ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

10 ทักษะที่ต้องมีในยุค Double Disruption

10 ทักษะที่ต้องมีในยุค Double Disruption Thumb HealthServ.net
10 ทักษะที่ต้องมีในยุค Double Disruption ThumbMobile HealthServ.net

ก่อนหน้านี้อาจจะเคยได้ยินคำแรงแห่งยุค "Disruption" ที่ปรากฏทั่วไปหมดในทุกองคาพยพทุกสาขาอาชีพ ทุกอุตสาหกรรม ด้วยความหวาดหวั่น มาวันนี้ปรากฏคำว่า "Double Disruption" มาอีกแบบดับเบิ้ล เหมือนจะแรงขึ้นไปอีกเท่าตัวกันเลย ลำพังดิสรัปเดียวยังซวนเซ แล้วดับเบิ้ลดิสรัป จะไหวกันไหม ไปทำความเข้าใจกันซักหน่อยว่า Double Disruption มีความอย่างไร ในบทความ "10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรศิริราช"

 
นับจากปี 2563 ที่เข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มตัวทั้งเศรษฐกิจ ธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Disruption) โดยใช้ Automation Technology เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้การจ้างงานบุคลากรมีความจำเป็นน้อยลง แต่ถึงแม้ AI จะเข้ามาพลิกโฉมอย่างรุนแรงในหลากหลายแง่มุม แต่ก็ยังเป็นเพียงปัญญาประดิษฐ์ชนิดแคบ (Narrow AI ที่สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่พัฒนามาเท่านั้น การสร้าง AI ที่มีสติปัญญาและความสามารถระดับเดียวกันกับมนุษย์ (Human-level AI) ยังเป็นไปได้ยาก
 
 
 
การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ยุคที่เทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันมากขึ้นแบบคูณสอง (Double Disruption) ภายใน ปี 2025 ได้นั้น คือ การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น (Human Potential และทักษะการจัดการตนเองด้านสุขภาวะ (Self-Management) จนเป็นที่ต้องการขององค์กรในอนาคด ดังนั้น งานพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล ม.มหิดล จึงได้รวบรวม 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรศิริราช เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้แก่
 
 
 

Mindset และควรต้องมีสิงที่เรียกว่า Empathy Skills หรือ ความสามารถในการทำความเข้าใจผู้อื่นด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเราโดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้ผู้นำเห็นในมุมมองอื่นๆ จนสามารถสร้างทีมที่แข็งแกร่งได้
 

1. Analytical thinking and innovation ทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะด้านนวัตกรรม กลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของอนาคต รวมกับความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จากทักษะและกระบวนการคิดจนสามารถสร้างคุณค่า (Value) ได้
 
 
2. Active Learning and Learning Strategies ทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองและเรียนรู้อย่างมีกลยุทธ์ โดยเรียนรู้ผ่านการทดลอง ผ่านการลงมือทำจริงและเรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อน้ำมาปรับใช้กับการทำงานอยู่เสมอ คล้ายกับ Growth Hacking
 

3. Complex Problem-soiving หรือทักษะการแก้ปัญหาที่มีความชับซ้อน จะต้องมีกระบวนการคิดและการตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างดีเยี่ยม รวดเร็ว
 
 
4. Critical Thinking and Analysis หรือทักษะการคิดอย่างมีหลักการ สามารถคิด วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนและมีเหตุผลสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสรุปผลลัพธ์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีเพื่อนำมาแก้ปัญหาโดยนำข้อมูล และสถิติจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
 
 
5. Creativity, Originally and Initiative หรือทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการริเริ่มสิ่งใหม่ ต้องมุ่งเน้นไปที่การทำน้อยแต่ได้มากและเห็นผลเร็วที่สุด
 

6. Leadership and Social Influence หรือทักษะการเป็นผู้นำและอิทธิพลต่อสังคม ต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในทีม สร้างการมีส่วนร่วม มองเห็นเป้าหมายร่วมกัน ผลักดันให้ทุกคนในทีมมี Growth
 
 
7. Technology use, Monitoring and Control หรือทักษะการเลือกใช้ ดูแล และควบคุมอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี แม้เทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าและเข้ามามีบทบาทต่อการทำงาน แต่การควบคุมเทคโนโลยียังคงต้องใช้สมองและฝีมือของ "มนุษย์" ตลอดจนมีความเข้าใจเทคโนโลยีด้านชอฟต์แวร์ เช่น ระบบ AI Big Data ก็จะยิ่งได้เปรียบและทำให้คุณเติบโตในยุคนั้นได้ดี
 
 
8. Technology Design and Programming หรือทักษะการออกแบบและโปรแกรมชุดคำสั่งสำหรับเทคโนโลยี การออกแบบโปรแกรมให้ใช้งานง่าย และ User Friendly มากที่สุด เพื่อเป็นเหมือนเครื่องทุ่นแรงในการทำงาน ช่วยลดระยะเวลาของงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ลดแรงงานคนและทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 
9. Resilience, Stress tolerance and Flexibility หรือทักษะการเปีดรับต่อความเปลี่ยนแปลง การควบคมอารมณ์ และการพื้นฟูในภาวะวิกฤต ถือว่าเป็นทักษะม้ามืดในเรื่องของการจัดการตัวเองที่ติดอันดับในครั้งนี้ด้วย โดยหัวใจหลักจะเป็นเรื่องของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงให้เร็วที่สุด นอกจากนั้นยังต้องมีทักษะ Stress Tolerance หรือความสามารถในการทำงานภายใต้แผนงาน ทรัพยากร และระยะเวลา ที่จำกัดให้สำเร็จ รวมทั้งการควบคุมสภาวะทางอารมณ์เมื่อต้องเผชิญกับภาวะความเครียดจากการทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยไม่กระทบกับการทำงานและคนในทีม
 
 
10. Reasonins, Problem-solving and Ideation หรือทักษะในการให้น้ำหนักเหตุผล และการระดมความคิด ในกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเริ่มจากการทำความเข้าใจสถานการณ์จากข้อมูลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการรวบรวม จัดระเบียบ หาความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และมีการเริ่มประชุมกับทีม เพื่อระดมความคิดช่วยกันหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด โดยใช้เหตุผลและข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหา
 
อ้างอิง : https://thegrowthmaster.com/
 
จากลักษณะงานที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อทักษะของคนทำงานที่ต้องเปลี่ยนไปด้วย การขาดแคลนทักษะที่เหมาะสม กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสามารถขององค์กรในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้วย ซึ่งคณะฯ กำหนดแผนยุทธศาสตร์ ในยุทธศาสตร์ที่ 4 พ.ศ. 2563 - 2567 เรื่อง การพัฒนาความเป็นมืออาชีพ (Professionalization) ที่มีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ มุ่งสู่อนาคตด้วยผลงานที่เป็นเลิค เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งขององค์กร ซึ่งจะต้องพัฒนาสมรรถนะทั้งด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และคุณลักษณะของบุคลากรอย่างมีหลักการบนพื้นฐานข้อมูล ความรู้เป็นมาตรฐานละมีคุณภาพ ตลอดจน การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคต เพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
 
 
วารสารศิริราชประชาสัมพันธ์ 
กรกฎาคม 2564 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด