ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า เสียชีวิต รายที่ 5 ของประเทศ หลังถูก ลูกสุนัข 3 เดือนกัด

ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า เสียชีวิต รายที่ 5 ของประเทศ หลังถูก ลูกสุนัข 3 เดือนกัด HealthServ.net
ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า เสียชีวิต รายที่ 5 ของประเทศ หลังถูก ลูกสุนัข 3 เดือนกัด ThumbMobile HealthServ.net

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่ม 1 รายในจังหวัดชลบุรี เป็นชายอายุ 44 ปี ถูก ลูกสุนัข อายุ 3 เดือนกัด เมื่อเดือนสิงหาคม และไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ถือเป็นผู้เสียชีวิตรายที่ 5 ของประเทศ เป็นรายที่ 3 ของเขตสุขภาพที่ 6 ของปีนี้ แพทย์เตือน ประชาชนที่ถูกสุนัข แมว กัด ข่วน หรือเลียบริเวณแผล แม้เพียงเล็กน้อย ไม่มีเลือดออกที่แผล ก็อย่าชะล่าใจ ต้องรีบล้างแผล ด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และรีบไปพบแพทย์

 
     แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี กล่าวถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2566 ล่าสุด ตุลาคม 2566 เขตพื้นที่สุขภาพที่ 6 หรือภาคตะวันออกพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มอีก 1 ราย เป็นเพศชาย อายุ 44 ปี ที่จังหวัดชลบุรี ถือเป็นผู้เสียชีวิตรายที่ 3 ของปีนี้ และเป็นรายที่ 5 ของประเทศ


      จากการสอบสวนโรคพบว่าผู้เสียชีวิตมีประวัติถูกลูกสุนัข อายุ 3 เดือนที่เลี้ยงไว้กัดเมื่อ สิงหาคม 2566 แต่ไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแต่อย่างใด

 
 
     จากกรณีนี้ขอเตือนว่า ประชาชนที่ถูกสุนัข แมว แม้จะเป็นเพียงลูกสุนัข ลูกแมว ก็ตาม หากถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณแผล แม้เพียงเล็กน้อย ไม่มีเลือดออกที่แผล ก็อย่าชะล่าใจ ต้องรีบล้างแผล ด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และรีบไปพบแพทย์  เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากถูกกัดแล้วควรไปฉีดวัคซีนป้องกันทันที โดยเข็มแรกควรฉีดภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังถูกกัด และต้องได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มภายใน 7 วัน หลังได้รับวัคซีนเข็มแรก  ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อการป้องกันโรคการฉีดวัคซีนให้ครบ 5 เข็ม จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูง คงอยู่ในระดับที่ป้องกันโรคได้นานอย่างน้อย 1 ปี สามารถไปรับบริการฉีดวัคซีนในสถานพยาบาลใกล้บ้าน และที่สำคัญควรกักสัตว์ที่กัดเพื่อดูอาการอย่างน้อย 10 วัน
 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดนำเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสู่คน





 
     ยังมีประชาชนที่ยังไม่เห็นถึงอันตรายของโรคนี้ ทั้งที่เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถนำเชื้อนี้สู่คนได้ทางน้ำลาย ผ่านการกัด ข่วน หรือเลียโดนผิวหนังเปิดหรือเป็นแผล โดยสัตว์ที่พบเป็นโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยและเสี่ยงติดสู่คนมากที่สุดคือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข และ แมว ทันทีที่เสี่ยงรับเชื้อต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบตามจำนวน เพราะระยะฟักตัวหลังได้รับเชื้อไม่แน่ชัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งและปริมาณเชื้อที่ได้รับ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน บางรายอาจนานถึง 1 ปี หากปล่อยจนผู้ติดเชื้อแสดงอาการแล้วจะไม่สามารถรักษาได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย โดยอาการที่จะแสดงส่วนใหญ่คือ มักมีไข้ ปวดศีรษะ คันรุนแรงบริเวณบาดแผล คลุ้มคลั่ง กลัวแสง กลัวลม กลืนน้ำหรืออาหารลำบาก



 

ต้องนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน


 
     แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผอ.สคร.6 ชลบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประชาชนที่มีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข และแมว ต้องนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนครั้งแรก เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุ 2 – 4 เดือน แล้วฉีดซ้ำตามกำหนดทุกปี ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้านตามลำพัง โดยไม่ใส่สายจูง หากพบสุนัขหรือแมวมีอาการดุร้ายหรือเซื่องซึมจนป่วยตายผิดปกติ ขอให้รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที  เทคนิคการลดความเสี่ยงถูกสุนัขกัด หรือทำร้ายควรยึดหลักคาถา 5 ย. คือ อย่าแหย่ ให้สุนัขโมโห โกรธ อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ตกใจ อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบ ชามข้าวหรือย้ายอาหาร ขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร และอย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้กับสุนัข หรือสัตว์ต่างๆ นอกบ้านที่ไม่มีเจ้าของหรือไม่ทราบประวัติ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
 
 
 
ข้อมูลอ้างอิง : รายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค /แนวทางเวชปฏิบัติ โรคพิษสุนัขบ้า และคำถามที่พบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 
วันที่ 27 ตุลาคม 2566 

สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2564 ผู้เสียชีวิต 3 ราย

สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2564 ที่ผ่านมา พบผู้เสียชีวิต 3 รายใน 3 จังหวัด (จังหวัดสุรินทร์ 2 ราย และจังหวัดบุรีรัมย์ 1 ราย) 

สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2565 พบเสียชีวิตทั้ง 3 ราย

กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2565 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 3 รายใน 3 จังหวัด และเสียชีวิตทั้ง 3 ราย (จังหวัดชลบุรี 1 ราย สงขลา 1 ราย และจังหวัดสมุทรปราการ 1 ราย) 

สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2566

พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ กรมควบคุมโรค ฉบับที่ ฉบับที่ 9/2566 ประจำสัปดาห์ที่ 10 (วันที่ 12 – 18 มีนาคม 2566) รายงานสถานการณ์ โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2566 (1 มกราคม - 8 มีนาคม) พบผู้ป่วยแล้วจำนวน 2 ราย  (จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง) และเสียชีวิตแล้วทั้ง 2 ราย สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการไม่ไปพบแพทย์ และไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค โดยเฉพาะรายที่ 2 ที่เคยมีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน แต่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำหลังถูกสุนัขกัด” 

ผู้เสียชีวิตรายที่ 3 พบในจ.สุรินทร์  ตามรายงานการเฝ้าระวังโรคในระบบรายงานเฝ้าระวัง 506 โดยกองระบาดวิทยาว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 พฤษภาคม 2566


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด