จากความรุนแรงของโรคทั้งสองข้างต้น หากไม่มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม จะต้องมีการทำลายสุกรเพื่อการควบคุมโรคและเกิดการสูญเสีย ดังนี้
1) ผลกระทบต่อเกษตรกร
ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจำนวน 187,272 ราย เป็นเกษตรกรรายย่อย 184,091 ราย เลี้ยงสุกรขุน 2,247,332 ตัว สุกรพันธุ์ 390,993 ตัว ลูกสุกร 689,562 ตัว เป็นเกษตรกรรายใหญ่ 3,181 ราย เลี้ยงสุกรขุน 5,746,265 ตัว สุกรพันธุ์ 683,998 ตัว และลูกสุกร 1,532,035 ตัว
1.1 กรณีเกิดโรคร้อยละ 30 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับเกษตรกรรายย่อยจำนวน 5,133,886,800 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 11,544,610,200 บาท รวม 16,678,497,000 บาท
1.2 กรณีเกิดโรคร้อยละ 50 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับเกษตรกรรายย่อยจำนวน 8,556,478,000 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 19,236,245,500 บาท รวม 27,792,723,500 บาท
1.3 กรณีเกิดโรคร้อยละ 80 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับเกษตรกรรายย่อยจำนวน 13,690,364,800 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 30,777,992,800 บาท รวม 44,468,357,600 บาท
1.4 กรณีเกิดโรคร้อยละ 100 ของสุกรที่เลี้ยง จะเกิดความสูญเสียสำหรับเกษตรกรรายย่อยจำนวน 17,112,956,000 บาท เกษตรกรรายใหญ่จำนวน 38,472,491,000 บาท รวม 55,585,447,000 บาท
2) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
2.1 โดนระงับการส่งออกเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป เป็นมูลค่าปีละประมาณ 6,000 ล้านบาท
2.2 สูญเสียโอกาสการส่งออกสุกรมีชีวิต เป็นมูลค่าปีละประมาณ 16,000 ล้านบาท โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มูลค่าประมาณ 1,700 ล้านบาท สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มูลค่าประมาณ 3,400 ล้านบาท
2.3 ด้านธุรกิจอาหารสัตว์ 66,666 ล้านบาท
2.4 ด้านธุรกิจเวชภัณฑ์ 3,500 ล้านบาท
2.5 ผลกระทบด้านราคาสุกรขุนมีชีวิตภายในประเทศ เนื่องจากผู้บริโภคเกิดความตื่นตระหนก ทำให้ราคาลดลง ดังนี้
2.5.1 ราคาลดลงกิโลกรัมละ 10 บาท ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ปีละ 22,000 ล้านบาท
2.5.2 ราคาลดลงกิโลกรัมละ 20 บาท ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ปีละ 44,000 ล้านบาท
2.5.3 ราคาลดลงกิโลกรัมละ 30 บาท ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ปีละ 66,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ข้อ 2.3 และ 2.4 ประมาณการความเสียหายจากการระบาดของโรคที่ร้อยละ 50
3) ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรเป็นจำนวนมาก และใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเป็นเวลานาน
ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีระบบการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างต่อเนื่องทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ และได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด รวมทั้งยังคงดำเนินการตามแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรโดยดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำลายสุกรและชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย อาศัยอำนาจตามมาตรา 13 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ซึ่งได้ดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2564 ในพื้นที่ 39 จังหวัด ได้แก่ อ่างทอง จันทบุรี ชลบุรี สระแก้ว ตราด ฉะเชิงเทรา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ นครพนม หนองคาย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ บึงกาฬ ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย แพร่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน อุทัยธานี อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช จำนวนเกษตรกร 4,855 ราย จำนวนสุกร 142,079 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 559,657,408 บาท
จำแนกเป็นประเภทของเกษตรกรตามปริมาณการเลี้ยงสุกรที่ดำเนินการตามมาตรการลดความเสี่ยงดังนี้
ขนาดฟาร์ม/ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร
ปีงบประมาณ 2563 จำนวนเกษตรกรที่ดำเนินการตามมาตรการลดความเสี่ยง
จำนวนเกษตรกร จำนวนสุกร จำนวนเกษตรกร จำนวนสุกร
ขนาดเล็ก 174,152 1,957,283 4,057 63,937
ขนาดกลาง 9,939 1,369,604 313 47,506
ขนาดใหญ่ 3,181 7,962,298 24 30,636
ภาพรวมทั้งประเทศ 187,272 11,289,185 4,394 142,079
หมายเหตุ :
1. การลดความเสี่ยงโดยใช้งบประมาณจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติในเกษตรกรจำนวน 1,617 ราย จำนวนสุกร 29,312 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 89,458,319 บาท
2. การลดความเสี่ยงโดยใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 ในเกษตรกรจำนวน 3,238 ราย 112,767 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 470,199,089 บาท