แพลตฟอร์ม ฟาร์มแคร์ (Pharmcare) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ ก่อตั้งโดย บริษัท ฟาร์มแคร์ กรุ๊ป จำกัดซึ่งให้บริการ app.pharmacare.co ผ่านแอพพลิเคชั่น Line ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพครบวงจรที่มีแนวคิดสำคัญหลักคือ "เป็นเภสัชกรที่เสมือนคนในครอบครัว" ในเมื่อเภสัชกรร้านยาชุมชนแต่ละชุมชนนั้นสามารถติดตามอาการของผู้คนในชุมชนได้ เป็นได้ทั้งผู้คัดกรอง ส่งต่อแผนรักษาไปยังโรงพยาบาล
สิ่งสำคัญของการเป็นคนในครอบครัวผู้ป่วยก็คือการตรวจสอบประวัติการรักษาของผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยเฉพาะเรื่องการใช้ยาบางอย่างที่ผู้ป่วยอาจจะเคยมาบอกแค่ชื่อยา จ่ายเงินและออกจากร้าน เภสัชกรควรซักถามประวัติการรักษา การใช้ยา โรคประจำตัว เพื่อที่จะจ่ายยาได้ถูกต้องและ “ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา” เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบอันไม่ถึงประสงค์จากการใช้ยา
ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยใช้ยาความดันไปสักระยะแล้วเริ่มมีอาการไอและบวมที่ขาโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อคนไข้มาปรึกษาเภสัชกรและบอกถึงยาที่รับประทานอยู่มาด้วย
เภสัชกรจึงแนะนำให้กลับไปพบแพทย์และเล่าอาการที่เกิดขึ้นให้แพทย์ฟัง เนื่องจากสงสัยว่าเกิดจากยาลดความดันที่ใช้อยู่ ซึ่งแพทย์ก็ตัดสินใจเปลี่ยนยาความดันตัวใหม่ให้ ทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและให้ความร่วมมือในการใช้ยาลดความดันได้ดีขึ้นเนื่องจากไม่มีอาการไอและบวมที่ขาแล้ว
โครงสร้างของแพลตฟอร์มคือการรวบรวมร้านยาคุณภาพเข้าสู่ร้านยาในเครือข่ายของฟาร์มแคร์ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการปรึกษาเภสัชกร ทางแพลตฟอร์มจะทำการจับคู่ผู้ใช้บริการกับร้านยาบริเวณใกล้เคียง และให้เภสัชกรให้คำปรึกษากับผู้ป่วยแบบไม่มีกำหนดเวลา จากนั้นมีการส่งยาให้ผู้ป่วยถึงบ้านในระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
บริการปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ในรูปแบบวีดีโอคอล ผลักดันให้เภสัชกรได้คุยกับผู้ป่วยเสมือนได้คุยกันตัวต่อตัว เภสัชกรไม่เพียงจ่ายยาตามอาการเท่านั้น เนื่องจากก่อนใช้บริการ ผู้ป่วยต้องกรอกประวัติด้านสุขภาพอย่างเช่นอายุ โรคประจำตัว ยาที่แพ้ พลฤติกรรมการดื่มและสูบบุหรี่ ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการจ่ายยาของเภสัชกรทั้งสิ้น
นอกจากนี้เภสัชกรยังสอบถามข้อมูลต่างๆประกอบการตัดสินใจ ข้อควรระวัง และที่สำคัญคือแนวทางการปฏิบัติตัวหลังจากหายดี เพื่อที่ว่าผู้ป่วยที่ใช้บริการนั้นจะสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนและสามารถ “ดูแลสุขภาพ” ของตนเองแทนที่แนวคิดเดิมที่ว่ามาหาเภสัชกรเพื่อ “รักษาโรค”
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังใช้ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือ technology disuption ให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างรายได้ให้แก่เภสัชกรชุมชนและกระตุ้นให้ร้านยาพัฒนาตนเองให้เป็นร้านยาคุณภาพตามกำหนดของส ำนักงานรับรองร้านยาคุณภาพ สภาเภสัชกรรมซึ่งเกณฑ์ในการประเมินรับรองคุณภาพร้านยาประกอบด้วย 5 ด้านด้วยกัน ด้านสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากร การให้บริการเภสัชกรรมที่ดี การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ตลอดจนการมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ก่อนเพื่อที่จะสมัครเข้าร่วมเครือข่ายของฟาร์มแคร์ได้ จึงถือเป็นการกระจายรายได้และเพิ่มคุณภาพของหน่วยงานทางสาธารณสุขอย่างแท้จริง
เมื่อทุกคนมีแนวคิดที่จะ “ดูแลตนเอง” ผลดีย่อมส่งผลกระทบต่อกันเป็นโดมิโน เหมือนวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันหมู่จากระดับชุมชนขยายไปสู่ภูมิภาค ระบบสาธารณสุขของประเทศก็จะยกระดับตัวเองโดยอัตโนมัติและมีภูมิคุ้มกันต่อเหตุการณ์ต่างๆ