ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ Thumb HealthServ.net
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ThumbMobile HealthServ.net

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ เป็น“ศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค” แหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกัน มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) พื้นที่แห่งนวัตกรรม และคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 ของโลก ในปี 2580

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ HealthServ
โครงการศูนย์ธุรกิจ อีอีซี และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาคมาตรฐานเทียบเท่าสากลในพื้นที่อีอีซี  แหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกัน มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) พื้นที่แห่งนวัตกรรม และคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย และให้เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 เมืองของโลกในปี 2580 เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะต้นแบบสำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ทั่วประเทศไทย  
 
      เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ดำเนินการตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 มาตรา 36 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) 
 
      โครงการมีที่ตั้ง ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี พื้นที่โครงการ 14,619 ไร่ โดยจะพัฒนาระยะแรกประมาณ 5,000 ไร่ โครงการมีที่ตั้งห่างจากท่าอากาศยานอู่ตะเภา 15 กม. และห่างจากกรุงเทพฯ 160 กม. 
 
      มูลค่าการลงทุน: ประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท
  • สัดส่วนการลงทุน : ภาครัฐ ร้อยละ 2.8
  • ภาครัฐร่วมเอกชน (PPP) ร้อยละ 9.7 
  • ภาคเอกชน ร้อยละ 87.5
 
กลุ่มธุรกิจเป้าหมาย :
1) ศูนย์สํานักงานใหญ่ภูมิภาค และศูนย์ราชการ
2) ศูนย์กลางการเงิน
3) ศูนย์การแพทย์แม่นยํา
4) ศูนย์การศึกษา วิจัย-พัฒนา นานาชาติ
5) ศูนย์ธุรกิจอนาคต เช่น พลังงานสะอาด ดิจิทัล โลจิสติกส์ วิทย์กีฬา
 
รวมทั้งที่อยู่อาศัยชั้นดีสําหรับคนทุกกลุ่มรายได้
(สําหรับรายได้เริ่มต้น-ปานกลาง ร้อยละ 70 รายได้สูง ร้อยละ 30)

สัดส่วนการใช้ที่ดิน : พื้นที่เชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัย ร้อยละ 70 พื้นที่สีเขียว ร้อยละ 30
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ HealthServ

กำหนดกรอบระยะเวลาการพัฒนา 10 ปี ระหว่างปี 2565-2575 

 
ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570
2565-2567 จัดเตรียมพื้นที่โครงการฯ ออกแบบรายละเอียด และวางแผนการพัฒนา
2567 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 
2568 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ + ควบคู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับคนทุกกลุ่ม 
2569-2570 เปิดใช้ สนามบินอู่ตะเภา  และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
 
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2571-2572
ส่วนขยายคลัสเตอร์ธุรกิจ และที่อยู่อาศัย
 
ระยะที่ 3 พ.ศ. 2573-2575
ส่วนต่อขยายพื้นที่เชิงพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย
 
 

การร่วมลงทุน รัฐ-เอกชน พัฒนาด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค

 
ระบบไฟฟ้า และพลังงาน
  • ระบบพลังงานหมุนเวียน
  • สายส่งไฟฟ้า
  • ระบบพลังงานความเย็น
  • ศูนย์พลังงานกลาง
  • จุดชาร์จรถพลังงานไฟฟ้า
 
ระบบบริหารจัดการนํ้า
  • ระบบประปา และท่อนํ้า
  • ระบบระบายนํ้า
 
ระบบจัดการของเสีย
  • การบริหารจัดการและบําบัดนํ้าเสีย
  • การนํานํ้ากลับมาใช้ใหม่
  • การจัดการขยะมูลฝอยและนํากลับมาใช้ใหม่
  • การแปลงขยะเป็นพลังงาน
 
ระบบคมนาคมขนส่ง
  • ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น ระบบราง ระบบรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
 
ระบบดิจิทัล
  • โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
  • เครือข่าย 5G
  • แพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะ
  • นวัตกรรมบริการอัจฉริยะอื่นๆ
 
ระบบอุโมงค์สาธารณูปโภค
  • ระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน
 
 

โซนตามธุรกิจเป้าหมายเป็น 5 โซน + โซนที่อยู่อาศัย


ตามแผนแม่บทพัฒนาโครงการ จะแบ่งโซนตามธุรกิจเป้าหมายเป็น 5 โซน ประกอบด้วย 
1) ศูนย์กลางการเงิน ประกอบด้วยธุรกิจการเงินและตลาดทุน สนับสนุนการลงทุน Fintech และ Green Bond  
2) สำนักงานภูมิภาค RHQ/ศูนย์ราชการ เช่น สำนักงานภูมิภาคของธุรกิจไทย ที่มีธุรกิจในอีอีซีและสถานที่ราชการที่สำคัญ 
3) การแพทย์แม่นยำ/การแพทย์เพื่อนาคต เพื่อเป็นที่ตั้งของธุรกิจที่เป็นการร่วมทุนกับโรงพยาบาลชั้นนำของโลก ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย 
4) การศึกษา วิจัย และพัฒนาเป็นพื้นที่สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสนับสนุนธุรกิจเฉพาะด้านการวิจัยพัฒนาเพื่อธุรกิจเฉพาะด้าน 
5) ธุรกิจเฉพาะด้าน เช่น พลังงานสะอาด ธุรกิจ Digitizationและ5G กลุ่มโลจิสติกส์และวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น

ที่อยู่อาศัยชั้นดีสําหรับคนทุกกลุ่มรายได้
  • สําหรับกลุ่มรายได้เริ่มต้น-ปานกลาง ร้อยละ 70
  • สําหรับกลุ่มรายได้สูง ร้อยละ30
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ HealthServ
 

องค์ประกอบการเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 7 ด้าน 
 

เป็นการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ
 
1.สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ
 
2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) จะเป็นเมืองที่มุ่งเน้นความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง เน้นใช้งานยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ รถรางไฟฟ้าสาธารณะ
 
3.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม
 
4.พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) จะมุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต
 
5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาด เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
 
 
6.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ ประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาปรับเปลี่ยนธุรกิจ
 
7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน
 
 
 

เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa)

 
เมืองใหม่อีกแห่งใน EEC คือ เมืองการบินภาคตะวันออก อยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 6,500 ไร่ ใน ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยเมืองการบินภาคตะวันออก มี 6 กิจกรรมสำคัญคือ
 
1. การสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ของสนามบินอู่ตะเภา
2.ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน
3. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน
4. เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
5.ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์
6. ศูนย์ฝึกอบรมการบิน
 
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มีงบลงทุนรวม 2.9 แสนล้านบาท รัฐบาลให้งบสนับสนุน 17,768 ล้านบาท ที่เหลืออีก 272,232 ล้านบาท ทางภาคเอกชนคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุน มีอายุสัมปทาน 50 ปี เริ่มตั้งแต่ มิ.ย.2563
 

เมืองการบินภาคตะวันออก ประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

 
เมื่อ 6 กิจกรรมสำคัญของเมืองการบินภาคตะวันออกแล้วเสร็จ จะเป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3 เชื่อมต่อสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี รวมทั้งจะทำให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมระบบการจัดส่งสินค้า และอุตสาหกรรมการบิน (Logistics & Aviation) ที่สำคัญยังจะเป็นมหานครการบินภาคตะวันออก ที่ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมืองประมาณ 30 กิโลเมตรโดยรอบสนามบิน (พัทยาถึงระยอง) ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศ และเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออก ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้สะดวกทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย
 
ครม.อนุมัติสิทธิประโยชน์เมืองการบินภาคตะวันออก ผลักดันเป็นเขตการค้าเสรี
 
ครม. มีมติเมื่อ 9 สิงหาคม 2565 เห็นชอบมาตรการสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เมืองการบินภาคตะวันออก และกำหนดให้พื้นที่เมืองการบินภาคตะวันออก (Airport City) 1,032 ไร่ (ภายในพื้นที่6,500ไร่) เป็นเขตประกอบการค้าเสรี เสมือนพื้นที่นอกประเทศ ซึ่งไม่ถูกจำกัดด้วยกฎหมายหลายประการ พร้อมจัดให้มีกิจกรรมและสันทนาการรองรับการใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมงได้ เช่น โรงแรมระดับ 5 ดาวขึ้นไป ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ร้านอาหารระดับ Michelin Star งานแสดงสินค้าพื้นที่จัดการประชุม บริการความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ
 
ส่วนมาตรการสิทธิประโยชน์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ
 
- กลุ่มผู้ประกอบกิจการในพื้นที่เมืองการบิน มีรูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ เช่น ดำเนินกิจกรรมสันทนาการตลอด 24 ชั่วโมง จำหน่ายแอลกอฮอล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดไม่เกิน 15 ปี
 
- กลุ่มคนทำงาน รูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ เช่น การผ่อนปรนข้อจำกัดด้านกฎหมายแรงงาน ให้คนต่างด้าวสามารถทำงานบางประเภทได้
 
- กลุ่มคนเดินทางและนักท่องเที่ยว รูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ เช่น การยกเว้นภาษีอากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคในพื้นที่เมืองการบินในช่วง 10 ปีแรก
 
 


ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาโครงการ

 
     สกพอ. ประเมินว่าโครงการนี้จะสร้างงาน 200,000 ตำแหน่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,340,468 ล้านบาท  โดยเป็นสัดส่วนการลงทุนของรัฐ 2.8% หรือ 37,674 ล้านบาท เป็นส่วนของค่าที่ดิน ปรับพื้นที่เมืองโครงสร้างพื้นฐานในเมือง นอกเมือง ส่วนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) 9.7% หรือประมาณ 131,119 ล้านบาท เป็นค่าสาธารณูปโภคในระบบขนส่งธารณะ ระบบดิจิทัล และเอกชนลงทุน 87.5% หรือประมาณ 1,180,808 ล้านบาท สำหรับพื้นที่พาณิชย์  


 

ความคืบหน้าจากครม.

 
22 มี.ค. 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จำนวน 14,619 ไร่  ในท้องที่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ


20 ธันวาคม 2565  ครม.รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ กรอบวงเงินลงทุน 1.35 ล้านล้านบาท

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด