หนึ่งในดัชนีชี้วัด "ความน่าอยู่" ของเมืองและ "คุณภาพชีวิต" ของคนในเมือง คือ "การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี" กรุงเทพมหานครจึงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็น "มหานครแห่งสิ่งแวดล้อม" ด้วยการคืนธรรมชาติสู่วิถีเมือง สร้างเมืองสะอาด อากาศสดชื่น มีพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้คนกรุงเทพฯ มีวิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี ทัศนียภาพที่สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาดตา น่าอยู่อาศัย น่าใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้คนกรุงเทพฯ ร่วมมือร่วมใจกัน ลดภาวะโลกร้อน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการใช้พลังงาน ลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมกันผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครสิ่งแวดล้อมดีอย่างยั่งยืน
เพิ่มพื้นที่สีเขียว เติมความสุดชื่นให้มหานคร
คนกรุงเทพฯ ก็ไม่ต่างจากคนในมหานครใหญ่ทั่วโลก คือ ต้องทำงานหนัก เคร่งเครียด จากภาระหน้าที่การงานและการใช้ชีวิต ต้องผจญกับมลภาวะ โอกาสที่จะได้สัมผัสหรือใกล้ชิดกับธรรมชาติก็มีน้อย กรุงเทพมหานครจึงพยายามเพิ่มเติมความสดชื่น คืนธรรมชาติสู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ด้วยการเพิ่ม "พื้นที่สีเขียว" ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกมุมเมือง ตั้งแต่การสร้างสวนหย่อมขนาดเล็ก สวนป่า สวนสุขภาพชุมชนไปจนถึงสวนสาธารณะขนาดใหญ่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ริมสองฝั่งถนน ฟุตบาท เกาะกลางถนน บริเวณป้ายรถประจำทาง พื้นที่ใต้แนวรถไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงเพิ่มความร่มน มีชีวิตชีวา สร้างความน่าอยู่ให้แก่เมืองเท่านั้น แต่ยังสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม และเพิ่ม "พื้นที่สำหรับทำกิจกรรม" ให้คนกรุงเทพฯ ได้มีมุมสงบสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีช่วงเวลาที่รื่นรมย์และผ่อนคลายเสริมพลังกาย เติมพลังใจ เพิ่มพลังชีวิต และเชื่อมกระชับความสัมพันธ์ของคนเมืองให้ยิ่งใกล้ชิดแนบแน่นขึ้นอีกด้วย
และเพื่อให้การเพิ่มพื้นที่สีเขียวมีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน กรุงเทพมหานครจึงได้ริเริ่มโดรงการ Green Bangkok 2030 ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งมีเป้าหมายหลักๆ คือ
"เป้าหมาย GREEN BANGKOK 2030"
เป้าหมาย GREEN BANGKOK 2030
เพิ่มพื้นที่สีเขียว
ปี 2573 10 ตารางเมตร/คน
ปัจจุบัน 7.58 ตารางเมตร/คน
เพิ่มพื้นที่สาธารณะ เข้าถึงได้ภายใน 5 นาที หรือระยะ 400 เมตร
ปี 2573 มากกว่า 50%
ปัจจุบัน 13%
เพิ่มพื้นที่ร่มไม้ (Urban Tree Canopy) ต่อพื้นที่เมือง
ปี 2573 มากกว่า 30%
ปัจจุบัน 14%
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียวอื่นๆ รวมกว่า 8,900 แห่ง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 26,158 ไร่ แบ่งเป็น
สวนสาธารณะหลัก 39 แห่ง
สวนสาธารณะรอง 68 แห่ง
คิดเป็น 7.58 ตารางเมตร/คน
ซึ่งยังน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้แต่ละเมืองควรมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตารางเมตร/คน
กรุงเทพมหานครจึงยังคงเดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง
โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามนโยบาย เพิ่มพื้นที่สีเขียว
โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
1. เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบายด้วยการเดินภายใน 15 นาที หรือระยะประมาณ 800 เมตร กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ โดยไม่ต้องใช้พื้นที่มาก แต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
2. จัดการดูแลต้นไม้อย่างถูกวิธีและเป็นระบบ โดยจัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต จัดทำทะเบียนต้นไม้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งสำรวจและประเมินสุขภาพต้นไม้เป็นประจำ เพื่อวางแผนดูแลต้นไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ปลูกต้นไม้ล้านต้น เสริมร่มเงา เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดฝุ่นและมลพิษ โดยประชาชนมีส่วนร่วม
ทุกคนสามารถร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวกับ กรุงเทพมหานครได้
1. ช่วยกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตน
2. ช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแลต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ
3. แนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับจัด ทำสวนสาธารณะให้แก่กรุงเทพมหานคร
4. หน่วยงานหรือประชาชนเจ้าของที่ หากมีพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สามารถนำมาให้กรุงเทพมหานครพิจารณาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะต่อไปได้
ดูแลควบคุมมลพิษเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพ
มลภาวะทางอากาศและเสียงเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญที่มหานครใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลกต้องประสบ เช่นเดียวกับกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม และการเพิ่มขึ้นของยานพาหนะ ซึ่งส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาตทั้งในรูปฝุ่นละออง เขม่าควันดำ ก๊าชพิษต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ที่ล้วนแต่บั่นทอนสุขภาพกายสุขภาพจิตของคนกรุงเทพฯ มาช้านาน
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะดูแลคนกรุงเทพฯให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข กรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมป้องกันและลดมลพิษทางอากาศและเสียงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กรุงเทพฯ มีคุณภาพอากาศและเสียงในระดับที่เหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพฯ ต่อไป
โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
ㆍจัดทีม "นักสืบฝุ่น" เพื่อศึกษาถึงต้นตอ ที่แท้จริงของ PM2.5 เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ทั้งในแง่การป้องกัน การปล่อยมลพิษ และในแง่การเอาผิดจากผู้ปล่อยมลพิษเกินค่ามาตรฐาน
ㆍ พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้ สำหรับพื้นที่เปิดด้วยเครื่องฟอกอากาศ สำหรับพื้นที่ปิด
- พื้นที่เปิด โดย กรุงเทพมหานครจะปลูก (ปลูกเองและสนับสนุนให้เอกชนนำกล้าไม้ไปปลูก และบำรุงรักษาต้นไม่ที่ช่วยดักจับและกรองฝุ่นที่จะเข้ามาในพื้นที่
- พื้นที่ปิด สนับสนุนการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบางและประชาชนหนาแน่น เช่น ห้องเรียน โรงพยาบาลรถสาธารณะ
ㆍ สนับสนุนให้เกิด Ecosystem ด้วยรถพลังงานไฟฟ้า การลดฝุ่น PM2.5 ในระยะยาว จำเป็นต้องลดมลพิษจากไอเสียที่ยานยนต์ปล่อยออกมา ซึ่งเป็นต้นตอของ PM2.5 เช่น อนุญาตให้เอกชนติดตั้งสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรีรถจักรยานยนต์ในพื้นที่หน่วยงานกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักงานเขต สวนสาธารณะ พื้นที่จอดแล้วจร ฯลฯ ประสานกับเอกชนในการผลักดันให้เกิดสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรี่มากขึ้น
รินน้ำเสีย ไล่น้ำใส
เช่นเดียวกับ "มหานครใหญ่" ทั่วโลก กรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมความเจริญทุกด้านของประเทศ มีโรงงานอุตสาหกรรมผุดขึ้นมากมาย มีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยจำนวนมาก ซึ่งต่างก็มีกิจกรรมที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึง การเกิดน้ำเสีย ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้พยายามแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างเป็นระบบมาอย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียรวม เพื่อรวบรวมน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนมาผ่านกระบวนการบำบัดให้ถูกสุขลักษณะ ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำสาธารณะ ทั้งคลองสายหลักและแม่น้ำเจ้าพระยา ตรวจสอบน้ำทิ้งจากอาคารสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อให้สถานประกอบการบำบัดน้ำทิ้งให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ภาครัฐ เอกชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการบำบัดน้ำเสียและร่วมมือกันลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ เพื่อให้กรุงเทพฯ มีสายน้ำที่สดใสประชาชนได้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวคล้อมที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
แนวทางการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน
ปัจจุบัน กรุงเทพฯ มีโรงควบคุมคุณภาพน้ำ หรือโรงบำบัดน้ำเสียครอบคลุมพื้นที่ 212.74 ตร.กม. จากพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตร.กม. บำบัดน้ำเสียได้ 1,112,000 ลบ.ม.ต่อวัน (หรือประมาณร้อยละ 45 ของน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด)
การเดินทางของน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดสู่โรงควบคุมคุณภาพน้ำ
- กรุงเทพมหานคร รวบรวมน้ำเสียด้วยระบบท่อรวม โดยจะรวบรวมน้ำเสียจากชุมชนและแหล่งกำเนิดน้ำเสียอื่น ๆ ไปสู่บ่อรับน้ำเสียและไหลลงสู่ท่อรวบรวมน้ำเสียก่อนส่งไปที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำส่วนกลางเพื่อบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
- แหล่งกำเนิดน้ำเสีย พื้นที่ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม และอื่นๆ
- บ่อพักน้ำเสีย
- ท่อรวบรวมน้ำเสีย รวบรวมน้ำเสียจากชุมชน
- สถานีสูบน้ำเสียย่อย
- โรงควบคุมคุณภาพน้ำส่วนกลาง 6 แห่งของกรุงเทพมหานคร
- น้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเข้าสู่กระบวนการบำบัดขั้นต้น ที่จะแยกกรวด หิน ดิน ทราย ของแข็งขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสียก่อน
โครงการก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครมุ่งมั่นที่จะคืนสายน้ำที่สะอาดสดใสให้แก่ประชาชนโดยมีโครงการที่จะสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ 27 เขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 8 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 4 โครงการ และมีแผนระยะยาวที่จะก่อสร้างเพิ่มอีก 15 โครงการ ในอนาคต
ปัจจุบันบำบัดได้ 45%
โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ บำบัดเพิ่ม 25%
โครงการที่อยู่ในแผนระยะยาว บำบัดเพิ่ม 20%
90% ของน้ำเสียในกรุงเทพฯ จะถูกบำบัด
โรงควบคุมคุณภาพน้ำ ที่เปิดบริการแล้ว 8 แห่ง ได้แก่
1.สี่พระยา
2.รัตนโกสินทร์
3.ดินแดง
4.ช่องนนทรี
5.หนองแขม
6.ทุ่งครุ
7.จตุจักร
8.บางซื่อ
อยู่ระหว่างดำเนินการ 4 โครงการ
9.คลองเตย
10.ธนบุรีเหนือ
11.บึงหนองบอน
12.มีนบุรี
แผนระยะยาว 15 โครงการ
13.ธนบุรีใต้
14.สะพานสูง
15.วังทองหลาง
16.ดอนเมือง
17.ลาดพร้าว
18.จอมทอง
19.บางเขน
20.บึงกุ่ม
21.ห้วยขวาง
22.ลาดกระบัง 2
23.ลาดกระบัง 1
24.หนองจอก 1
25.คลองสามวา
26.ลาดกระบัง 3
27.หนองจอก 2
โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ตามนโยบาย ควบคุมคุณภาพน้ำ
โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
ㆍผลักดันโครงการติดตั้งระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (onsite) ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็ก 10- 50 หลังคาเรือน โดยในระยะแรกจะมุ่งเน้นชุมชนริมคลองเป็นสำคัญ
ㆍ นำร่องปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียในตลาดให้ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานด้วยการบำบัด 2 ขั้นตอน แบบ onsite treatment ก่อนปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำและท่อระบายน้ำสาธารณะ
ㆍ เร่งปรับปรุงท่อรวบรวมน้ำเสียที่มีอยู่แล้วให้เชื่อมต่อการรับน้ำเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการก่อนเข้าสู่ระบบได้อย่างสมบูรณ์
ㆍ เร่งทบทวนแผนก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียรวม 4 แห่ง พร้อมระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย ได้แก่ โรงบำบัดน้ำเสียธนบุรี มีนบุรี หนองบอนและคลองเตย พร้อมทบทวนศึกษาถึงตำแหน่งที่ตั้ง และความเหมาะสมของโครงการ ขนาด ความจุ หรือประสิทธิภาพการบำบัดเพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาของเมืองที่อยู่อาศัย ตลอดจนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกรุงเทพหานครในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาวะของเมืองและประชาชน
บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
ความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย และจำนวนประชากรที่มากที่สุด ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นแหล่งผลิต "ขยะ" ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศโดยปัจจุบันมีปริมาณมูลฝอยที่กว่า 10,000 ตันต่อวัน (หรือเทียบเท่ารถสิบล้อ 400 คัน) คิดเป็นขยะมูลฝอยที่ต้องจัดเก็บประมาณ 3.6 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 20% ของปริมาณมูลฝอยทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้มุ่งมั่นบริหารจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
"ต้นทาง" เน้นการลดและควบคุมปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด รวมถึงคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ
ที่ต้นทาง
"กลางทาง" จัดรถเก็บขนมูลฝอยให้ทุกสำนักงานเขตเข้าบริการจัดเก็บขยะเพื่อนำเข้าสู่ระบบกำจัดอย่างทั่วถึงโดยส่วนใหญ่เป็นขยะทั่วไป และบางส่วนได้จัดเก็บแยกประเภทได้แก่ 1. ขยะทั่วไป 2. ขยะอินทรีย์ 3. ขยะอันตราย 4. ขยะติดเชื้อ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการทิ้งและการจัดเก็บที่แน่นอน
และ "ปลายทาง" ขยะที่จัดเก็บได้จาก 50 เขต จะถูกขนส่งไปยังศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ตูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม และศูนย์กำจัดมูลฝอยสายไหม โดยนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับชนิดของขยะ
โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ นโยบายบริหารจัดการขยะ
โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
ㆍ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะด้วยการออกแบบ ศึกษาเก็บขนาดเล็ก ควบคู่กับอุปกรณ์และพัฒนาโมเดลรถจัดและรถช่วยลากขยะ เพื่อเข้าถึงตรอกซอกซอยขนาดเล็กและชุมชนริมคลองที่หลายแห่งมีความกว้างเพียงทางเดินเท้า และทางมอเตอร์ไซค์ผ่าน (กว้างน้อยกว่า 1-1.5 เมตร)
ㆍ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งการคัดแยกอย่างถูกวิธีและการลดปริมาณขยะ (zero waste to landfill) โดยร่วมมือกับภาคีหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่เดิมและสร้างภาคีเครือข่ายใหม่ให้มีจำนวนมากขึ้น ทั้งรูปแบบธนาคารขยะ ธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนโครงการความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ให้ความสนใจและร่วมผลักดันแนวคิด Sustainable Development Growth (SDGs) และ BCG Bio-Circular-Green Economy)
การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยไม่อาจสำเร็จได้ด้วยกำลังของกรุงเทพมหานครเพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ควบคู่ไปกับการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้บุคลากรออกไปให้ความรู้แก่ประชาชนชนเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมในการดูแลรักษาความสะอาดการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่สวยงามและน่าอยู่ของทุกคน
กรุงเทพฯ ในวันนี้ ไม่ใช่แค่เมืองหลวงหรือศูนย์กลางความเจริญทุกด้านของประเทศเท่านั้น หากแต่คือ "หน้าตา" หรือ "ตัวแทนประเทศไทย" และที่สำคัญที่สุดคือเป็น "บ้านหลังใหญ่" ที่มีคนกว่า 10 ล้านคนอาศัยอยู่อาศัยร่วมกัน เราทุกคนจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันดูแลบ้านหลังนี้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สะอาด สดใส มีสิ่งแวตล้อมดี เพื่อให้ที่นี่ เป็นบ้านที่ผู้อยู่สุขกายสบายใจ เป็นเมืองที่ผู้มาเยือนต่างประทับใจ เป็นมหานครที่เป็นหน้าเป็นตา และความภาคภูมิใจของประเทศไทยและได้รับการยอมรับในระตับนานาชาติทัดเทียมมหานครชั้นนำระดับโลก