ตรวจสุขภาพประจำปี ฟรีทั้งค่าตรวจ-ค่าเดินทาง
ปัญหา
ปัจจุบันนโยบายสาธารณสุขของไทย เน้นเรื่องด้านการรักษามากกว่าด้านการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพโฆษณาของ สสส. ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านการบริโภค (เช่น กินอาหารรสจัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากนี้ภาครัฐยังขาดการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย (เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี และการรักษาโรคตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระยะยาว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
นอกจากนั้น สิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บางประการที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของคนไทย อาทิ แว่นตาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การคัดกรองมะเร็ง วัคซีนป้องกันโรคบางโรคสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการตรวจสุขภาพจิต ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า
ข้อเสนอ
ตรวจสุขภาพประจำปีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต พร้อมกับให้ค่าเดินทางสำหรับเดินทางมาตรวจสุขภาพ
ตรวจสุขภาพประจำปี รวมคัดกรองมะเร็ง 6 ชนิดฟรี สำหรับกลุ่มเสี่ยง
ปัญหา
ปัจจุบันนโยบายสาธารณสุขของไทย เน้นเรื่องด้านการรักษามากกว่าด้านการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพโฆษณาของ สสส. ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านการบริโภค (เช่น กินอาหารรสจัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากนี้ภาครัฐยังขาดการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย (เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี และการรักษาโรคตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระยะยาว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
นอกจากนั้น สิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บางประการที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของคนไทย อาทิ แว่นตาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การคัดกรองมะเร็ง วัคซีนป้องกันโรคบางโรคสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการตรวจสุขภาพจิต ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า
ข้อเสนอ
- ที่ผ่านมา สิทธิในการคัดกรองมะเร็งหลายโรคอยู่ในสิทธิบัตรทองอยู่แล้ว แต่ยังติดที่ต้องมีอาการบ่งชี้ก่อน จึงจะให้แพทย์สั่งตรวจได้ ยกเว้นมะเร็งปากมดลูก ทำให้มีประชาชนกลุ่มเสียง เข้าไม่ถึง และตกหล่นจากการคัดกรองมะเร็ง
- บรรจุสิทธิคัดกรองมะเร็งที่พบบ่อย 6 ชนิดลงในสิทธิตรวจสุขภาพบัตรทองตามความเสี่ยง ไม่ต้องรอแพทย์สั่ง เพื่อให้เข้าถึงการรักษามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีค่าเดินทางเพื่อจูงใจให้ทุกคนเข้ามาตรวจสุขภาพ
พัฒนาสิทธิการคัดกรองมะเร็ง 6 ชนิด ให้เข้าถึงง่ายและดีขึ้น ดังนี้
มะเร็งเต้านม
- ปัจจุบันมีการตรวจ mammogram อยู่แล้ว แต่ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งตรวจ การคัดกรองดังกล่าวจึงควรอยู่ในสิทธิการตรวจสุขภาพประจำปี ขึ้นกับความเสี่ยง ได้แก่
- ผู้หญิง 40 - 55 ปีที่ไม่มีอาการ ควรได้ตรวจ mammogram ทุก 1 ปี
- ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจ mammography ทุก 2 ปี
- กลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจทุกปี ไม่ว่าจะเป็นผุ้หญิงที่มีคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งเต้านม ผู้ที่เคยได้รับการฉายแสงบริเวณหน้าอกเพื่อรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้มีประวัติการรับฮอร์โมนเสริมหลังหมดประจำเดือนติดต่อกันเกิน 5 ปี
มะเร็งปากมดลูก
- ปัจจุบันสิทธิในการตรวจ pap smear ในผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป หรือเคยมีเพศสัมพันธ์ ครอบคลุมในสิทธิบัตรทองอยู่แล้ว ตามสิทธิเฝ้าระวังโรค แต่ผู้ที่ไม่ได้เข้าไปใช้สิทธิยังมีอีกมาก
- การระบุสิทธิคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในการตรวจสุขภาพประจำปี และมีค่าเดินทางให้ จะช่วยจูงใจให้ทุกคนเข้าตรวจคัดกรองมากขึ้น
มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ปัจจุบัน สิทธิในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตามบัตรทอง คือ การตรวจเลือดในอุจจาระ ซึ่งยังไม่แม่นยำ หากไม่ทำคู่กับการส่องกล้อง Colonoscopy ร่วมด้วย
- เพิ่มสิทธิในการตรวจส่องกล้องให้กับกลุ่มเสี่ยงมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยอายุเริ่มตรวจ นับจากอายุของผู้ที่เป็นมะเร็งในครอบครัว ลบ 10 ปี และตรวจทุก1 - 3 ปี
มะเร็งต่อมลูกหมาก
- ปัจจุบัน การเจาะเลือดดูค่า PSA เพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากต้องให้แพทย์สั่งตามข้อบ่งชี้ ไม่สามารถเริ่มตรวจเองได้
- เพิ่มสิทธิการตรวจเข้าไปในการตรวจสุขภาพประจำปี ที่ต้องมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพอยู่แล้ว
มะเร็งตับ
- การเจาะเลือดดูค่า AFP และการ ultra-sound ช่องท้องเป็นสิทธิบัตรทอง ปกติไม่จำเป็นต้องคัดกรองทุกคน ยกเว้นกลุ่มที่เป็นไวรัสตับอักเสบที่แพทย์จะต้องให้คัดกรองอยู่แล้ว
- เพิ่มสิทธิในกลุ่มเสี่ยง เช่น ในภาคอีสานจะมีมะเร็งตับอีกชนิด คือ Cholangiocarcinoma ที่เกิดจากพยาธิใบไม้ในตับที่มาจากปลาน้ำจืด ซึ่งกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นประจำ ควรจะต้องรับการคัดกรองมะเร็งส่วนนี้อย่างสม่ำเสมอ
มะเร็งปอด
- ปัจจุบันตามสิทธิบัตรทองมีทำเอ็กซเรย์ปอดแต่ยังขาดความแม่นยำในการคัดกรอง ควรใช้วิธีการคัดกรองด้วย CT ที่แม่นยำกว่า
- เพิ่มสิทธิในการตรวจ CT ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอด ได้แก่ กลุ่มที่อายุ 55 ปี ขึ้นไปที่เป็นผู้สูบบุหรี่จัดในอัตรา 30 pack-year เป็นต้นไป รวมถึงกลุ่มเสี่ยงในภูมิภาคมีปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 และมลพิษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
วัคซีนเพิ่มเติมฟรีในเด็กและผู้ใหญ่
ปัญหา
ปัจจุบันนโยบายสาธารณสุขของไทย เน้นเรื่องด้านการรักษามากกว่าด้านการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพโฆษณาของ สสส. ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านการบริโภค (เช่น กินอาหารรสจัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากนี้ภาครัฐยังขาดการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย (เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี และการรักษาโรคตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระยะยาว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
นอกจากนั้น สิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บางประการที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของคนไทย อาทิ แว่นตาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การคัดกรองมะเร็ง วัคซีนป้องกันโรคบางโรคสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการตรวจสุขภาพจิต ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า
ข้อเสนอ
- วัคซีนเด็ก - เพิ่มวัคซีนหลายประเภท
- โรคไข้หวัดใหญ่
- โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่กลับมาระบาดสูงอีกครั้ง และพบมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 5-14 ปี การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี่ ลดความรุนแรงของโรคได้กว่า 80 %
- โรคพิษสุนัขบ้า การฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็กจะช่วยลดจำนวนวัคซีนที่ต้องฉีดกรณีที่พบว่าเสี่ยงได้รับโรคพิษสุนัขบ้าในภายหลัง ซึ่งวัคซีนที่ต้องฉีดหากไม่เคยได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้ามาก่อนมีราคาที่ค่อนข้างสูง
- โรคอีสุกอีใส โดยฉีดเป็นวัคซีน MMRV ที่รวมเข็มกับวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน หรือ MMR ในวัคซีนจำเป็นเดิม
- วัคซีนผู้สูงอายุ - เพิ่มวัคซีนปอดอักเสบ
- โรคปอดอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด สำหรับผู้สูงวัย ฉีดเข็มเดียวแต่ป้องกันได้ตลอดชีวิต โดยอาการปอดบวมและติดเชื้อในกระแสเลือด ถือเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตหลักของผู้สูงอายุ
แว่นตาฟรีถึง 18 ปี
ปัญหา
ปัจจุบันนโยบายสาธารณสุขของไทย เน้นเรื่องด้านการรักษามากกว่าด้านการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพโฆษณาของ สสส. ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านการบริโภค (เช่น กินอาหารรสจัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากนี้ภาครัฐยังขาดการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย (เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี และการรักษาโรคตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระยะยาว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
นอกจากนั้น สิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บางประการที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของคนไทย อาทิ แว่นตาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การคัดกรองมะเร็ง วัคซีนป้องกันโรคบางโรคสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการตรวจสุขภาพจิต ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า
ข้อเสนอ
ให้แว่นตาฟรี สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มีปัญหาทางสายตา อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สุขภาพดี มีรางวัล (Health Score)
ปัญหา
ปัจจุบันนโยบายสาธารณสุขของไทย เน้นเรื่องด้านการรักษามากกว่าด้านการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพโฆษณาของ สสส. ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านการบริโภค (เช่น กินอาหารรสจัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากนี้ภาครัฐยังขาดการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย (เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี และการรักษาโรคตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระยะยาว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
นอกจากนั้น สิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บางประการที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของคนไทย อาทิ แว่นตาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การคัดกรองมะเร็ง วัคซีนป้องกันโรคบางโรคสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการตรวจสุขภาพจิต ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า
ข้อเสนอ
เพิ่มระบบแรงจูงใจประจำปี – เป้าหมายสุขภาพรายบุคคล
เป้าหมายสุขภาพรายบุคคล เป็นระบบคะแนนสุขภาพที่ขึ้นอยู่กับ
พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ จำนวนก้าวในการเดินต่อวัน
ผลการตรวจสุขภาพประจำปี เช่น เลือด น้ำหนัก BMI
การเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามคำสั่งแพทย์
การไม่มีภาวะเจ็บป่วยที่ต้องมาโรงพยาบาล
ได้รับคูปองอาหารอินทรีย์/สินค้าสุขภาพ 300 บาท/ปี หรือรางวัลอื่น ๆ ที่จูงใจประชาชนให้รักษาสุขภาพ
ทบทวนสิทธิประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และกองทุนประกันสังคม
ปัญหา
ปัจจุบันนโยบายสาธารณสุขของไทย เน้นเรื่องด้านการรักษามากกว่าด้านการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพโฆษณาของ สสส. ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านการบริโภค (เช่น กินอาหารรสจัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ นำไปสู่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากนี้ภาครัฐยังขาดการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย (เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี และการรักษาโรคตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด) ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระยะยาว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
นอกจากนั้น สิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์บางประการที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของคนไทย อาทิ แว่นตาสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การคัดกรองมะเร็ง วัคซีนป้องกันโรคบางโรคสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการตรวจสุขภาพจิต ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า
ข้อเสนอ
ทบทวนบัญชียาหลักในระบบและสิทธิประโยชน์ในกองทุนสุขภาพให้เท่าทันกับวิทยาการทางแพทย์
ตรวจสุขภาพประจำปี ต้องมีตรวจสุขภาพจิตด้วย
ปัญหา
จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยอาจสูงถึง 1.5 ล้านคน หรือเฉลี่ยคนไทย 40 คน จะพบผู้ป่วยซึมเศร้า 1 คน โดยสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยเฉพาะกิจอย่างโควิด-19 ที่เพิ่มความเครียดให้กับผู้คน (เช่น นักเรียนจากการเรียนออนไลน์ คนวัยทำงานจากสภาพเศรษฐกิจ) และปัจจัยถาวรต่างๆที่งานวิจัยระบุว่าทำให้คนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มจะประสบปัญหาโรคซึมเศร้ามากกว่ารุ่นก่อนๆ (เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย ที่เสี่ยงทำให้คนรู้สึกผิดหวังในตัวเองง่ายขึ้น จากการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตของคนอื่น) และพบว่าคนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 1 อาเซียน จากปัญหาด้านสุขภาพจิต
ข้อเสนอ
กำหนดให้มีการตรวจสุขภาพจิตฟรี รวมเข้าไปในแพคเกจของการตรวจสุขภาพประจำปีตามสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชน
ดูแลสุขภาพจิตครบวงจร เพิ่มบุคลากร-ขยายบัญชียา-ใช้เทคโนโลยี
ปัญหา
จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยอาจสูงถึง 1.5 ล้านคน หรือเฉลี่ยคนไทย 40 คน จะพบผู้ป่วยซึมเศร้า 1 คน โดยสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยเฉพาะกิจอย่างโควิด-19 ที่เพิ่มความเครียดให้กับผู้คน (เช่น นักเรียนจากการเรียนออนไลน์ คนวัยทำงานจากสภาพเศรษฐกิจ) และปัจจัยถาวรต่างๆที่งานวิจัยระบุว่าทำให้คนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มจะประสบปัญหาโรคซึมเศร้ามากกว่ารุ่นก่อนๆ (เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย ที่เสี่ยงทำให้คนรู้สึกผิดหวังในตัวเองง่ายขึ้น จากการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตของคนอื่น) และพบว่าคนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 1 อาเซียน จากปัญหาด้านสุขภาพจิต
ข้อเสนอ
เพิ่มบุคลากรด้านสุขภาพจิต (เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา)
ทบทวนบัญชียาหลักในระบบให้เท่าทันกับวิทยาการทางแพทย์
พัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตรูปแบบใหม่ (เช่น การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) แพลตฟอร์มสุขภาพจิต)
คลินิกเยาวชน ปรึกษาได้ ไม่ต้องรายงานผู้ปกครอง-โรงเรียน
ปัญหา
จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยอาจสูงถึง 1.5 ล้านคน หรือเฉลี่ยคนไทย 40 คน จะพบผู้ป่วยซึมเศร้า 1 คน โดยสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยเฉพาะกิจอย่างโควิด-19 ที่เพิ่มความเครียดให้กับผู้คน (เช่น นักเรียนจากการเรียนออนไลน์ คนวัยทำงานจากสภาพเศรษฐกิจ) และปัจจัยถาวรต่างๆที่งานวิจัยระบุว่าทำให้คนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มจะประสบปัญหาโรคซึมเศร้ามากกว่ารุ่นก่อนๆ (เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย ที่เสี่ยงทำให้คนรู้สึกผิดหวังในตัวเองง่ายขึ้น จากการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตของคนอื่น) และพบว่าคนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 1 อาเซียน จากปัญหาด้านสุขภาพจิต
ข้อเสนอ
จัดตั้งคลินิกเยาวชน เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการดูแลปัญหาด้านสุขภาพจิตให้เยาวชนโดยไม่จำเป็นต้องรายงานกับผู้ปกครองหรือโรงเรียน (ที่บางครั้งเป็นสาเหตุของปัญหา) และทำหน้าที่คัดกรองเบื้องต้นก่อนส่งต่อ
สร้างสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี
ปัญหา
จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยอาจสูงถึง 1.5 ล้านคน หรือเฉลี่ยคนไทย 40 คน จะพบผู้ป่วยซึมเศร้า 1 คน โดยสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยเฉพาะกิจอย่างโควิด-19 ที่เพิ่มความเครียดให้กับผู้คน (เช่น นักเรียนจากการเรียนออนไลน์ คนวัยทำงานจากสภาพเศรษฐกิจ) และปัจจัยถาวรต่างๆที่งานวิจัยระบุว่าทำให้คนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มจะประสบปัญหาโรคซึมเศร้ามากกว่ารุ่นก่อนๆ (เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย ที่เสี่ยงทำให้คนรู้สึกผิดหวังในตัวเองง่ายขึ้น จากการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตของคนอื่น) และพบว่าคนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 1 อาเซียน จากปัญหาด้านสุขภาพจิต
ข้อเสนอ
ลดปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่เกิดจนแก่ เช่น
- การมีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งสำหรับเด็กเล็ก พ่อแม่มือใหม่ได้รับการเสริมทักษะและการเตรียมความพร้อมทางสภาพจิตใจสำหรับการเลี้ยงดูลูก
- การออกแบบระบบการศึกษาที่ไม่สร้างแรงกดดันเกินเหตุสำหรับนักเรียน (เช่น จำนวนชั่วโมงเรียนที่เหมาะสม ไม่มีอำนาจนิยมในโรงเรียน)
- สภาพแวดล้อมและรูปแบบความสัมพันธ์ในชีวิตการทำงานที่เหมาะสม (เช่น สภาพการทำงานที่ปลอดภัย การเงินที่มั่นคง เวลาพักผ่อนที่เพียงพอ)
- การเพิ่มพื้นที่สาธารณะที่คนสามารถแลกเปลี่ยน รับฟัง หรือผ่อนคลาย (เช่น กิจกรรมดนตรีในสวน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การมีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันสำหรับผู้สูงวัย)
- การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมที่ทั่วถึงและถ้วนหน้า เพื่อเป็นตาข่ายรองรับความไม่แน่นอนในชีวิตรูปแบบต่างๆ
- การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และลดการเลือกปฏิบัติ ที่เสี่ยงจะเพิ่มความเครียดและความรู้สึกไม่เป็นธรรม
สร้างแนวหน้าสุขภาพจิต ช่วยดูแล-บำบัด-ฟื้นฟูสุขภาพจิตของคนใกล้ตัว
ปัญหา
จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยอาจสูงถึง 1.5 ล้านคน หรือเฉลี่ยคนไทย 40 คน จะพบผู้ป่วยซึมเศร้า 1 คน โดยสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยเฉพาะกิจอย่างโควิด-19 ที่เพิ่มความเครียดให้กับผู้คน (เช่น นักเรียนจากการเรียนออนไลน์ คนวัยทำงานจากสภาพเศรษฐกิจ) และปัจจัยถาวรต่างๆที่งานวิจัยระบุว่าทำให้คนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มจะประสบปัญหาโรคซึมเศร้ามากกว่ารุ่นก่อนๆ (เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย ที่เสี่ยงทำให้คนรู้สึกผิดหวังในตัวเองง่ายขึ้น จากการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตของคนอื่น) และพบว่าคนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 1 อาเซียน จากปัญหาด้านสุขภาพจิต
ข้อเสนอ
ยกระดับให้คนทุกคนในสังคมมาร่วมเป็น “แนวหน้าสุขภาพจิต” ที่มาช่วยสร้างเสริม ดูแล บำบัด และฟื้นฟูสุขภาพจิตของคนใกล้ตัวตามระดับความเชี่ยวชาญของตน ตั้งแต่
- บุคลากรในครอบครัว (เช่น พ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลลูก คู่สมรส ลูกหลานที่ช่วยดูแลผู้สูงอายุ)
- บุคลากรในโรงเรียน (เช่น นักจิตวิทยาประจำกลุ่มโรงเรียนที่ให้คำปรึกษา คุณครูที่ได้รับการเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของผู้เรียน เพื่อนนักเรียนที่ช่วยดูแลกันและกัน)
- บุคลากรในสถานประกอบการ (เช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล)
อบรมประชาชนทุกกลุ่มด้วยทักษะขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพจิต เช่น
- ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต
- การเสริมทักษะการรับฟัง การสร้างกำลังใจ และการให้คำปรึกษา
- การพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือประเมินความเสี่ยงพื้นฐาน ที่ทุกคนเข้าถึงและนำไปใช้งานต่อได้ (เช่น แบบทดสอบ 9 ข้อ สำหรับคัดกรองอาการซึมเศร้า)
ยกระดับ รพ. สต. และศูนย์สาธารณสุขชุมชน Primary Care Unit (PCU)
ปัญหา
เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ เนื่องจากสถานบริการสาธารณสุขแบบปฐมภูมิขาดความพร้อม โดยเฉพาะด้านบุคลากร นอกจากนี้ประชาชนยังต้องมีภาระในการขอข้อมูลสุขภาพของตัวเองระหว่างโรงพยาบาล ในกรณีที่ต้องมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น และการเข้าถึงเตียงผู้ป่วยใน ที่ถึงเข้าได้ยาก เพราะเตียงมักจะเต็ม และต้องใช้เวลาในการส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่นที่มีเตียงว่าง นอกจากนี้การเข้ารับรักษาในห้องฉุกเฉินมักมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินจริง ทำให้เป็นการลดศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
ข้อเสนอ
ยกระดับบทบาทของสถานบริการสาธารณสุขแบบปฐมภูมิให้เน้น
(ก) การสร้างเสริมสุขภาพ
(ข) การติดตามโรคเรื้อรัง
(ค) การช่วยเหลือผู้ป่วยเร่งด่วน
(ง) การลดภาระในโรงพยาบาลใหญ่
เวียนแพทย์จากโรงพยาบาลอำเภอ มาปฏิบัติงานใน รพ.สต. ตามรอบที่กำหนดหรือติดตั้งระบบ Telemedicine ในกรณีที่แพทย์ไม่เพียงพอ
ปลดล็อกระบบการแพทย์ออนไลน์ Telemedicine
ปัญหา
เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ เนื่องจากสถานบริการสาธารณสุขแบบปฐมภูมิขาดความพร้อม โดยเฉพาะด้านบุคลากร นอกจากนี้ประชาชนยังต้องมีภาระในการขอข้อมูลสุขภาพของตัวเองระหว่างโรงพยาบาล ในกรณีที่ต้องมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น และการเข้าถึงเตียงผู้ป่วยใน ที่ถึงเข้าได้ยาก เพราะเตียงมักจะเต็ม และต้องใช้เวลาในการส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่นที่มีเตียงว่าง นอกจากนี้การเข้ารับรักษาในห้องฉุกเฉินมักมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินจริง ทำให้เป็นการลดศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
ข้อเสนอ
- พัฒนาระบบ Telemedicine สำหรับการพบแพทย์ ตามนัดหมายหรือในกรณีฉุกเฉิน
- แก้ประกาศแพทยสภา เรื่อง มาตรฐานการตรวจรักษา เพื่อให้สามารถทำ telemed โดยไม่ต้องตรวจร่างกายได้
ยุติการตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ รับยาฟรี ทุก รพ.สต.
ปัญหา
เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ เนื่องจากสถานบริการสาธารณสุขแบบปฐมภูมิขาดความพร้อม โดยเฉพาะด้านบุคลากร นอกจากนี้ประชาชนยังต้องมีภาระในการขอข้อมูลสุขภาพของตัวเองระหว่างโรงพยาบาล ในกรณีที่ต้องมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น และการเข้าถึงเตียงผู้ป่วยใน ที่ถึงเข้าได้ยาก เพราะเตียงมักจะเต็ม และต้องใช้เวลาในการส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่นที่มีเตียงว่าง นอกจากนี้การเข้ารับรักษาในห้องฉุกเฉินมักมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินจริง ทำให้เป็นการลดศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
ข้อเสนอ
- คุ้มครองสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ สำหรับบุคคลที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ให้สามารถรับยายุติการตั้งครรภ์ได้ที่ รพ.สต. ทุกแห่งทั่วประเทศ
- โดยขั้นตอนของการขอรับยาคือ ให้ผู้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และต้องการยุติการตั้งครรภ์ สามารถเข้ามาพบแพทย์ที่ รพ.สต. ใกล้บ้าน (ทั้งในรูปแบบ Telemedicine และพบแพทย์โดยตรง) เพื่อทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อจ่ายยายุติการตั้งครรภ์ต่อไป
- มีการให้คำปรึกษาหลังจากการยุติการตั้งครรภ์ฟรี เพื่อตรวจสอบและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้หญิงที่เข้ารับการยุติการตั้งครรภ์
ลดความแออัดในโรงพยาบาล - ห้องฉุกเฉิน (ER) กันไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
ปัญหา
ปัจจุบัน ผู้ป่วยประสบปัญหาความล่าช้าและยุ่งยากในการส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษา และการหาเตียงในโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากโรงพยาบาลรัฐหลาย ๆ แห่งมักเตียงเต็ม ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการเชื่อมต่อข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย และจำนวนเตียงของโรงพยาบาล ที่ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
นอกจากนี้การบริจาคอวัยวะของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะกับผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนอวัยวะเพื่อต่อชีวิตของตัวเอง
ข้อเสนอ
การสงวนการตรวจในห้องฉุกเฉิน (ER) ไว้สำหรับอาการฉุกเฉิน ในกรณีผู้ป่วยอาการไม่ฉุกเฉินต้องรับบัตรคิว เพื่อมาตรวจในวันพรุ่งนี้
ส่งต่อ-หาเตียงแบบไร้รอยต่อ ด้วยศูนย์รวมเตียง-ระบบเชื่อมข้อมูลสุขภาพ
ปัญหา
ปัจจุบัน ผู้ป่วยประสบปัญหาความล่าช้าและยุ่งยากในการส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษา และการหาเตียงในโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากโรงพยาบาลรัฐหลาย ๆ แห่งมักเตียงเต็ม ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการเชื่อมต่อข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย และจำนวนเตียงของโรงพยาบาล ที่ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
นอกจากนี้การบริจาคอวัยวะของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะกับผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนอวัยวะเพื่อต่อชีวิตของตัวเอง
ข้อเสนอ
- เชื่อมต่อข้อมูลด้านสาธารณสุขของแต่ละโรงพยาบาล ให้สามารถเรียกดูเวชระเบียนคนไข้ได้จากทุกที่เมื่อได้รับอนุญาตจากคนไข้ในฐานะเจ้าของข้อมูล เพื่อความสะดวกในการส่งต่อผู้ป่วย
- ทำระบบรวมเตียงส่วนกลาง / Central Referral Centre โดยอาจเริ่มจากการนำเอาจำนวนเตียงว่าง 10-20% ของแต่ละโรงพยาบาลมาแชร์ข้อมูลกับส่วนกลางเพื่อให้รู้ว่าโรงพยาบาลไหนมีเตียงว่างบ้าง
เพิ่มยอดบริจาคอวัยวะเชิงรุก ถามทุกครั้งที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน
ปัญหา
ปัจจุบัน ผู้ป่วยประสบปัญหาความล่าช้าและยุ่งยากในการส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษา และการหาเตียงในโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากโรงพยาบาลรัฐหลาย ๆ แห่งมักเตียงเต็ม ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการเชื่อมต่อข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย และจำนวนเตียงของโรงพยาบาล ที่ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
นอกจากนี้การบริจาคอวัยวะของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะกับผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนอวัยวะเพื่อต่อชีวิตของตัวเอง
ข้อเสนอ
กำหนดให้เพิ่มคำถามเรื่อง “การบริจาคอวัยวะ” ทุกครั้งที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน และบันทึกข้อมูลลงในชิปบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบเมื่อผู้บริจาคอวัยวะเสียชีวิต
กองทุนดูแลผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยติดเตียง งบประมาณเฉลี่ย 9,000 บาท/คน/เดือน
ปัญหา
ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหรือเข้าไม่ถึงการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยในระยะปานกลาง ระยะยาว ระยะประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแล ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุและไม่สามารถพึ่งพาตัวเอง ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาในระยะนี้อย่างมีคุณภาพ หากจะเข้าการรักษาก็ต้องเป็นภาระของบุตรหลานหรือญาติในการดูแล เนื่องในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชุนยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรในการรักษาระยะปานกลาง ระยะยาว และระยะประคับประคอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาในระยะประคับประคอง (Palliative Care) ที่ยังไม่เข้าถึงในสถานบริการแบบปฐมภูมิ ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือระยะประคับประคองเข้าไม่ถึงการรักษาแบบประคับประคอง ที่จะทำให้ตัวเองไม่ทรมานจากความเจ็บปวดจากอาการป่วยระยะสุดท้าย นอกจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการรักษาในระยะประคับประคอง เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไปไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้ ส่วนแพทย์เฉพาะทางก็มีจำนวนน้อยและไม่ได้มีเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพที่ดี อีกทั้งยังขาดโครงพื้นฐานและความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคอง
นอกจากการรักษาแบบประคับประคอง สิทธิที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความเจ็บป่วยทางกายแบบรักษาไม่ได้ที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรี หรือการทำการุณยฆาตเป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยบางคนต้องทนทุกข์ทรมานก่อนเสียชีวิต
ข้อเสนอ
- พัฒนาให้ระบบสุขภาพสุขภาพปฐมภูมิดูแลเรื่องการฟื้นฟูที่บ้าน/ชุมชนได้ ผ่านการดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- พัฒนาระบบกองทุนดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว งบประมาณ 9,000 บาท/คน/เดือน (นโยบายสวัสดิการ) ผ่านการดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชน อย่างน้อยอำเภอละหนึ่งแห่ง
ปัญหา
ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหรือเข้าไม่ถึงการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยในระยะปานกลาง ระยะยาว ระยะประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแล ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุและไม่สามารถพึ่งพาตัวเอง ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาในระยะนี้อย่างมีคุณภาพ หากจะเข้าการรักษาก็ต้องเป็นภาระของบุตรหลานหรือญาติในการดูแล เนื่องในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชุนยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรในการรักษาระยะปานกลาง ระยะยาว และระยะประคับประคอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาในระยะประคับประคอง (Palliative Care) ที่ยังไม่เข้าถึงในสถานบริการแบบปฐมภูมิ ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือระยะประคับประคองเข้าไม่ถึงการรักษาแบบประคับประคอง ที่จะทำให้ตัวเองไม่ทรมานจากความเจ็บปวดจากอาการป่วยระยะสุดท้าย นอกจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการรักษาในระยะประคับประคอง เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไปไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้ ส่วนแพทย์เฉพาะทางก็มีจำนวนน้อยและไม่ได้มีเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพที่ดี อีกทั้งยังขาดโครงพื้นฐานและความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคอง
นอกจากการรักษาแบบประคับประคอง สิทธิที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความเจ็บป่วยทางกายแบบรักษาไม่ได้ที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรี หรือการทำการุณยฆาตเป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยบางคนต้องทนทุกข์ทรมานก่อนเสียชีวิต
ข้อเสนอ
- พัฒนาศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชน อย่างน้อยอำเภอละหนึ่งแห่ง
- พัฒนาหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ทั้งสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับผู้ดูแลมืออาชีพ สำหรับอาสาสมัครในชุมชน และสำหรับครอบครัวของผู้ป่วย
- ยกระดับสถานบริการสาธารณสุขแบบปฐมภูมิ พัฒนา อสม. ให้ทำหน้าที่บางอย่าง (เช่น ดูแลผู้ป่วย NCD ได้) โดยมีค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น
- เปิดให้ประชาชนวางแผนล่วงหน้า (Advanced Care Plan) เพื่อยินยอมเข้ารับการรักษาแบบประคับประคอง
ธนาคารอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
ปัญหา
ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหรือเข้าไม่ถึงการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยในระยะปานกลาง ระยะยาว ระยะประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแล ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุและไม่สามารถพึ่งพาตัวเอง ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาในระยะนี้อย่างมีคุณภาพ หากจะเข้าการรักษาก็ต้องเป็นภาระของบุตรหลานหรือญาติในการดูแล เนื่องในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชุนยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรในการรักษาระยะปานกลาง ระยะยาว และระยะประคับประคอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาในระยะประคับประคอง (Palliative Care) ที่ยังไม่เข้าถึงในสถานบริการแบบปฐมภูมิ ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือระยะประคับประคองเข้าไม่ถึงการรักษาแบบประคับประคอง ที่จะทำให้ตัวเองไม่ทรมานจากความเจ็บปวดจากอาการป่วยระยะสุดท้าย นอกจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการรักษาในระยะประคับประคอง เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไปไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้ ส่วนแพทย์เฉพาะทางก็มีจำนวนน้อยและไม่ได้มีเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพที่ดี อีกทั้งยังขาดโครงพื้นฐานและความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคอง
นอกจากการรักษาแบบประคับประคอง สิทธิที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความเจ็บป่วยทางกายแบบรักษาไม่ได้ที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรี หรือการทำการุณยฆาตเป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยบางคนต้องทนทุกข์ทรมานก่อนเสียชีวิต
ข้อเสนอ
จัดตั้งธนาคารอุปกรณ์ให้ยืมอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (เช่น เครื่องปั๊มออกซิเจน เครื่องให้ยาชั่วคราว) โดยให้เทศบาลหรืออบต. เป็นผู้บริหารจัดการธนาคารอุปกรณ์ โดยเป็นผู้จัดซื้ออุปกรณ์ให้ประชาชนยืม หรือรับบริจาคจากประชาชนหรือภาคเอกชนที่ประสงค์จะสนับสนุนอุปกรณ์
ลาไปบอกลา - เพิ่มสิทธิวันลาดูแลพ่อ-แม่ที่ป่วยระยะสุดท้าย
ปัญหา
ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหรือเข้าไม่ถึงการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยในระยะปานกลาง ระยะยาว ระยะประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแล ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุและไม่สามารถพึ่งพาตัวเอง ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาในระยะนี้อย่างมีคุณภาพ หากจะเข้าการรักษาก็ต้องเป็นภาระของบุตรหลานหรือญาติในการดูแล เนื่องในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชุนยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรในการรักษาระยะปานกลาง ระยะยาว และระยะประคับประคอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาในระยะประคับประคอง (Palliative Care) ที่ยังไม่เข้าถึงในสถานบริการแบบปฐมภูมิ ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือระยะประคับประคองเข้าไม่ถึงการรักษาแบบประคับประคอง ที่จะทำให้ตัวเองไม่ทรมานจากความเจ็บปวดจากอาการป่วยระยะสุดท้าย นอกจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการรักษาในระยะประคับประคอง เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไปไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้ ส่วนแพทย์เฉพาะทางก็มีจำนวนน้อยและไม่ได้มีเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพที่ดี อีกทั้งยังขาดโครงพื้นฐานและความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคอง
นอกจากการรักษาแบบประคับประคอง สิทธิที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความเจ็บป่วยทางกายแบบรักษาไม่ได้ที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรี หรือการทำการุณยฆาตเป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยบางคนต้องทนทุกข์ทรมานก่อนเสียชีวิต
ข้อเสนอ
เพิ่มสวัสดิการวันลาสำหรับแรงงาน เพื่อดูแลพ่อแม่ที่ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยการเพิ่มไปในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ตายดี - สิทธิยุติชีวิตตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี สำหรับคนที่ป่วยจากโรคทางกายที่รักษาไม่ได้
ปัญหา
ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักหรือเข้าไม่ถึงการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยในระยะปานกลาง ระยะยาว ระยะประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแล ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุและไม่สามารถพึ่งพาตัวเอง ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาในระยะนี้อย่างมีคุณภาพ หากจะเข้าการรักษาก็ต้องเป็นภาระของบุตรหลานหรือญาติในการดูแล เนื่องในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชุนยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรในการรักษาระยะปานกลาง ระยะยาว และระยะประคับประคอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาในระยะประคับประคอง (Palliative Care) ที่ยังไม่เข้าถึงในสถานบริการแบบปฐมภูมิ ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือระยะประคับประคองเข้าไม่ถึงการรักษาแบบประคับประคอง ที่จะทำให้ตัวเองไม่ทรมานจากความเจ็บปวดจากอาการป่วยระยะสุดท้าย นอกจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการรักษาในระยะประคับประคอง เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไปไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้ ส่วนแพทย์เฉพาะทางก็มีจำนวนน้อยและไม่ได้มีเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพที่ดี อีกทั้งยังขาดโครงพื้นฐานและความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคอง
นอกจากการรักษาแบบประคับประคอง สิทธิที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีความเจ็บป่วยทางกายแบบรักษาไม่ได้ที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรี หรือการทำการุณยฆาตเป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยบางคนต้องทนทุกข์ทรมานก่อนเสียชีวิต
ข้อเสนอ
อนุญาตให้บุคคลที่ป่วยจากโรคทางกายที่รักษาไม่ได้ มีสิทธิเข้าสู่กระบวนการยุติชีวิตตนเองอย่างมีศักดิ์ศรีโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ โดยผู้ทำต้องมีสติและได้รับการรับรองโดยจิตแพทย์ว่าไม่มีอาการป่วยทางสุขภาพจิต
ลดชั่วโมงการทำงานบุคลากรทางการแพทย์
ปัญหา
ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์มีชั่วโมงการทำงานที่สูงเกินไป อย่างเช่นแพทย์ ต้องทำงานสัปดาห์ละ 80 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 14 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาการทำงานที่มากเกินไปส่งผลต่อความสามารถต่อการให้บริการกับประชาชน เช่น ความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรค การทำหัตถการ ทำให้ประชาชนอยู่ในความเสี่ยงในการรักษาที่ผิดพลาด
ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีชั่วโมงการทำงานสูง แต่ค่าตอบแทนนอกเวลากลับได้รับอย่างไม่เหมาะสม และบางกรณีก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หมดกำลังใจในการทำงานในระบบสาธารณสุขของรัฐ และนำไปสู่การลาออกเข้าไปอยู่ในระบบเอกชนที่ผลตอบแทนดีกว่า (กรณีแพทย์ลาออกปีละ 500 - 600 คน)
นอกจากนั้น บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับการกู้ชีพฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มาจากอาสาสมัครตามมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานไม่ได้มีระบบและหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ หรือไม่ได้สำเร็จการศึกษาในด้าน paramedic และยังไม่ได้รับการกำกับดูแลด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานจากภาครัฐ เพราะว่าอาสาสมัครเหล่านี้ถือเป็นคนแรกที่เข้าไปในที่เกิดเหตุ อีกทั้งหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบุคลากรด้านการกู้ชีพฉุกเฉินไม่เพียงพอ
ข้อเสนอ
- กำหนดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ไม่เกิน 60 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กำหนดให้ได้พัก 8 ชั่วโมง หลังจากทำงานมาแล้วติดกัน 24 ชั่วโมง
- กำหนดให้ได้พัก หากทำงาน 24.00-08.00 น. (เวรดึก)
- ควบคุมมาตรฐานที่พักบุคลากรทางการแพทย์ (ปลอดภัย อยู่ในรั้วโรงพยาบาล)
- ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ (เช่น เอกสารที่ไม่จำเป็น)
- เปิดข้อมูลการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อการจัดตารางการทำงานที่เหมาะสม และเพื่อการตรวจสอบ
ค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์เป็นธรรม
ปัญหา
ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์มีชั่วโมงการทำงานที่สูงเกินไป อย่างเช่นแพทย์ ต้องทำงานสัปดาห์ละ 80 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 14 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาการทำงานที่มากเกินไปส่งผลต่อความสามารถต่อการให้บริการกับประชาชน เช่น ความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรค การทำหัตถการ ทำให้ประชาชนอยู่ในความเสี่ยงในการรักษาที่ผิดพลาด
ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีชั่วโมงการทำงานสูง แต่ค่าตอบแทนนอกเวลากลับได้รับอย่างไม่เหมาะสม และบางกรณีก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หมดกำลังใจในการทำงานในระบบสาธารณสุขของรัฐ และนำไปสู่การลาออกเข้าไปอยู่ในระบบเอกชนที่ผลตอบแทนดีกว่า (กรณีแพทย์ลาออกปีละ 500 - 600 คน)
นอกจากนั้น บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับการกู้ชีพฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มาจากอาสาสมัครตามมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานไม่ได้มีระบบและหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ หรือไม่ได้สำเร็จการศึกษาในด้าน paramedic และยังไม่ได้รับการกำกับดูแลด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานจากภาครัฐ เพราะว่าอาสาสมัครเหล่านี้ถือเป็นคนแรกที่เข้าไปในที่เกิดเหตุ อีกทั้งหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบุคลากรด้านการกู้ชีพฉุกเฉินไม่เพียงพอ
ข้อเสนอ
ปรับอัตราค่าตอบแทนสำหรับการทำงานในช่วงนอกเวลา
วางเกณฑ์ที่คำนึงถึงหลัก “ทำมากได้มาก” - ค่าตอบแทนแปรผันตามชิ้นงาน
พัฒนา อสม. เฉพาะทาง
ปัญหา
ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์มีชั่วโมงการทำงานที่สูงเกินไป อย่างเช่นแพทย์ ต้องทำงานสัปดาห์ละ 80 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 14 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาการทำงานที่มากเกินไปส่งผลต่อความสามารถต่อการให้บริการกับประชาชน เช่น ความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรค การทำหัตถการ ทำให้ประชาชนอยู่ในความเสี่ยงในการรักษาที่ผิดพลาด
ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีชั่วโมงการทำงานสูง แต่ค่าตอบแทนนอกเวลากลับได้รับอย่างไม่เหมาะสม และบางกรณีก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หมดกำลังใจในการทำงานในระบบสาธารณสุขของรัฐ และนำไปสู่การลาออกเข้าไปอยู่ในระบบเอกชนที่ผลตอบแทนดีกว่า (กรณีแพทย์ลาออกปีละ 500 - 600 คน)
นอกจากนั้น บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับการกู้ชีพฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มาจากอาสาสมัครตามมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานไม่ได้มีระบบและหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ หรือไม่ได้สำเร็จการศึกษาในด้าน paramedic และยังไม่ได้รับการกำกับดูแลด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานจากภาครัฐ เพราะว่าอาสาสมัครเหล่านี้ถือเป็นคนแรกที่เข้าไปในที่เกิดเหตุ อีกทั้งหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบุคลากรด้านการกู้ชีพฉุกเฉินไม่เพียงพอ
ข้อเสนอ
- พัฒนาระบบแนวหน้าสุขภาพ (ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพแบบเฉพาะงาน) โดยการจ้างงานแบบ part-time ให้ค่าตอบแทนตามชิ้นงาน (เช่น นักโภชนาการ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด นักรังสีวิทยา นักพยาธิวิทยา) และแนวหน้าสุขภาพท้องถิ่น (หรือ Local Health Vanguard) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก อสม. ผ่านการฝึกอบรมและได้รับมาตรฐาน เพื่อช่วยภารกิจต่างๆ ของระบบสุขภาพในชุมชน
- จัดระบบผลตอบแทนที่เป็นธรรมตามรายชิ้นงาน-ตามผลงาน (ไม่ใช่เงินเดือน แต่จูงใจ/มั่นคงพอที่จะดำเนินการ เป็นอาชีพได้)
เปลี่ยนอาสากู้ชีพเป็นอาชีพ มีทุนพัฒนาทักษะ-สวัสดิการ
ปัญหา
ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์มีชั่วโมงการทำงานที่สูงเกินไป อย่างเช่นแพทย์ ต้องทำงานสัปดาห์ละ 80 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 14 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาการทำงานที่มากเกินไปส่งผลต่อความสามารถต่อการให้บริการกับประชาชน เช่น ความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรค การทำหัตถการ ทำให้ประชาชนอยู่ในความเสี่ยงในการรักษาที่ผิดพลาด
ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีชั่วโมงการทำงานสูง แต่ค่าตอบแทนนอกเวลากลับได้รับอย่างไม่เหมาะสม และบางกรณีก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หมดกำลังใจในการทำงานในระบบสาธารณสุขของรัฐ และนำไปสู่การลาออกเข้าไปอยู่ในระบบเอกชนที่ผลตอบแทนดีกว่า (กรณีแพทย์ลาออกปีละ 500 - 600 คน)
นอกจากนั้น บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับการกู้ชีพฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มาจากอาสาสมัครตามมูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานไม่ได้มีระบบและหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ หรือไม่ได้สำเร็จการศึกษาในด้าน paramedic และยังไม่ได้รับการกำกับดูแลด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานจากภาครัฐ เพราะว่าอาสาสมัครเหล่านี้ถือเป็นคนแรกที่เข้าไปในที่เกิดเหตุ อีกทั้งหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบุคลากรด้านการกู้ชีพฉุกเฉินไม่เพียงพอ
ข้อเสนอ
- เพิ่มศักยภาพของระบบอาสากู้ชีพให้ได้รับประกาศนียบัตรเฉพาะด้าน
- ตั้งเป้าให้มี Paramedic หรือนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
- ระดับปริญญาตรี อย่างน้อยทุกตำบล
- ระดับประกาศนียบัตร อย่างน้อย 1 คน ในทุกทีมอาสากู้ชีพ
- ภาครัฐอุดหนุนเงินให้กับมูลนิธิเพื่อเป็นทุนการศึกษาด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้กับอาสาสมัคร
- เพิ่มงบประมาณ/ข้อกำหนดของท้องถิ่นในการจ้างนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและมั่นคง (เช่น จ้างเป็นบุคลากรประจำ จ้างเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่) โดยมีข้อตกลงการปฏิบัติงานชัดเจน