สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านราชาวดี (หญิง) จังหวัดนนทบุรี ให้การบริการด้านต่างๆ แก่ผู้รับบริการจำนวน 8 ด้านดังต่อไปนี้
1. บริการด้านการเลี้ยงดู
จัดให้มีที่พักอาศัยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น ทางลาด ราวเกาะ ซึ่งมีความเหมาะสมต่อสภาพความพิการ
จัดให้มีเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
จัดบริการอาหาร 3 มื้อ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
จัดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนเครื่องนอน สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
ดูแลสุขอนามัยโดยทั่วไปรวมถึงกิจวัตรประจำวัน และให้ความช่วยเหลือกรณีที่เด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
2.การบริการทางแพทย์และพยาบาล
ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่เด็กที่มีอาการเจ็บป่วย
จัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง
ตรวจวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทาง
ดูแลรักษาพยาบาลเด็กที่เจ็บป่วยตามคำสั่งแพทย์อย่างใกล้ชิด
บริการทางการแพทย์เฉพาะทางที่จำเป็นต่อเด็ก เช่น ตรวจรักษาสุขภาพช่องปาก, ตรวจวัดสายตา, ตรวจวัดระดับการได้ยิน ฯลฯ
ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย ตลอดจนให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยง และเด็กในความอุปการะในการป้องกันโรคต่างๆ และปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ
3. การบริการด้านสังคมสงเคราะห์
ให้คำแนะนำปรึกษาตลอดจนให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสมแก่ผู้ขอรับบริการเกี่ยวกับปัญหาด้านเด็กพิการทางสมองและปัญญา
จัดทำทะเบียนประวัติ ตลอดจนเอกสารสำคัญของเด็กในความอุปการะ ได้แก่ สมุดทะเบียนคนพิการ, บัตรประจำตัวประชาชน, ขอร่วมใช้นามสกุล, ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน, เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เป็นต้น
ให้การดูแลด้านสวัสดิการสังคม ปกป้องพิทักษ์สิทธิต่างๆ
ให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหา และหาวิธีการปรับพฤติกรรมของเด็กให้เป็นตามแนวทางที่เหมาะสมด้วยวิธีการทางสังคมสงเคราะห์
คัดเลือกเด็กที่มีความพร้อมและความเหมาะสม ในการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์
สร้างความเข้าใจ ประสานงาน ติดตามครอบครัวของเด็กที่ได้รับการฟื้นฟูพัฒนาในระดับหนึ่ง เพื่อทดลองอยู่ร่วมกับครอบครัว ก่อนส่งกลับคืนสู่ครอบครัวโดยถาวรต่อไป
4. โครงการส่งเด็กทดลองงานภายนอก
โครงการส่งเด็กทดลองงานภายนอก ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยมีการประสานงานกับครอบครัวอุปถัมภ์ สร้างความเข้าใจถึงลักษณะพิเศษของเด็กในสถานคุ้มครอง มีขั้นตอนการประเมินความเหมาะสมของครอบครัว การเยี่ยมบ้าน การติดตามประเมินผล ด้วยวิธีการทางสังคมสงเคราะห์
5. บริการฟื้นฟูสมรรภาพทางร่างกาย
ตรวจประเมินสภาพความพิการเพื่อวางแผนการรักษาทางกายภาพบำบัด
ให้การรักษาฟื้นฟูสภาพความพิการของเด็กที่ปรากฏ ด้วยอุปกรณ์และวิธีการทางกายภาพบำบัด
ป้องกันมิให้เกิดความพิการกับเด็กเพิ่มขึ้น ด้วยกิจกรรมหรือแผนการรักษาทางกายภาพบำบัดทั้งในรูปแบบกลุ่ม และเฉพาะราย
ฝึกให้เด็กเกิดทักษะความชำนาญต่อการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กกลุ่มที่มีความพิการทางกาย
จัดหากายอุปกรณ์ เครื่องช่วยเหลือ อุปกรณ์เสริมต่างๆ ให้เหมาะสมตามสภาพความพิการ
6.ประเภทการรักษาทางกายภาพบำบัด
นั่ง conner sect, ดัดยืดกล้ามเนื้อ, ลดเกร็ง, ฝึกชันคอ, ฝึกคลาน, ฝึกลุกนั่ง, ฝึกนั่งทรงตัว, ฝึกยืนเข่า, ฝึกยืน, ฝึกก้าวขา, ฝึกเดิน-ขึ้นลงบันได, ฝึกเดิน, ฝึกกิจกรรมบำบัด, ฝึกรับประทานอาหาร, กิจกรรมนันทนาการ, อุลตาซาวด์, ประคบแผ่นร้อน, ธาราบำบัด, กิจกรรมนอกสถานที่ , อาชาบำบัด, Suspension, บ็อคเซีย (Boccia)
7. บริการด้านฝึกอาชีพ
คัดเลือกและประเมินศักยภาพของเด็กที่มีความสามารถ ความถนัด หรือมีความสนใจในการประกอบอาชีพเข้ารับการฝึกทักษะทางอาชีพ
บริการจัดฝึกทักษะทางวิชาชีพด้านต่างๆ ได้แก่ งานโภชนาการ, งานซักรีด, งานดอกไม้ประดิษฐ์, งานทอเสื่อ, งานสานตะกร้าจากสมุดโทรศัพท์ และงานฝีมือต่างๆ
จัดหาอาชีพที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคล โดยจัดให้มีการทดลองฝึกอาชีพ ทำงานกับนายจ้าง หรือครอบครัวอุปถัมภ์ พร้อมประเมินความสามารถในการปรับตัวอยู่ร่วมกับครอบครัวนายจ้าง
8. ประเภทการฝึกวิชาชีพ
งานดอกไม้จันทน์, งานโภชนาการ, งานพรมเช็ดเท้า, งานทอเสื่อ, งานเทียน, งานรีดผ้า, งานสานตะกร้า, งานการบูร, งานกระดาษทิชชู
การส่งเสริมทางพัฒนาการด้านต่างๆ
คัดเลือกเด็กตามกลุ่มความพิการ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ
จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มความพิการ เพื่อกระตุ้นฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัย ฝึกทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย การสวมใส่เสื้อผ้า ตลอดจนสอนให้รู้จักมารยาททางสังคมเบื้องต้น
ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมสังคมภายนอก และได้สัมผัสประสบการณ์จริง โดยการจัดกิจกรรมค่ายพักแรม ทัศนศึกษา และการนำเด็กเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆจัดขึ้น เช่น งานวันคนพิการแห่งชาติ งานวันเด็กแห่งชาติ
จัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ให้กับเด็กเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด และจัดกิจกรรมตามเทศกาลวันสำคัญต่างๆ วันสำคัญทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงาม และให้เด็กได้เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทย
ทักษะกลไกกล้ามเนื้อมัดใหญ่, ทักษะกลไกกล้ามเนื้อมัดเล็ก, ทักษะทางกิจวัตรประจำวัน, ทักษะทางสังคม, ทักษะทางภาษา-การพูด, ทักษะการใช้สติปัญญา, ทักษะทางอารมณ์, ชั้นเรียนพิเศษเสริมทักษะ, เตรียมความพร้อมทางการศึกษา, ดนตรีบำบัด
การส่งเสริมการศึกษา
คัดเลือกเด็กตามความเหมาะสม เพื่อเข้ารับการประเมินระดับสติปัญญาและความสามารถทางการศึกษา
บริการด้านการศึกษาพิเศษให้แก่เด็กในความอุปการะ ทั้งในระบบการศึกษานอกโรงเรียน และในระบบโรงเรียนศึกษาพิเศษของกระทรวงศึกษาธิการ
จัดเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ ปูพื้นฐานทางการศึกษาให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละราย
ประสานกับสถานศึกษาต่างๆ เพื่อส่งเด็กเรียนร่วมภายนอกสถานคุ้มครอง
สถานศึกษาที่ส่งเด็กเรียน
โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์, โรงเรียนศรีสังวาลย์, โรงเรียนโสตศึกษานครปฐม, โรงเรียนประชาบดี, โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล, โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล, การศึกษานอกโรงเรียน
การส่งเสริมด้านกีฬา
ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง เน้นการบริหารร่างกายทุกส่วนให้เหมาะสมตามศักยภาพ
ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาประเภทต่างๆ เช่น แบดมินตัน, บาสเก็ตบอล, ว่ายน้ำ, กรีฑา, บ็อคเซีย(Boccia) คือ กีฬาเฉพาะสำหรับผู้พิการทางสมอง (Cerebral Palsy : CP) โดยมีอุปกรณ์การเล่นเฉพาะและกติกาคล้ายเปตอง และจัดให้มีกิจกรรมกีฬาสีประจำปี
มีการคัดเลือกเด็กที่มีความสามารถโดดเด่นทางกีฬา และจัดฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งในระดับระหว่างหน่วยงาน ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
ประเภทกีฬาที่ฝึกซ้อม
ทักษะพื้นฐานกีฬา, ทักษะออกกำลังกาย, กรีฑา, เปตอง, เทเบิ้ลเทนนิส (ปิงปอง), แบดมินตัน, เทนนิส, ว่ายน้ำ, บ็อคเซีย(Boccia)