ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สพฉ.แนะผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เตรียมยาโรคประจำตัว ยืนยัน 1669 ยังใช้งานได้

สพฉ.แนะผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เตรียมยาโรคประจำตัว ยืนยัน 1669 ยังใช้งานได้ Thumb HealthServ.net
สพฉ.แนะผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เตรียมยาโรคประจำตัว ยืนยัน 1669 ยังใช้งานได้ ThumbMobile HealthServ.net

สพฉ.แนะผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เตรียมยาโรคประจำตัว ยืนยัน 1669 ยังใช้งานได้

สพฉ.แนะผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เตรียมยาโรคประจำตัว ยืนยัน 1669 ยังใช้งานได้ HealthServ
สพฉ.แนะผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเตรียมยาโรคประจำตัว ยืนยัน 1669 ยังใช้งานได้
 
 
จากสถานการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันจนทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน วันนี้ ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ทาง สพฉ. ได้ประสานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการในแต่ละจังหวัดเพื่อตรวจสอบความพร้อมในช่วงอุทกภัย พบว่าทุกศูนย์ฯยังสามารถให้บริการรับแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ตามปกติ โดยแต่ละจังหวัดจะมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการในภาวะฉุกเฉิน หรือ EOC มีการประสานการทำงานร่วมกันทั้งในส่วนของสาธารณสุขกับฝ่ายปกครอง และงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งหากมีผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่น้ำท่วมขอความช่วยเหลือจะมีการใช้เรือของทหาร ปภ. และมูลนิธิกู้ภัย ในการเข้าไปช่วยเหลือและพานำส่งโรงพยาบาล
 
 
 
          เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่าในช่วงนี้เป็นห่วงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหรือบ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียงซึ่งต้องมาตรวจหรือมารับยาจากโรงพยาบาลเป็นประจำ เช่น ยาเบาหวาน ยาความดัน แต่ไม่สามารถเดินทางได้ หรือยาที่มีถูกน้ำท่วมเสียหาย หากไม่ได้ทานยาหรือการดูแลที่เหมาะสมอาจทำให้อาการป่วยแย่ลงและเกิดภาวะฉุกเฉินได้ แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติจัดเก็บยาในที่ปลอดภัย ดูแลสุขอนามัยที่จำเป็นของผู้ป่วย ประเมินสถานการณ์หากเกิดภาวะฉุกเฉิน หรือจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่ปลอดภัย สามารถโทร.ขอความช่วยเหลือได้ที่หมายเลข 1669
 
          “ภาวะฉุกเฉินที่พบเจอได้บ่อยในสถานการณ์น้ำท่วมที่ต้องเตือนให้ประชาชนรวมถึงหน่วยกู้ชีพกู้ภัยระมัดระวัง ได้แก่ อุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูด ขอให้ตัดกระไฟฟ้าของบ้านในชั้นที่น้ำท่วมถึง ระวังการจับวัตถุโลหะที่แช่อยู่ในน้ำและบริเวณที่มีสายไฟพาดอยู่ตามท้องถนน  ไม่ควรขับรถฝ่ากระแสน้ำหลากที่มองไม่เห็นเส้นทาง ระวังสัตว์มีพิษเช่น ตะขาบ งู ที่มักจะหนีน้ำมาอยู่ในบริเวณบ้าน นอกจากนี้ยังมีโรคที่มากับน้ำเช่น ท้องร่วง ฉี่หนู ตาแดง น้ำกัดเท้า ขอให้ทีมกู้ชีพกู้ภัยทุกคนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมรักษาความสะอาดร่างกายให้ได้มากที่สุดหลังปฏิบัติหน้าที่” เลขาธิการ สพฉ.กล่าว
 
 
 
24 สิงหาคม 2563

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด