ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI และสิทธิประโยชน์
ประเภทของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI
สินค้าที่สามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ สินค้าเกษตรกรรม สินค้าหัตถกรรม และสินค้าอุตสาหกรรม
ประโยชน์ที่จะได้รับ
เมื่อขึ้นทะเบียนสินค้าชุมชนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI
- คุ้มครอง ชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิ์เฉพาะของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน
- ส่งเสริม ยกระดับ อุตสาหกรรมท้องถิ่น หรือ SMEs
- เพิ่มมูลค่า ของสินค้า และเป็นเครื่องมือการตลาด
- ดูแลรักษา มาตรฐานของสินค้า และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชน เพิ่มความสามัคคีเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
- สนับสนุน การท่องเที่ยวชุมชนผู้ผลิตอย่างยั่งยื่น
- สร้างความเชื่อมั่น ในแหล่งที่มาและคุณภาพของตัวสินค้าให้กับผู้ซื้อขาย
- ก้าวสู่ระดับสากล ได้รับการสนับสนุนจดทะเบียนในต่างประเทศ
ผู้มีสิทธิ์ ได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย
- เป็นผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีคู่มือปฏิบัติงานสำหรับสมาชิก มีแผนการควบคุมตรวจสอบในระดับผู้ผลิต หรือระดับจังหวัดแล้ว
- ปฏิบัติตามคู่มือ และแผนการควบคุมแล้ว
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่ขอรับความคุ้มครองได้
- มีความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับแหล่งผลิต เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อลักษณะพิเศษของสินค้า
- มีพื้นที่การผลิตที่ชัดเจนและใช้วัตถุดิบหลักจากในพื้นที่
- มีคุณภาพ หรือลักษณะเฉพาะของสินค้า ที่แตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตจากที่อื่น
- มีการกำหนดคุณภาพ และมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบชัดเจน
- มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
สินค้าที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียน GI ได้
สินค้าที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียน GI ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 มาตรา 5 : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียนสำหรับสินค้าใดต้องไม่มีลักษณะอย่างใด ดังต่อไปนี้
- เป็นชื่อสามัญของสินค้าที่จะใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น
- เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนโยบายภาครัฐ
กระบวนการ ขั้นตอนและแนวทางขอขึ้นทะเบียน ศึกษาได้ที่เว็บ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
แหล่งข้อมูล
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ 1368 สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา
สินค้า GI ภาพรวม การจำแนกตามภูมิภาค และประเภทสินค้า
ภาพรวม สินค้า GI ในประเทศไทย [
ประกาศขึ้นทะเบียน]
- ข้อมูล ณ ธันวาคม 2567 ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แล้ว 224 สินค้า ครอบคลุม 77 จังหวัดของไทย จำแนกเป็น มีตราสัญลักษณ์ GI (มีระบบควบคุมคุณภาพแล้ว) 182 สินค้า และมีตรารับรองระบบควบคุมภายนอก 29 สินค้า
- จำแนกตามภาคได้แก่ ภาคเหนือ 54 สินค้า ภาคกลาง 52 สินค้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 49 สินค้า ภาคใต้ 47 สินค้า ภาคตะวันออก 22 สินค้า
- จำแนกตามประเภทสินค้า ได้แก่ ข้าว (23) ประมง (13) พืชผักผลไม้ (15) อาหาร (31) ผ้า (16) ไวน์สุรา (2) ปศุสัตว์ (1) หัตถกรรม (23)
- สินค้า GI ไทย ที่ขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในสินค้า 15 รายการ
ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ปี 2568
- 247 ละมุดสุโขทัย 4 กุมภาพันธ์ 2568
- 246 ส้มโอขาวน้ำผึ้งเมืองลอง 9 มกราคม 2568
- 245 ฝรั่งสามพราน วั9 มกราคม 2568
- 244 หอยนางรมท่าโสม 2 มกราคม 2568
- 243 มะม่วงแรดแปดริ้ว 2 มกราคม 2568
- 242 มะม่วงขายตึกแปดริ้ว 2 มกราคม 2568
โปรดใช้ถ้อยคำสุภาพ เหมาะสม เพื่อบรรยากาศที่ดีในการสนทนา และแบ่งปันข้อมูลอันมีคุณค่าต่อกัน