ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

28 กันยายนของทุกปี วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies day)

28 กันยายนของทุกปี วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies day) Thumb HealthServ.net
28 กันยายนของทุกปี วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies day) ThumbMobile HealthServ.net

วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies day) ตรงกับวันที่ 28 กันยายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่อป้องกัน กำจัด และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ประชาชนทุกคนสามารถร่วมมือร่วมใจกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยได้ โดยใช้หลัก 3 ป.



           วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก องค์กรรณรงค์ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าโลก (Global Alliance for Rabies Control) กำหนดให้เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทั่วโลก รู้ถึงความรุนแรงของโรคนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มียารักษา หากป่วยแล้วจะเสียชีวิตทุกราย โดยในปีนี้ได้กำหนดประเด็นรณรงค์ว่า “Rabies: One Health, Zero Death หรือ ทุกภาคส่วนร่วมใจ ประเทศไทยปลอดโรคพิษสุนัขบ้า” โดยโรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี หากป่วยแล้วผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย ซึ่งโรค พิษสุนัขบ้า เกิดได้ทั้งสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด สำหรับในประเทศไทยเกิดจากสุนัขเป็นหลัก ไม่ว่าคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อนี้แล้วต้องเสียชีวิตทุกราย
28 กันยายนของทุกปี วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies day) HealthServ
 




           ประชาชนทุกคนสามารถร่วมมือร่วมใจกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยได้ โดยใช้หลัก 3 ป. ดังนี้
 
 
           ป.ที่ 1 คือ ป้องกันสัตว์เป็นโรค

           โดยการนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เริ่มฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 2-4 เดือน และฉีดซ้ำตามกำหนดทุกปี ทำหมันสุนัขถาวรเพื่อไม่ให้มีจำนวนมากเกินความต้องการ จะช่วยลดสุนัขจรจัด และหากพบสัตว์ตายผิดปกติ ขอให้ส่งซากสัตว์ไปตรวจหาเชื้อซึ่งปัจจุบันสามารถส่งได้ทั้งตัวไม่ต้องตัดหัว ผู้ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่งตรวจได้ที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ในต่างจังหวัดส่งที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอ
 
 
           ป.ที่ 2 คือ ป้องกันการถูกกัด 

           ไม่ปล่อยสุนัขหรือแมวออกนอกบ้านตามลำพัง หากต้องพาออกไปนอกบ้านให้ใส่สายจูง นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถหลีกเลี่ยงการถูกกัดโดยยึดคาถา 5 ย. คือ 1.อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห โกรธ 2.อย่าเหยียบหาง หัว ตัว ขา หรือ ทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ตกใจ 3.อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า 4.อย่าหยิบชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร และ 5.อย่ายุ่งหรือเข้าใกล้กับสุนัขที่ไม่มีเจ้าของหรือไม่ทราบประวัติ
 
 
           ป.ที่ 3 ป้องกันหลังถูกกัด 

           โดยรีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่อย่างเบามือนานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อกำจัดเชื้อออกไปให้มากที่สุด จากนั้นใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผล และกักสุนัขเพื่อดูอาการ 10 วัน หากสุนัขตายให้ส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดให้ครบชุดและตรงตามแพทย์นัด อาจท่องจำง่ายๆ คือ "ล้างแผล ใส่ยา กักหมา หาหมอ และฉีดวัคซีนให้ครบ" เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422


 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด