ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปั้นสถานีหัวลำโพงคลาสสิค สู่แลนด์มาร์กเวทีกิจกรรม และพิพิธภัณฑ์รถจักรกลางแจ้ง

ปั้นสถานีหัวลำโพงคลาสสิค สู่แลนด์มาร์กเวทีกิจกรรม และพิพิธภัณฑ์รถจักรกลางแจ้ง HealthServ.net
ปั้นสถานีหัวลำโพงคลาสสิค สู่แลนด์มาร์กเวทีกิจกรรม และพิพิธภัณฑ์รถจักรกลางแจ้ง ThumbMobile HealthServ.net

การรถไฟฯ พร้อมเปิดสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ส่งเสริมทุกบทบาท ยกระดับเป็นแลนด์มาร์กการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ส่งเสริมอนุรักษ์หัวลำโพงเป็นมรดกสำคัญทางประวัติศาสตร์ จัดทำพิพิธภัณฑ์รถจักรกลางแจ้งถาวร รถจักรที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หาชมได้ยาก และมีความสวยงาม จำนวน 7 คัน

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ มีนโยบายที่ต้องการส่งเสริม และอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ให้เป็นแลนด์มาร์กทางมรดกสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ  ควบคู่กับดำรงให้คงเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สำคัญของคนไทยจากอดีตก้าวไปสู่อนาคต 
 
 การรถไฟฯ ได้เปิดพื้นที่สถานีกรุงเทพ เพื่อต่อยอดการจัดกิจกรรมให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชม เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง และระบบขนส่งทางรางของไทยให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับโลก หลังจากที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จหลายกิจกรรม อาทิ Hua Lamphong in Your Eyes , Unfolding Bangkok ณ สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่มีการจัดแสดงแสง สี เสียง ดนตรี ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีผู้เข้าร่วมงานสูงสุดกว่า 3 หมื่นคนต่อวัน 
ปั้นสถานีหัวลำโพงคลาสสิค สู่แลนด์มาร์กเวทีกิจกรรม และพิพิธภัณฑ์รถจักรกลางแจ้ง HealthServ
 
นายเอกรัชกล่าวว่า การรถไฟฯ ยังมีนโยบายพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการเปิดพื้นที่สถานีหัวลำโพง สำหรับจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณค่าของสถานีหัวลำโพง และสร้างประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อใช้พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของไทย และสนับสนุนให้สถานีหัวลำโพงเป็นพื้นที่แลนด์มาร์กจัดกิจกรรมที่สำคัญของประเทศ รวมถึงก้าวไปสู่ในระดับโลก  
 
 
นอกจากนี้ การรถไฟฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการนำรถจักรที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ หาชมได้ยาก และมีความสวยงาม จำนวน 7 คัน มาจัดแสดงเป็นการถาวรที่สถานีหัวลำโพง บริเวณชานชาลาที่ 4 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจสามารถเข้ามาเยี่ยมชมเพื่อร่วมเรียนรู้วิวัฒนาการของรถจักรในประเทศไทย ทั้งนี้ ในอนาคต การรถไฟฯ ยังมีโครงการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนากิจการรถไฟไทย การจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ที่มีความสำคัญ และทรงคุณค่าในอดีตภายในสถานีหัวลำโพงอีกด้วย
 
 
อย่างไรก็ตาม การเปิดพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมสถานีหัวลำโพง การรถไฟฯ ให้ความสำคัญ ในการคัดเลือกกิจกรรมที่มีศีลธรรมอันดี ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหัวลำโพง ตลอดจนไม่กระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอาคารเดิม หรือคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในทุกแง่มุม ขณะเดียวกันยังคำนึงถึงความสะดวก ไม่ให้ผู้โดยสารได้รับผลกระทบในการเดินทาง โดยมีการแบ่งแยกสัดส่วนพื้นที่และช่วงเวลาการเดินรถออกจากกัน ทำให้ผู้โดยสารยังสามารถใช้บริการขบวนรถชานเมือง ขบวนรถท่องเที่ยว ซึ่งในแต่ละวันมีรถไฟให้บริการแก่ผู้โดยสารที่สถานีหัวลำโพงมากถึง 62 ขบวนได้ตามปกติ

 
“ที่สำคัญนอกจากการเปิดพื้นที่สถานีหัวลำโพงแล้ว การรถไฟฯ ยังมีนโยบายเปิดกว้างที่จะร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการเปิดพื้นสถานีรถไฟแห่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ หรือสถานีรถไฟในต่างจังหวัด สำหรับจัดกิจกรรม เพื่อร่วมอนุรักษ์  และส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีของสถานีรถไฟต่างๆ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้เป็นแลนด์มาร์กแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของพื้นที่ เป็นที่จดจำของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน การกระจายรายได้ สร้างความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ อีกทางหนึ่งด้วย   
สอบถามข้อมูลความร่วมมือกับการรถไฟฯ ได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 หรือเฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง มีประวัติศาสตร์นานมา แรกสถาปนาเมื่อ 2453

 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระรามที่ 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานคร
 
สถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง
 
ก่อนปี พ.ศ. 2566 สถานีกรุงเทพเคยมีรถไฟกว่า 100 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561) และโดยเฉพาะช่วงวันสำคัญและวันหยุดเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก
 
ปัจจุบันมีเพียงรถไฟทางไกลขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวนเท่านั้น ที่ยังคงเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกรุงเทพ ส่วนขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ รวมจำนวน 52 ขบวน ได้ย้ายไปเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566
 
สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ
 

รถจักรไอน้ำแปซิฟิค 165 คลาสสิคยุคแรก ที่บูรณะไว้ในสภาพดีเยี่ยม

 
รถจักรไอน้ำส่วนหนึ่งที่จะมาจัดแสดงถาวร ณ สถานีกรุงเทพหัวลำโพง ให้ผู้สนใจได้รู้จัก ศึกษาและต่อเติมจินตนาการ
 
 
รถดีเซลรุ่นใหม่ล็อตแรก ฮิตาชิ จากประเทศญี่ปุ่น
 

งาน Hua Lamphong in Your Eyes

การรถไฟจัด งาน Hua Lamphong in Your Eyes ขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564-16 มกราคม 2565  ตลอดการจัดงานทั้ง 26 วันได้รับความสนใจจากประชาชน คนรุ่นใหม่ ทั้งกลุ่มครอบครัว กลุ่มเพื่อน คู่รักและชาวต่างชาติ เข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะกิจกรรมเช็กอิน 10 จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหัวลำโพงทั้งด้านนอกและด้านในตัวอาคาร ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ย้อนรำลึกถึงความสำคัญของสถานที่ต่างๆ ไปพร้อมกัน เช่น อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง ซึ่งเป็นจุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเปิดการเดินรถไฟหลวงในราชอาณาจักรสายแรก (เส้นทางสถานีกรุงเทพ-อยุธยา) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 ซึ่งกลายเป็นวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน

ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดแสดงรถจักรไอน้ำ การแสดงดนตรีสด ที่สร้างความสนุกสนานและเพลิดเพลินให้ผู้เข้าร่วมงานตลอดทั้งวัน รวมทั้งนิทรรศการภาพถ่าย ที่จัดประกวดขึ้นภายใต้หัวข้อ Hua lamphong Through the len ร่วมชิงเงินรางวัลมากกว่า 1 แสนบาท มีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดถึง 7,317 ภาพ และได้ประกาศผลรางวัลไปแล้วในเดือนที่ผ่านมา ทำให้เห็นมุมมองของสถานีหัวลำโพงในด้านที่แตกต่างออกไป
 
 

งาน Unfolding Bangkok 18-26 มีนาคม 2566 ฉลอง 126 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย

 ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 126 ปีการรถไฟแห่งประเทศไทยในวันที่ 26 มีนาคม 2566 ชวนคุณมาร่วมสีสันไปพร้อมกับการเปิดมุมมองใหม่ที่เปี่ยมเสน่ห์ของสถานีรถไฟกรุงเทพ ใน “Unfolding Bangkok" 

พื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ หัวลำโพงสุดคลาสสิก เคยเป็นชุมทางของการเดินทางจากผู้คนทั่วประเทศมายังกรุงเทพมหานคร แม้ปัจจุบันจะลดความคับคั่งลงเหลือเพียงการเดินรถไฟไม่กี่สาย แต่สถานีรถไฟหัวลำโพงยังคงมีความสำคัญในฐานะอาคารทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม และความทันสมัยด้านระบบคมนาคมของประเทศไทย 

บทบาทที่เปลี่ยนไปของสถานีรถไฟหัวลำโพง จึงเป็นโอกาสในการทดลองปรับพื้นที่ของสถานีรถไฟให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการส่งเสริมสถาปัตยกรรม การเรียนรู้และสันทนาการของผู้คน 

 

สีสันหัวลำโพง งาน Unfolding Bangkok

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จึงได้ร่วมกับ Lighting Designers Thailand ที่มาร่วมออกแบบแสงไฟ (Lighting Installation) เพื่อช่วยสร้างเรื่องราวและขับเน้นความงดงามของสถาปัตยกรรม พร้อมกับจัดการแสดงดนตรีที่ได้รับการคัดสรรมาให้สอดคล้องกับการที่สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นชุมทางของคนเดินทาง 
โดยมี 3 กิจกรรมหลัก “Living Old Building” สถานีรถไฟหัวลำโพง 
 
1. THE WALL 2023 โดย Lighting Designers Thailand และ DecideKit การจัดแสดงไฟ (Lighting Installation) แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ โดยมีช่วงเวลาการจัดแสดงตั้งแต่ 19.00 - 22.00 น. ดังนี้ 
 
1st Scene: The Door
กระจกทรงโค้ง ณ บริเวณประตูทางเข้าสถานีรถไฟที่เป็นแลนด์มาร์กของสถานีเมื่อถูกมองจากด้านนอก ถูกนำมาใช้เป็นฉากเริ่มต้นในการเดินทางเพื่อเข้าสู่พื้นที่ภายใน ภายใต้ธีม The Door อันสะท้อนจินตนาการของผู้คนสู่ก้าวย่างใหม่ของการเดินทางที่กำลังจะเกิดขึ้น
 
2nd Scene: The People
ภายในโถงอาคารของสถานีรถไฟในส่วนที่พักคอยของผู้โดยสารที่เรียบง่าย ได้รับการออกแบบแสงให้เป็นพื้นที่สำคัญ ให้ “ผู้คน” ที่มานั่งเล่นได้เห็นเสน่ห์ของสถานีรถไฟหัวลำโพงในมุมมองใหม่ พร้อม ๆ กับรับชมการแสดงดนตรี และชื่นชมความงามของอาคารประวัติศาสตร์แห่งนี้   
 
3rd Scene: The Emotion
บริเวณชานชาลา พื้นที่แห่งการพบปะและจากลา เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่แสงไฟจะช่วยสร้างอารมณ์ร่วมในการพบและจากลาของผู้คนในอดีต ที่เคยโดยสารรถไฟหัวรถจักรไอน้ำที่ผ่านกาลเวลามาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  

2. ดนตรี ความบันเทิงของคนเดินทาง เพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง หมอลำ ร็อก ฮิปฮอป และแจ๊ส ล้วนเป็นเพื่อนเดินทางของผู้คน รายชื่อของวงดนตรีที่มาจัดแสดงจึงอยู่บนแนวคิดของความหลากหลาย สอดคล้องกับความเป็นสถานีหัวลำโพง โดยจะจัดแสดงระหว่างวันที่ 18 - 19 มีนาคม และ 24 - 26 มีนาคม เวลา 16.00 - 22.00 น.

3.กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ มากมายให้คุณได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการจัดแสดงขบวนรถไฟพิเศษ การจัดแสดงโมเดลรถไฟจำลอง ทัวร์เพื่อทำความรู้จักหัวลำโพงมุมใหม่ ไปจนถึงลิ้มชิมรสเมนูอาหารสุดพิเศษจากชุมทางต่าง ๆ และป๊อปอัปคาเฟ่

ชีวิตชีวาแลสีสันหัวลำโพง งาน Unfolding Bangkok

 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด