ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เกษตรกรเลี้ยงหมู แบกภาระล้น ต้นทุนพุ่ง หวังผู้บริโภคต่อลมหายใจ ชี้ยังมีทางเลือกบริโภคมากมาย

เกษตรกรเลี้ยงหมู แบกภาระล้น ต้นทุนพุ่ง หวังผู้บริโภคต่อลมหายใจ ชี้ยังมีทางเลือกบริโภคมากมาย Thumb HealthServ.net
เกษตรกรเลี้ยงหมู แบกภาระล้น ต้นทุนพุ่ง หวังผู้บริโภคต่อลมหายใจ ชี้ยังมีทางเลือกบริโภคมากมาย ThumbMobile HealthServ.net

น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีปัญหารุมเร้าหลายด้าน โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นมากถึง 25%

เกษตรกรเลี้ยงหมู แบกภาระล้น ต้นทุนพุ่ง หวังผู้บริโภคต่อลมหายใจ ชี้ยังมีทางเลือกบริโภคมากมาย HealthServ
 
เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักมีราคาสูงถึง 10.60 บาทต่อกิโลกรัม และเคยปรับขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 11.45 บาท เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากปริมาณผลผลิตที่ขาดแคลนอย่างหนัก ส่วนกากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าราคาสูงถึง 19.50 บาทต่อกิโลกรัม และปลายข้าวราคาสูงถึงกระสอบละ 1,100 บาท นอกจากนี้ยังมีการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อป้องกันโรคในสุกรอย่างเข้มงวด เกิดเป็นต้นทุนที่เกษตรกรต้องแบกรับอีกกว่า 400-500 บาทต่อตัว ขณะที่ ผลกระทบของโรคในสุกรทั้ง PRRS PED ฯลฯ ทำให้สุกรแม่พันธุ์เสียหายมากถึง 40% จากจำนวน 1.1 ล้านตัว เหลือเพียง 6.6 แสนตัว ส่งผลต่อเนื่องถึงปริมาณผลผลิตสุกรขุนปรับลดลงถึง 30% จากปี 2563 จากที่เคยมีจำนวนสุกรประมาณ 18-19  ล้านตัวต่อปี เหลือเพียง 15 ล้านตัวต่อปีเท่านั้น
 
 
 
“ภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พุ่งขึ้นไม่หยุด มาตรการป้องกันโรคที่ถูกยกระดับขึ้นทำให้มีค่าบริหารจัดการเพิ่มอีก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับตัวหมูจากภาวะโรค ความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงก่อนหน้านี้ และยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการเลี้ยง ทำให้ค่าจ้างแรงงานต้องเพิ่มขึ้น และหลังจากนี้ยังต้องปรุงฟาร์มเพื่อเข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน และ GAP ที่กรมปศุสัตว์กำหนดเป็นมาตรฐานบังคับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดนี้เป็นภาระหนักของคนเลี้ยง และมีผลต่อการตัดสินใจเข้าเลี้ยงหมู ปริมาณหมูที่ลดลงสวนทางกับการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศ การผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ โรงเรียนเปิดสอนแบบ On-site  ทำให้การบริโภคกลับมาดีขึ้นเป็นอย่างมาก กลไกตลาดจึงทำงานตามภาวะที่แท้จริง” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว
 
 
 
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวอีกว่า ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เกษตรกต้องแบกรับภาระขาดทุนมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงปีนี้ มีการประมาณการความเสียหายทั่วประเทศจากการขายสุกรขุนต่ำกว่าทุนอยู่ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท กลายเป็นความกดดันที่มีต่อผู้เลี้ยง และมีผลต่อการตัดสินใจเข้าเลี้ยงสุกรรอบใหม่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ต้องหยุดเลี้ยงจากปัญหาด้านเงินลงทุน ผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่ต้องชะลอการเลี้ยง หรือเลี้ยงไม่เต็มกำลังการผลิต รวมถึงไม่เข้าผสมแม่สุกร เพื่อลดความเสี่ยงและรอดูสถานการณ์ในอุตสาหกรรมและสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่กลายเป็นปัจจัยในการวางแผนการเลี้ยงด้วย คาดว่าอุตสาหกรรมสุกรต้องใช้เวลา 2-3 ปี กว่าที่การเลี้ยงจะกลับมาเต็มกำลัง 100% วันนี้เกษตรกรขอผู้บริโภคเข้าใจกลไกตลาดที่เกิดขึ้น ที่เพียงช่วยต่อลมหายใจภาคผู้เลี้ยงต่อไปเท่านั้น และผู้บริโภคยังคงมีทางเลือกในการซื้อหาอาหารโปรตีนที่หลากหลาย ขณะที่เกษตรกรไม่มีทางเลือก มีเพียงการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพเดียว

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด