ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ฎีกาคดีเกี่ยวกับบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance)

ฎีกาคดีเกี่ยวกับบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) HealthServ.net
ฎีกาคดีเกี่ยวกับบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) ThumbMobile HealthServ.net

"เมื่อคำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ระบุว่า โรงพยาบาลมีบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใช้บริการมากราย หรือเฮลิคอปเตอร์ไม่มีคิวว่างที่จะเคลื่อนย้ายโจทก์ในวันนั้น คำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยที่ 1 มีบริการเช่นนั้นจริง"

เพจ บันทึกทนายน้อย:The Little Lawyer Diary เล่าถึง คำพิพากษาศาลฏีกา คดีเกี่ยวกับบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) มีสาระควรที่จะได้ศึกษารับรู้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในแง่มุมที่ศาลได้เจาะจงลงไปเกี่ยวกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์การให้บริการ อันมีความเกี่ยวพันธ์กับประชาชนผู้รับบริการโดยตรง


“เมื่อคำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ระบุว่า โรงพยาบาลมีบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใช้บริการมากราย หรือเฮลิคอปเตอร์ไม่มีคิวว่างที่จะเคลื่อนย้ายโจทก์ในวันนั้น คำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยที่ 1 มีบริการเช่นนั้นจริง”


 
 
โจทก์  เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย
จำเลยที่ 1 คือ โรงพยาบาลเอกชน
จำเลยที่ 2 คือ เป็นแพทย์แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อประจำโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2564

*เหตุเกิดปี 2559
 
 
ฎีกาคดีเกี่ยวกับบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) HealthServ


ตามทางไต่สวนได้ความถึงอาการบาดเจ็บของโจทก์ว่า…. 
 
นอกจากการรักษาโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์กระดูกและข้อแล้ว ยังมีขั้นตอนการรักษาหลอดเลือดที่แพทย์หลอดเลือดเข้ามารักษาอาการของโจทก์ โดยนายแพทย์ ว. ตรวจพบอาการเกิดตุ่มน้ำพองใสบริเวณขาซ้ายและข้อเท้าซ้ายมีสีคล้ำเกรงจะเกิดภาวะขาดเลือด เมื่อดำเนินการฉีดสีพบว่าเส้นเลือดที่เป็นเส้นหลักในการส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงขาซ้ายไม่ปรากฏในผลการตรวจ 
 
นายแพทย์ ว. ได้ปรึกษาผู้บริหารและปรึกษาแพทย์ทางโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่และนายแพทย์ ก. ได้แนะนำให้ทำบายพาสด่วนโดยหาทีมแพทย์ท้องถิ่นหรือส่งต่อทางเครื่องบิน 
 
แต่นายแพทย์ ว. ส่งโจทก์ไปรักษาที่กรุงเทพมหานครด้วยรถพยาบาลของจำเลยที่ 1 #โดยอ้างข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายโจทก์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ว่าใช้ระยะเวลาในการประสานงาน การรอคิวว่างของเฮลิคอปเตอร์ที่ว่าต้องรออีก 2 ถึง 3 วัน การลงจอดรับผู้ป่วยต้องลงจอดที่สถานีตำรวจท้องที่นอกบริเวณโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีรายละเอียดถึงข้อจำกัดในการเคลื่อนย้าย  #นับเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นเช่นนั้นตามภาระการพิสูจน์ 
 
ทั้งได้ความจากโจทก์ว่า  ญาติของโจทก์ขอให้เคลื่อนย้ายทางเฮลิคอปเตอร์ที่จำเลยที่ 1 จัดให้บริการเรียกว่า SKY ICU 
 
จำเลยที่ 1 แจ้งว่าเฮลิคอปเตอร์ไม่ว่างและไม่สามารถบินกลางคืนได้ โดยจำเลยที่ 1 มิได้ถามค้านโจทก์เพื่อหักล้างสมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์ดังที่โจทก์เบิกความ 

คดีย่อมฟังได้ว่า เฮลิคอปเตอร์ที่จำเลยที่ 1 ให้บริการรับส่งผู้ป่วยทางอาการมิได้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถบินในเวลากลางคืนได้ เมื่อคำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ระบุว่า โรงพยาบาลมีบริการรับส่งผู้ป่วยทางอากาศ (Air Ambulance) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใช้บริการมากราย หรือเฮลิคอปเตอร์ไม่มีคิวว่างที่จะเคลื่อนย้ายโจทก์ในวันนั้น คำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยที่ 1 มีบริการเช่นนั้นจริง 
 
นายแพทย์ ต. พยานจำเลย เบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า การทำบายพาสเร่งด่วนให้ได้ภายใน 6 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย 
 
เมื่อการเคลื่อนย้ายโจทก์ได้รับความยินยอมจากมารดาของโจทก์เมื่อเวลา 22 นาฬิกา และสามารถเคลื่อนย้ายด้วยรถพยาบาลเมื่อเวลา 3 นาฬิกา ของวันที่ 12 กำหนดถึงโรงพยาบาลที่กรุงเทพมหานครเวลาประมาณ 15 นาฬิกา เท่ากับใช้เวลาก่อนออกเดินทาง 5 ชั่วโมง เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง 
 
จำเลยที่ 1 ย่อมตระหนักดีว่าระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายโจทก์เป็นข้อสำคัญที่ต้องดำเนินการทันท่วงที การเคลื่อนย้ายด้วยรถพยาบาลที่ต้องใช้เวลาดังกล่าวย่อมไม่สอดคล้องกับคำแนะนำและไม่เป็นผลดีต่อการรักษาอาการของโจทก์ เป็นการเลือกใช้วิธีเคลื่อนย้ายโจทก์ไปรักษาที่ไม่เหมาะสมแก่โจทก์ในสภาวการณ์เช่นนั้น 
 
คดีฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ใช้ความพยายามตามวิธีการและมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการรักษาและเคลื่อนย้ายโจทก์ตามสถานการณ์และอาการบาดเจ็บของโจทก์ในขณะนั้น การที่โจทก์ต้องถูกตัดขาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่ล่าช้าเนิ่นนานเกินไป อันแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นโรงพยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ในการดูแลรักษาโจทก์และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย


ผลคดี: 
จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย  ยกฟ้องจำเลยที่ 2

 


เนื้อหาจากเพจ บันทึกทนายน้อย:The Little Lawyer Diary 18 กันยายน 2566  ร่วมติดตามสาระด้านกฏหมายดีได้จากเพจ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด