ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประวัติโรงพยาบาลสูงเนินฉบับทางการ และฉบับบู้ลิ้ม

ประวัติโรงพยาบาลสูงเนินฉบับทางการ และฉบับบู้ลิ้ม Thumb HealthServ.net
ประวัติโรงพยาบาลสูงเนินฉบับทางการ และฉบับบู้ลิ้ม ThumbMobile HealthServ.net

เริ่มต้นจากสถานีอนามัยชั้น 2 ขนาด 10 เตียง ในอำเภอสูงเนิน เมื่อปี 2520 มาจนถึงปัจจุบันเพิ่มยกระดับเป็นโรงพยาบาลระดับ 2.2 / F1 (First-level ทุติยภูมิ) ขนาด 122 เตียง อยู่ในเครือข่ายส่งต่อรพ.เทพรัตน์ (ระดับ M1) ประวัติศาสตร์ 40 ปีของรพ.แห่งอ.สูงเนินดำเนินมาอย่างไร อ่านได้ที่นี่ และเพิ่มเติมภาคบู๊ลิ้มที่หาอ่านจากที่ไหนไม่ได้เช่นกัน

ประวัติโรงพยาบาลสูงเนินฉบับทางการ และฉบับบู้ลิ้ม HealthServ
 เดิมเป็นสถานีอนามัยชั้น 2 อำเภอสูงเนิน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ว่าการอำเภอสูงเนิน ทางด้านตะวันตกของอำเภอฯ เป็นอาคารเรือนไม้ 2 ชั้น พร้อมบ้านเจ้าหน้าที่ 1 หลัง มีเนื้อที่จำกัด กับเแคบ ยากที่จะขยายกิจการได้ 
 
ทางจังหวัดนครราชสีมามีนโยบายที่จะยกฐานะ สถานีอนามัยชั้น 2 ทุกอำเภอเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง ซึ่งมีนายแพทย์อยู่ประจำบริการประชาชน แต่รัฐบาลมีกิจการ พัฒนาประเทศในด้านอื่น อยู่เป็นอันมาก จึงยังไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะยกฐานะได้ทั่วถึงทุกอำเภอ  ทั้งที่มีความต้องการของประชาชน ในด้านสาธารณสุขมือยู่เป็นอันมาก 
 
ซึ่งทางจังหวัดก็ดำริที่จะหาที่ดินสำหรับปลูกสร้างสถานิอนามัยชั้นหนึ่งอยู่เสมอมา 
 
ประจวบกับเมื่อราวกลางปี พ.ศ. 2508 บรรดาทายาทของ คุณแม่นกแก้ว นิตยสุทธิ์ ได้ทราบความประสงค์ของทางราชการ จึงร่วมใจกัน สร้างถาวรวัตถุอันเป็นกุศลสาธารณะเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ท่านที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพร้อมใจกันอุทิศ ที่ดินบริวณตรงข้ามสถานีรถไฟสูงเนิน เลียบเลาะฝั่งลำคลองทางทิศตะวันตก จำนวนเนื้อที่ดินประมาณ 3 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา และไต้ปลูกสร้างอาคารที่ทำการบ้านพักเจ้าหน้าที่และอื่นๆ ตามแบบแปลนของกรมอนามัย รวมทั้งสิ้นมีมูลค่าถึง 636,792.80 บาท เป็นสถานีอนามัยชั้น 1 อำเภอ สูงเนิน และทางราชการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กรุณาให้ใช้นามของ คุณแม่นกแก้ว เป็นนามของสถานีอนามัยแห่งนี้ด้วย อันเป็นมงคลว่า "สถานีอนามัยชั้น 1 อำเภอสูงเนิน นกแก้วนิตยสุทธิ์อนุสรณ์" ตามที่ปรากฎอยู่แล้ว 
 
ซึ่งได้เปิดให้บริการประชาชน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2510 โดยมี ฯพณฯ พระบำราศนราดูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในวันทำพิธีเปิด
 
ประวัติโรงพยาบาลสูงเนินฉบับทางการ และฉบับบู้ลิ้ม HealthServ
ต่อมาประมาณปี 2518 ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะสถานีอนามัยชั้น 1 ขึ้นทั่วประเทศ เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบท 
 
ต่อมาประมาณปี 2520 ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เปลี่ยนจากศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบท ขึ้นเป็นโรงพยาบาลอำเภอขนาด 10 เตียง
 
และเนื่องในงานอภิเษกสมรส ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งตรงกับวันที่ 3 มกราคม 2520 รัฐบาลและประชาชนชาวไทยพร้อมใจกัน ถวายความจงรักภักดี สมทบทุนสร้างโรงพยาบาลเพื่อคนไทย ในท้องที่ห่างไกลแลกันดาร ทั่วพระราชอาณาจักรโดย ใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช" 
 
 
เนื่องในวโรกาสนี้ บริษัท แหลมทองอุตสาหกรรม จำกัด มีความประสงค์จะสร้างโรงพยาบาลขึ้นที่อำเภอสูงเนิน แต่เนื้อที่นี่ไม่เข้าเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ดังนั้นบริษัท แหลมทองฯ โดย นายยงศักดิ์ คณาธนะวนิชย์ ผู้จัดการใหญ่ จึงได้ติดต่อกับกระทรวงสาธารณสุข ยื่นความจำนงค์ขอเป็นผู้สร้างโรงพยาบาลขึ้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยบริษัทและครอบครัวของคุณยงศักดิ์ คณาธนะวนิชย์ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างตามแบบแปลนของ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั้งหมด ซึ่งต่อมาทางกระทรวงสาธารณสุข ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างและเจ้าของที่ดินจำนวนหนึ่งยกที่ดินบริเวณใกล้เคียงสมทบ ซึ่งมีเนื้อที่สำหรับการก่อสร้างประมาณ 29 ไร่ ทำให้บริเวณโรงพยาบาลกว้างขวางเพิ่มขึ้น 
 
ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2521 โดยมี พณฯ เรือโทศาสตราจารย์นายแพทย์ ยงยุทธ สัจจวนิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสมัยนั้น มาเป็นประธานในพิธี ซึ่งการก่อสร้างได้ดำเนินไปอย่างเร่งรีบ จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งตัวอาคารโรงพยาบาล เรือนพักผู้ป่วย บ้านพักนายแพทย์ และบ้านพัก เจ้าหน้าที่ โรงครัว โรงซักฟอก ตลอดจนติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ประปาอื่นๆ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,480,880.90 บาท (ห้าล้านสี่แสนแปดหมื่นแปดร้อยแปดสิบบาทเก้าสิบสตางค์) 

 
โรงพยาบาลสูงเนินแห่งใหม่ ได้เปิดดำเนินการให้บริการแก่ประชาชน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2521 โดยย้ายมาจากโรงพยาบาลเก่าขนาด 10 เตียง ส่วนอาคารโรงพยาบาลเก่า ได้มอบให้ทางมาเลเรียที่ 5 อ.สีคิ้ว ย้ายมาปฏิบัติงานและใช้เฉพาะตัวอาคารเป็นที่ทำการและปฏิบัติงานมาจนกระทั่งทุกวันนี้ 
 
วันที่ 25 เมยายน 2522 ได้มีพิธีเปิดโรงพยาบาลสูงเนินแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด
 
 
หลังจากเปิดดำเนินการได้ประมาณ 2-3 ปี ปริมาณผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งจาก อำเภอสูงเนินและอำเภอใกล้เคียงกัน มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้อัตราการครองเตียง เกินกว่า 100% คุณยงศักดิ์ คณาธนะวนิชย์และครอบครัว จึงได้บริจาคอาคารตึกผู้ป่วยใน ขนาด 30 เตียง เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง 
 
ฯพณฯ พลเอกเปรม ดิณฐลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกอบพิธีเปีดอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่นี้ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2525 
 
โรงพยาบาลสูงเนิน ได้ดำเนินการในฐานะโรงพยาบาล 60 เตียง สืบเรื่อยมา และปัจจุบันนี้ได้มีอาคารแหลมทองอุตสาหกรรม 3 เพื่อเป็นอาคารสำหรับให้ บริการอนามัยแม่และเด็ก ทันตกรรมคลินิกและชันสูตร เพิ่มขึ้น ซึ่งบริจาคโดยคุณยงศักดิ์และครอบครัวเช่นเคย และได้ประกอบพิธีเปิดโดย ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
 
 
พัฒนาการการขยายเตียงของโรงพยาบาลสูงเนิน
 
 
แรกการก่อตั้ง พ.ศ.2520 จำนวน 10 เตียง  
พ.ศ.2522 จำนวน 30 เตียง
พ.ศ.2525 จำนวน 60 เตียง
พ.ศ.2544 จำนวน 90 เตียง
พ.ศ.2564 จำนวน 120 เตียง
 
พ.ศ.2564 มีจำนวนห้องและครุภัณฑ์การแพทย์ เพิ่มขึ้นดังนี้
จำนวนเตียงผู้ป่วยใน 120 เตียง
จำนวนห้องพิเศษ(ห้องเดี่ยว) 14 ห้อง
จำนวนห้องผ่าตัด 2 ห้อง
จำนวนห้องตรวจผู้ป่วยนอก 10 ห้อง
เครื่องอัลตราซาวด์ 2 เครื่อง
รถพยาบาล 4 คัน


 
บริการตรวจรักษาโรค

บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป
บริการแผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป (OPD)
บริการแผนกผู้ป่วยใน (IPD)
บริการแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
บริการแผนกห้องคลอด
บริการแผนกห้องผ่าตัด
บริการคลินิกเบาหวาน
บริการคลินิกความดันโลหิตสูง
บริการทันตกรรม
 
บริการตรวจรักษาเฉพาะทาง
ตรวจรักษาผู้ป่วยอายุรกรรม
ตรวจรักษาผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม
 
บริการชันสูตรและรักษา
ตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน
ตรวจเอกซ์เรย์
บริการธนาคารเลือด
 
บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ
บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
บริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
บริการคลินิกสุขภาพเด็กดี
บริการบำบัดยาเสพติด
บริการฝากครรภ์
บริการเยี่ยมบ้าน
บริการตรวจเยี่ยมหลังคลอด
บริการสาธารณสุขชุมชน
บริการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรค
บริการนวดแผนไทย
บริการกายภาพบำบัด
บริการยาสมุนไพร
บริการให้คำปรึกษาทั่วไป
บริการอบสมุนไพร
บริการให้คำปรึกษาทางจิตเวช
บริการการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
 
 
 
บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลสูงเนิน
 
แพทย์ 18 คน
ทันตแพทย์ 4 คน
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 2  คน
เภสัชกร 11 คน
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม 4 คน
พยาบาลวิชาชีพ 82 คน
นักวิชาการสาธารณสุข 4 คน
นักกายภาพบำบัด 3 คน
นักเทคนิกการแพทย์ 5 คน
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1  คน
นักรังสีการแพทย์ 2 คน
 

ข้อมูลจาก รพ.สูงเนิน
สารสนเทศ สธ.  gishealth.moph.go.th

ประวัติโรงพยาบาลสูงเนิน ภาคบู้ลิ้ม ซู้งึ้งอุยหงี่

"ซู้งึ้งอุยหงี่" (อุยหงี่=โรงพยาบาล, ซู้งึ้ง=สูงเนิน) ตั้งอยู่บนถนนสาย โคลักซู้งึ้ง (โคราช-สูงเนิน) ในช่วงแรกได้ชื่อว่าเป็น ยุคสมัยแห่งการล้มลุกคลุกคลาน (ก่อนปี พ.ศ.2522) สมัยนั้นผู้คนในแคว้นซู้งึ้งประสบความยากลำบากนานัปการ มีความเจ็บไข้ได่วยล้มตายอยู่เนืองนิตย์ โรงยาที่ทานการจัดตั้งขึ้นแก้ปัญหาได้เพียงเล็กน้อย ประชาราษฎร์ถึงกับทำฎีกาขึ้นถวายส่วนกลางว่า เสนาบดีเอาแต่สนุกสนานเต้นระบำรำฟ้อน มิได้สนใจทุกข์ สุขราษฎร ต่อมาคหบดีผู้ใจบุญแห่งสำนักกิมก๊ก (บริษัทแหลมทอง) ได้บริจาคทรัพย์ถึง 2 ล้านชั่งเพื่อก่อสร้างซู้งึ้งอุยหงี่ ภายใต้การควบคุมการก่อสร้างจาก แปะเหนา ในบริเวณวัดซู้งึ้ง
 
พร้อมกับทางการได้ส่งผู้กล้าชุดแรก อันได้แก่ ผู้กล้าจากสำนักสีสิบลัก นามโต๋วเท้งเต้ง (นพ.ศิริชัย) ฉายาขุนพลหน้ายิ้ม และผู้กล้าจากสำนักลามา นามหยางซำหลง (นพ.สำเริง แหยงกระโทก) ฉายาหมัดพิฆาตเบียร์สิงห์ สองท่านนี้ได้เข้ามาฟื้นฟู ปรับระบบแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ ในการบริหารงานที่ผ่านมาให้เป็นระบบมากขึ้น มีการให้บริการพิเศษในวันหยุดราชการครึ่งวันเหมือนวันธรรมดา ยามค่ำคืนดึกดื่นก็มิได้พักผ่อนหลับนอน หากไม่เยียวยารักษาผ่าตัดผู้ป่วย ก็จะชักชวนไพล่พล ลิ่วล้อขึ้นหลังม้า บุกป่าฝ่าดงเข้าไปในป่าเขา หมู่บ้านกันดารห่างไกล ไต่ถามสารทุกข์บำบัด ช่วยเหลือปัดเป่าปัญหาต่างๆให้กับผู้คน สร้างความรักใคร่เป็นกันเองกับชาวบ้านร้านถิ่น ภาพพจน์ของอุยหงี่จึงได้แปรเปลี่ยนจากเดิมที่เหมือนโรงฆ่าสัตว์ เจ้าหน้าที่ละเลยไม่เอาใจใส่ต่อกิจการงาน เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ผู้คนได้เริ่มพากนหลั่งไหลมารักษามากขึ้น มิเพียงเฉพาะแคว้นซู้งึ้งเท่านั้น แม้แต่จากแคว้นใกล้เคียงได้ทราบกิตติศัพท์ก็พากันทยอยมา เพียงไม่กี่ปีโรงยาซู้งึ้งก็เป็นที่ทราบกิตติศัพท์กันดีในหมู่ประชาว่า บริการดี มีน้ำใจ
 
 
 
 
 
ยุคสร้างเมืองใหม่ (พ.ศ.2522-2524) ภายใต้ความสามารถปราดเปรื่องเยี่ยมวิทยายุทธของ หยางซำหลง และโต๋วเท้งเต้ง ได้เป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้เหี้ยมหาญอีกหลายท่านในยุทธจักรได้เดินทางมายังแคว้นซู้งึ้ง อันได้แก่ แม่ชีเจเพ็กเก็ง (ทันตแพทย์เจเจ’วิจิตร) ฉายาเขี้ยวทองอาญาสิทธิ์ ท่านผู้นี้มีหลักธรรมะ ความสมถะ และสันติธรรมต่อสู้กับปัญหาบ้านเมือง การเอารัดเอาเปรียบต่างๆ จิวเบ็งเฮ็ก (เภสัชกรจิ๋ว’วิทยา) ฉายาโอสถหัตถะมังกร ท่านผู้นี้ต่อมาได้มาเป็นหัวหน้าพรรคโอสถชุมชน และเป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้ง สำนักโอสถชุมชนขึ้นทุกหนทุกแห่งในแคว้นซู้งึ้ง เหลี่ยงโกเหล็ง ฉายาดรรชนีโลหิต ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ แอล เอ ก๊ก อ๋าบั๊กโก๋ (คุณเดือนชาติ’พ่อบ้านขณะนั้น) ฉายาบัณฑิตกระดาษแดง ผู้ระเหเร่ร่อนไปมา ได้ตั้งรกรากในซู้งึ้ง ต่อมาย้ายเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายในเมืองโคลัก โย๋วทิกัง (นพ.โยธี) ฉายาบัณฑิตสลาตัน ต่อมาย้ายไปเป็นผู้พิชิตรักษาโรคทารกในเมืองโคลัก ด๋าตวง ฉายามือพิชิตมาร นอหจากนี้ยังมีอีกหลายท่าน อาทิเช่น กังจ๊กหนาน (พี่น้อย’กาญจนา) หัวหน้าตึกโฉมสะคราญการุญ หวังหนี่หนี้ (พี่แอ๋ว’วารุณี) หัวหน้าตึกเปี่ยมคุณธรรม ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันบุกเบิกต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ทำความเจริญก้าวหน้าให้กับซู้งึ้งอุยหงี่ จนเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคบุกเบิก สร้างเมืองใหม่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
 
ยุคก้าวกระโดด (พ.ศ. 2525-2528) โต๋วเท้งเต้งได้รับบัญชาจากเสนาบดีมณฑลโคลัก ให้ไปกินเมืองโชวพ๋วย (อ.ชุมพวง) เพื่อบำบัดความทุกข์ยากให้กับชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน การจากไปของหมอโต๋วเท้งเต้งได้สร้างความอาลัยอาวรณ์กับผู้คนยิ่งนัก แต่หยางซำหลงกลับได้ผู้กล้ามือฉมังมาร่วมงานอีก 3 ท่าน อันได้แก่ บุ๋นซำฮง (นพ.ไพบูลย์) ฉายาลายเปื้อนฟ้า ผู้แซ่บุ๋น เจนจัดด้านข้อมูลข่าวสารวิชาการ ด้านเครื่องสมองกล ได้พัฒนาระบบการเก็บวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ ต่อมาๆได้ย้ายเป็นอาจารย์วิทยายุทธแห่งสำนักลามา เผ่าเง็กไหล (นพ.เผ่า) ฉายากระบี่ในรอยยิ้ม ผู้แซ่เผ่า นั้นถนัดในด้านการฝึกอบรม ได้ฝึกสอนทหารเล็กใหญ่ ทั้งภายในและนอกแคว้น จนซู้งึ้งอุยหงี่ มีชื่อเสียงในด้านเป็นสำนักฝึกหัดนักสู้ที่มีคุณภาพ ตู้ป้าเทียน (พี่อี๊ด’นิรันดร์) ฉายาดาบกล้วยไม้ ผู้แซ่ตู้นั้นรับผิดชอบด้านคดีความ ได้ช่วยรักษาการว่าความแทนหยางซำหลง ในครั้งที่ท่านได้ออกไปราชการต่างเมือง ในยุคนี้ได้เกิดสิ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่นการตั้งหอผลิตยาเสริมโลหิต, การก่อตั้งศูนย์ฝึกเยาวชน, การรับอาสาสมัครบู๊มาทำงานพัฒนาบ้านเมือง, การพัฒนาระบบด้านสุขาภิบาลและน้ำสะอาด ปริมาณผู้คนที่พากันหลั่งไหลมาด้วยความศรัทธามีปริมาณเพิ่มขึ้น นับได้ว่าเป็ยยุคแห่งการปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด
 
ยุค 3 “จ” 1 “ส” (กค.2528 – มี.ค.2529) หยางซำหลง ได้รับพระราชโองการจากเมืองหลวงให้ไปช่วยราชการในเมืองโคลัก ช่วงเวลานั้นขุนนางมือดี เช่นบุ๋นซำฮง, เผ่าเง็กไหล, ตู้ป้าเทียน ล้วนมีราชการต้องออกไปช่วยแคว้นใกล้เคียงทั้งสิ้น ทำให้ขาดผู้ดูแลแคว้นซู้งึ้ง หยางซำหลง ได้แต่งตั้งขุนนาง 3 ท่านให้รักษาว่าราชการเมือง ได้แก่ แม่ชีเจเพ็กเก็ง, จิวเบ็งเฮ็ก และจังกู๋พัง เนื่องจากแซ่ของบุคคลทั้งสาม ล้วนออกเสียงเป็นตัว “จ” ทั้งสิ้น ผู้คนในสมัยต่อมาจึงพากันขนานนามยุคนั้นว่ายุค 3 จ ท่านรักษาบ้านเมืองอยู่ไม่กี่เดือน ผู้สำเร็จราชการมณฑลได้ส่งเสนาบดีหญิงที่มีความสามารถท่านหนึ่งนาม ซูเพ้งตา (พญ.สุพัตรา) มาว่าราชการ ท่านผู้นี้ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองบ๊วยหยาย (อ.บัวใหญ่) และท้ายที่สุดเป็นผู้นำชมรมผู้กล้าเจ็ดสอบสองแคว้น ช่วงนี้เป็นระยะเวลาสั้นไม่ถึงปี จึงมิได้มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก ผู้คนพากันรียกยุคสมัยนี้ว่ายุค 3 จ. 1 ส.
 
ยุค “ล่องเรือฝ่าคลื่นลม” (พ.ศ.2529-2532) ผู้แซ่ตู้ ฉายาดาบกล้วยไม้ ได้กลับจากศึกษาวิทยายุทธขั้นสูง จากสำนักเสี้ยวลิ้มยี่ ส่วนกลางจึงแต่งตั้งให้ว่าราชการแทนหยางซำหลง ตู้ป้าเทียนนั้นถือได้ว่าเป็นทหารคนสนิทของหยางซำหลง เคยต่อสู้ร่วมรบกันหลายครั้งหลายครากิจการต่างๆจึงมีความคุ้นเคยกันอย่างดี การบริหารบ้านเมืองจึงสืบต่อในแนวลักษณะคล้านคลึงกับของเดิม ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายของขุนพลผู้กล้าต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา บางช่วงเป็นตอนหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงเปรียบประดุจเรือโคลงเคลงไปตามกระแสคลื่นลมแรงบ้าง ยุคนี้ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมากมายหลายเรื่องเช่น การพัฒนาระบบการแพทย์แผนโบราณ การนวด การใช้สมุนไพร การพัฒนาความสามารถด้านรักษาพยาบาลให้สูงขึ้น การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารโดยใช้เครื่องมือกล เป้นต้น

โรงพยาบาลสูงเนิน

280 หมู่ 8 ถนนมิตรสัมพันธ์ ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน นครราชสีมา 30170
โทรสาร 044-286424
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด