ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์สำคัญสำหรับเด็ก กุมารแพทย์ แนะควรกินไข่วันละ 1 ฟอง

โปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์สำคัญสำหรับเด็ก กุมารแพทย์ แนะควรกินไข่วันละ 1 ฟอง Thumb HealthServ.net
โปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์สำคัญสำหรับเด็ก กุมารแพทย์ แนะควรกินไข่วันละ 1 ฟอง ThumbMobile HealthServ.net

กุมารแพทย์โรคระบบต่อมไร้ท่อ แนะเด็กต้องบริโภคโปรตีนจากเนื้อ นม ไข่ ให้เพียงพอ ย้ำไข่ไก่ กินได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง

โปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์สำคัญสำหรับเด็ก กุมารแพทย์ แนะควรกินไข่วันละ 1 ฟอง HealthServ
 
ผศ.พญ.กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล กุมารแพทย์ (โรคระบบต่อมไร้ท่อ) ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า โปรตีนและธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก จึงควรรับประทานโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนเป็นหลัก ได้แก่ ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ นม และถั่ว
 
“ปริมาณโปรตีนที่แนะนำในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ควรบริโภคไข่ไก่หรือเนื้อสัตว์ประมาณ 6-8 ช้อนโต๊ะต่อวัน (โดยไข่ไก่ 1 ฟองเทียบเท่าเนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ เทียบเท่ากับโปรตีน1 ส่วนต่อมื้อ) โดยเป็นไข่ไก่ อย่างน้อย 1 มื้อ และในมื้อถัดไปให้เป็นเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ หรือเนื้อหมู เพื่อให้มีโปรตีนที่หลากหลายสลับกันไป รวมถึงให้กินนม 2-3 กล่องต่อวัน สำหรับเด็กโต เพิ่มเนื้อสัตว์เป็น 3 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ และเพิ่มนมเป็น 3-4 กล่องต่อวัน อาหารในปริมาณนี้เด็กๆ ก็จะได้รับโปรตีนได้อย่างครบถ้วน” ผศ.พญ.กัลย์สุดา กล่าว
 
 
โปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์สำคัญสำหรับเด็ก กุมารแพทย์ แนะควรกินไข่วันละ 1 ฟอง HealthServ

สำหรับ “ไข่ไก่” โปรตีนคุณภาพดี หาซื้อง่าย ราคาไม่สูง ทุกคนเข้าถึงได้ ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เหมาะสำหรับทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต สามารถกินได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง หรือมากกว่านั้นได้ เนื่องจากเด็กไม่ได้มีข้อจำกัดในการกินไข่ ไม่มีปัญหาเรื่องไขมัน ส่วนผู้ใหญ่ที่ไม่มีโรคประจำตัวสามารถกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง แม้ว่าคอเลสเตอรอลในไข่แดงจะมีปริมาณ 200 มิลลิกรัม แต่คอเลสเตอรอลในอาหารไม่ได้ทำให้ไขมันในเลือดสูง โดยมีงานวิจัยยืนยันว่าคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงไม่ได้เกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เพราะคอเลสเตอรอลในเลือดส่วนใหญ่มาจากการที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเอง แต่สิ่งที่ควรระวังคือการกินไปพร้อมกับอาหารอื่นๆ ที่มีไขมันสูงร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ได้รับปริมาณไขมันที่มากเกินไป”./
 

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
02-5022345

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด