การสํารวจว่ามี เชื้อราหลังน้ำท่วมหรือไม่ อาจทําได้ 2 ทางคือ
- ดูด้วยตา เช่น พบเห็นผนังมี รอยเปื้อน หรือมี ลักษณะเชื้อราขึ้น
- ดมกลิ่น กลิ่นเชื้อราเป็นกลิ่นเหม็นอับทึบ หรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน (earthy smell)
หากสงสัยว่ามีเชื้อรา ให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ให้ใช้หลักว่าสิ่งของใดที่ไม่สามารถกําจัดเชื้อราได้หมดจดให้ทิ้งไป เลยโดยเฉพาะวัสดุที่มี รูพรุนซึ่งไม่สามารถชะล้างและทําให้แห้งได้จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา อยู่ต่อไปนอกจากนี้เชื้อราที่ตายแล้ว ก็ยังอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้ ถ้าเป็น สิ่งของที่ทําด้วยผ้าหากต้มได้ต้องฆ่าเชื้อด้วยการต้มด้วยน้ำร้อนก่อนจึงจะนํามาใช้อีก
- รีบทําควาะอาดพื้นและผนังโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังน้ำลดระหว่างทําความสะอาดให้เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ และเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้ แห้งโดยเร็วเริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อนแล้วตาม ด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยา 0.5 % sodium hypochlorite ถ้าเป็นการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่ หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็งถ้าไม่ใช้น้ำยา 0.5% sodium hypochlorite อาจผสมน้ำยาใช้ เองโดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านปริมาณ 1 ถ้วยตวงผสมกับ น้ำ 1แกลลอนก็ได้ ส่วน ผู้ทําความสะอาดต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายได้แก่
- รองเท้าบู๊ทยาง
- ถุงมือยางสําหรับทํางานบ้าน
- แว่นป้องกันตา
- หน้ากากอนามัย
- เมื่อขัดล้างเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง หรืออาจใช้ไฟสปอร์ตไลท์ส่องเพื่อช่วยให้แห้งเร็วขึ้น นอกจากนี้หากพบว่ามีเชื้อราฝังแน่นตามผนัง ไม่สามารถขัดล้างออกได้ ควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรทาสีทับ และหากเป็นห้อง ที่มีเครื่องปรับอากาศควรล้างทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศไปพร้อมกันด้วย
รู้ระวัง = ระวังเชื้อราหลังน้ำท่วม
ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามี เชื้อราลอยอยู่ในอากาศทั่วไปเราจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับสปอร์ของ เชื้อราได้ 100% เชื้อรามี ทั้งชนิดก่อให้เกิดโรคและไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เชื้อราบางชนิดฉวยโอกาสให้เกิดโรคได้ เมื่อร่างกายอ่อนแอ แต่ระบบร่างกายของเรามี ภูมิคุ้มกัน เช่น ระบบทางเดินหายใจเมื่อหายใจเข้าไปต้องผ่านขนจมูกจึงช่วยลดเชื้อต่างๆได้ แต่คนที่มี อาการภูมิ แพ้ อาจจะมี อาการแย่ลงได้ เช่น น้ำมูกไหลหายใจไม่ออก น้ำตาไหล หอบหืด มีผื่นผิวหนังอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายที่มี อาการแพ้มากๆควรรีบพบหมอทันที และหลีกเลี่ยงการสูดดม สปอร์ของเชื้อรา โดยการใช้ผ้าปิดปากหรือจมูก
สปอร์ของราเหล่านี้จะเล็กมาก (ประมาณ 3ไมครอน) และแพร่กระจายอยู่ทุกหนทุกแห่งในอากาศที่เราหายใจเข้าไป ฉะนั้น ไม่มีใครหนี เชื้อราเหล่านี้ไปได้ แต่ไม่เป็นอันตรายเพราะร่างกายเรามี ระบบต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นในคนที่มีภูมิต้านทานปกติ จึงไม่ต้องเป็นห่วงกังวลยกเว้นคนที่มี ภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นเป็นเอดส์ ก็อาจติดเชื้ออย่างรุนแรงจนเสีย ชีวิตได้
ส่วนมากแล้ว เชื้อราเหล่านี้จะก่อให้เกิดเป็นโรคภูมิ แพ้ ทั้งทางระบบหายใจหรือผิวหนัง ซึ่งจะเกิดเฉพาะ คนที่แพ้เท่านั้น ไม่เกิดกับคนทั่วไป ฉะนั้นอย่ากังวลเกินกว่าเหตุ การสูดดมหรือกินอาหารที่มีสปอร์ของเชื้อราเป็น ระยะเวลานานและปริมาณมากจะทําให้ร่างกายมี อาการดังนี้ เหนื่อยล้าปวดศีรษะเป็นไข้ ตาอักเสบ จมูกอักเสบ คออักเสบ มีผื่นคัน ไอเรื้อรัง ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกในปอดและจมูก
ข้อแนะนําการกําจัดเชื้อราหลังน้ำลด
หลังน้ำลดแล้วมักพบปัญหาเชื้อราในวัสดุต่างๆภายในบ้านหากไม่กําจัดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพต่อไปนี้
- ปฏิกิริยาภูมิพ้ Allergic Reactions ทําให้มีไข้ จาม น้ำมูกไหล
- ปอดอักเสบจากภูมิ แพ้
- คนที่มี ปัญหาเป็นโรคหอบหืดจะเป็นรุนแรงมากขึ้น
- ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตาจมูกหลอดลมทําให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน
- ก่อให้เกิดสารพิษแพ้เป็นผื่นลมพิษ
การป้องกันตัวเองระหว่างการกําจัดเชื้อรา
- สวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เพื่อป้องกันการหายใจเอาเชื้อราเข้าไปหน้ากากผ้าหรือฟองน้ำไม่ เพียงพอต่อการป้องกัน
- ใส่ถุงมือยาง รองเท้ายาง เพื่อป้องกันเชื้อมาสัมผัสโดยเฉพาะคนที่มีบาดแผลที่มือและเท้า ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าตา ควรเป็นแว่นชนิดครอบตาที่ไม่มีรูระบายอากาศ
บริเวณที่จะพบเชื้อราได้บ่อย
ความจริงเชื้อรามี อยู่ในอากาศโดยทั่วไป สภาวะที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตคือมี ความชื้นสูงอากาศ ไม่ค่อยถ่ายเทมี อุณหภูมิสูง มีอินทรีย์สารที่เชื้อราใช้เป็นอาหารในภาวะหลังน้ำท่วม จึงมักพบพื้นผิววัสดุต่างๆที่ ถูกน้ำท่วมเกิดราขึ้นเสมอ กระนั้นก็ตามวัสดุบางอย่างแม้ไม่ถูก น้ำท่วมถึงก็อาจขึ้นราได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างของวัสดุในบ้านที่มักพบเชื้อรา เช่น ผนัง ฝ้าเพดาน พื้นไม้ ใต้พรม วอลล์เปเปอร์ ผนังด้านในของท่อแอร์ โครงผนัง เครื่องปรับอากาศ ตู้ เสื้อผ้า เสื้อผ้า หนังสือ ฟูก เตียง หมอน เครื่องหนัง ในห้องน้ำ ห้องครัว ร่องยาแนวกระเบื้อง ม่านพลาสติก กระจกเงา ซิ ลิโคนยาแนวต่างๆปลอกไฟเบอร์ เสื่อน้ำมันกระเบื้องยางผ้าม่านเป็นต้น