วมวางแผนการมีบุตร เพราะเข้าใจดีว่าภาวะการมีบุตรยากเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล บำรุงราษฎร์จึงมุ่งเน้นในการให้คำแนะนำและการรักษาโดยพิจารณาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยการคำนึงถึงข้อจำกัดทางด้านสุขภาพ โรคประจำตัวหรือโรคทางพันธุกรรม รวมถึงให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากที่สุด นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์ยังใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยในการประเมินและการคัดเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

อัตราความสำเร็จที่ร้อยละ 90 บ่งบอกถึงศักยภาพและคุณภาพของบำรุงราษฎร์


 

การทำเด็กหลอดแก้ว IVF

พญ. ณหทัย ภัคธินันท์ สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก บำรุงราษฎร์ อธิบายถึงการทำเด็กหลอดแก้ว หรือการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือ IVF (In-vitro Fertilization)  เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป 
 
 
 
 

ขั้นตอนการทำ IVF

แพทย์จะเลือกเก็บไข่ที่สมบูรณ์จากรังไข่โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด โดยอาศัยเครื่องอัลตราซาวนด์ ซึ่งจำเป็นต้องให้ยาสลบเพื่อป้องกันความเจ็บปวด ใช้เวลาเก็บไข่ประมาณ 30 นาที หลังการเก็บไข่ ฝ่ายหญิงจะได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนชนิดสอดช่องคลอดหรือฉีดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก
 
ไข่และอสุจิจะถูกผสมกันในห้องปฏิบัติการเลี้ยงและควบคุมคุณภาพตัวอ่อน จากนั้นติดตามดูไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิใน 2 วันต่อมา
 
ในวันถัดมา ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะกลายเป็นตัวอ่อน พร้อมที่จะย้ายเข้าโพรงมดลูกซึ่งมักจะทำในวันที่ 3-5 หลังวันเก็บไข่ ซึ่งขั้นตอนของการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนมาโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ และใช้เวลาประมาณ 30 นาที
 
กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว จะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์จึงจะสมบูรณ์ โดยหลังการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกประมาณ 2 สัปดาห์ แพทย์จะนัดมาตรวจเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์
 
 
 

เทคโนโลยีปัจจุบัน ที่ช่วยให้การทำเด็กหลอดแก้วมีอัตราความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน Preimplantation Genetic Testing (PGT)
 
เป็นการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อน ร่วมกับการรักษาด้วยกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว (IVF) โดยการสุ่มดูดเซลล์ของตัวอ่อนที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนที่จะทำการย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ


 
บางคนอาจจะกังวลว่าการทำเด็กหลอดแก้ว อาจเป็นการเพิ่มโอกาสครรภ์เสี่ยงได้เมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ หรือไม่
 
ในกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วแล้วตั้งครรภ์แฝด หากทำที่คลินิกมักพบปัญหาเรื่องการฝากครรภ์ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลจะไม่รับเคสแฝดจากที่อื่น เนื่องจากมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อาจมีภาวะเบาหวาน ความดันได้ง่าย หรือโรคประจำตัวอื่น ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการมีครรภ์แฝด 
 
 
หากคุณแม่มีภาวะครรภ์เสี่ยงในช่วงทารกอยู่ในครรภ์ ทีมสูตินรีแพทย์จะเป็นทีมหลักที่ดูแล จนกระทั่งอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ทีมบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด NICU จะเข้าไปเป็นทีมเสริมเพื่อช่วยวางแผนและให้คำปรึกษา หลังทารกคลอด ทีม NICU จะมีหน้าที่หลักในการดูแล ซึ่งเรามีทีม NICU ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงมาก
 
 
การทำเด็กหลอดแก้วในแต่ละช่วงอายุ มีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์
 
คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีประสบการณ์ในการช่วยให้คู่สมรสประสบความสำเร็จในการมีบุตร โดยมีอัตราความสำเร็จของการทำ IVF ในปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 90% ในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี 

การตรวจยีนมีความสำคัญ

ทำไมถึงควรตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์
 
ผศ. นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชพันธุศาสตร์ กล่าวถึงความสำคัญของการตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันโรคร้ายบางชนิดที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่ลูกได้ โดยแพทย์ผู้ชำนาญด้านเวชศาสตร์พันธุศาสตร์จะทำการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจทำให้เด็กมีความผิดปกติ โดยสามารถตรวจได้มากกว่า 600 ยีนหรือประมาณ 300 กว่าโรค รวมถึงโรคที่พบได้บ่อยได้คนไทย เช่น โรคธาลัสซีเมีย รวมไปถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจากการตรวจที่นิยมเลือกตรวจเฉพาะเป็นโรคๆ 
 
ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย บำรุงราษฎร์จึงได้พิจารณาชุดตรวจยีนจากอัตราการเกิดโรคทางพันธุกรรมในเด็กที่ค่อนข้างสูง เช่น โรคจากยีนด้อยโครโมโซมเอกซ์ ดาวน์ซินโดรม หูหนวก โรคเลือด อาทิ โรคธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคและภาวะทางพันธุกรรมอื่นๆ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมที่สุด เช่น การตรวจ Cell-Free DNA ของทารกที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดแม่ เพื่อดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยี Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) โดยใช้วิธีเจาะเลือดแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อตรวจดูความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารก แทนการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้ง เป็นต้น
 
  

ใครบ้างที่ควรตรวจ

แนะนำให้คู่สมรสทั้งที่มีประวัติและไม่มีประวัติโรคกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดในครอบครัวตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ เพราะบางครั้งคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะหรือที่เราเรียกกันว่ายีนแฝงไม่รู้ตัว
คู่สมรสที่มีบุตรแล้วและคนที่มีประวัติครอบครัวมีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การตรวจยีน มีขั้นตอนอย่างไร
 
ตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างน้ำลาย ประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะทราบผล
 

การฝากไข่และการวางแผนมีบุตร

สำหรับคนที่วางแผนจะมีลูกในอนาคต แต่ปัจจุบันยังไม่แต่งงาน หรือยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ตอนนี้ เรามีวิธีอย่างไรในการให้ลูกที่จะเกิดมาแข็งแรง 
 
ผศ. พญ. ชนัญญา ตันติธรรม สูติแพทย์ ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ให้คำตอบว่า  การฝากไข่ให้ประโยชน์ในแง่ของการเก็บรักษาเซลล์ไข่เอาไว้ ในอุณหภูมิที่ต่ำเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต

เราสามารถเก็บไข่ได้นานขนาดไหน
 
ตามทฤษฎีก็จะเก็บไว้ได้ตลอดไป แต่แนะนำว่าควรจะกลับมาใช้ใน 10 ปี
  

การฝากไข่ครั้งนึงควรเก็บไข่ให้ได้กี่ใบ เพื่อที่จะได้มีโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์

แนะนำว่าควรเก็บไข่ให้ได้ 10-15 ใบ เพื่อที่จะได้มีโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์  1 ครั้ง หลังจากเราเก็บไข่แล้วเราละลายมันออกมาใช้ โอกาสที่ไข่จะอยู่รอดมีประมาณ 90% และเมื่อไปปฏิสนธิกับอสุจิโอกาสก็จะประมาณ 70-80% 
 
 
ข้อโดดเด่นของการฝากไข่ที่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
เนื่องด้วยกระบวนการฝากไข่และแช่แข็งไข่เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีความละเอียดอ่อนในทุกขั้นตอน โดยคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เรามีความพร้อมของทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงความพร้อมของทีมห้องผ่าตัด (OR) ในกรณีที่เกิด complication ซึ่งบำรุงราษฎร์คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient safety) เป็นสำคัญสูงสุด 

ผู้ที่ต้องการวางแผนการมีบุตร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อม โดยจำเป็นจะต้องตรวจสุขภาพ โดยแบ่งเป็น 
การตรวจสุขภาพคู่สมรสว่ามีร่างกายแข็งแรงหรือไม่ หากแข็งแรงดีจะแนะนำการมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติก่อน
 
การตรวจความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ เป็นการตรวจหาความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์และเสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ โดยแพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง เสริมสร้างและการบำรุงสุขภาพร่างกายเพื่อเพิ่มคุณภาพของเซลล์สืบพันธุ์ไข่และน้ำเชื้อ
 
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 02-0112364, 02-0112368 สายด่วน 090-9722609 หรือโทร. 1378  
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด