ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กสทช.เปิดตัว "กะทิ" สายรัดข้อมืออัจริยะสำหรับวัยเก๋า ดิจิทัลเทคเพื่อดูแลผู้สูงอายุ

กสทช.เปิดตัว "กะทิ" สายรัดข้อมืออัจริยะสำหรับวัยเก๋า ดิจิทัลเทคเพื่อดูแลผู้สูงอายุ Thumb HealthServ.net
กสทช.เปิดตัว "กะทิ" สายรัดข้อมืออัจริยะสำหรับวัยเก๋า ดิจิทัลเทคเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ThumbMobile HealthServ.net

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ประกาศเปิดตัว “โครงการวิจัยแนวทางเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ” พร้อมวางแผนเพื่อหาแนวทางการทำความร่วมมือ Thailand Smart Living Lab ต่อไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดสวัสดิการผู้สูงอายุ ยุค 5G Digital Health Innovation และเตรียมตัวก้าวสู่ Thailand Personal Health AI”

กสทช.เปิดตัว "กะทิ" สายรัดข้อมืออัจริยะสำหรับวัยเก๋า ดิจิทัลเทคเพื่อดูแลผู้สูงอายุ HealthServ
 
นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยสถิติผู้สูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดช่องว่างและข้อจำกัดบางประการของการปรับตัวระหว่าง “ผู้สูงอายุ” กับ “เทคโนโลยียุคใหม่” ที่ทำให้ไม่มีความรู้ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการเชื่อมต่อข้อมูลและใช้งานจากเทคโนโลยีดิจิทัลเท่าที่ควร ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ จึงนับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลในการยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
 
 
กสทช.เปิดตัว "กะทิ" สายรัดข้อมืออัจริยะสำหรับวัยเก๋า ดิจิทัลเทคเพื่อดูแลผู้สูงอายุ HealthServ
 


 
        “ทาง กสทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อดำเนินโครงการวิจัยแนวทางเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม และการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยผลลัพธ์ของโครงการจะได้เป็นแนวทางการเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ และได้แบบสถานการณ์จำลองหรือระบบนำร่องของบริการสวัสดิการทางสังคมบนพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งกองทุน กทปส. มีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าระบบนำร่อง หรือ Prototype ที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนโครงการดังกล่าว จะถูกนำไปใช้ประโยชน์และขยายผลการใช้งานไปทั่วประเทศ


 
กสทช.เปิดตัว "กะทิ" สายรัดข้อมืออัจริยะสำหรับวัยเก๋า ดิจิทัลเทคเพื่อดูแลผู้สูงอายุ HealthServ

กสทช.เปิดตัว "กะทิ" สายรัดข้อมืออัจริยะสำหรับวัยเก๋า ดิจิทัลเทคเพื่อดูแลผู้สูงอายุ HealthServ
 นายประสิทธิ์ ทองแท่งไทย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

        ด้าน รศ.ดร. รินา ภัทรมานนท์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวถึง โครงการวิจัยแนวทางเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม และการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกิดขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ที่ต้องการพัฒนาการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ จึงได้มีการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ ภาระหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสวัสดิการทางสังคมกับผู้สูงอายุ รวมถึงวิเคราะห์สวัสดิการทางสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจัดทำแนวทางการเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการพัฒนาสถานการณ์จำลองหรือระบบนำร่องของบริการสวัสดิการทางสังคมบนพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ
 
 

          ด้านอาจารย์ จตุรภรณ์ โชคภูเขียว จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า “จากการศึกษาที่ผ่านมาของโครงการนี้ ทำให้ได้ข้อเสนอแนวทางเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงการสร้างระบบนำร่องสารสนเทศอุปกรณ์ Medical IoT ที่พัฒนาขึ้นจากสถานการณ์จำลองของบริการดิจิทัลบนพื้นฐานเทคโนโลยี Internet of Things หรือ 5G  โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานไม่น้อยกว่า 5 หน่วยงาน และผู้สูงอายุได้ทดลองใช้ระบบนำร่องดังกล่าวถึง 2,000 ราย  อีกทั้งโครงการต้นแบบสามารถนำไปบรรจุเป็นแผนปฏิบัติราชการของจังหวัดพื้นที่เป้าหมายได้ ได้แก่ จังหวัดลำปาง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสงขลา และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในโครงการไม่น้อยกว่า 80%”
 
 

        ปัจจุบัน โครงการที่ กทปส. สนับสนุนได้ดำเนินการมานั้น สามารถสร้าง Prototype เพื่อนำร่องไปใช้ประโยชน์ได้ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กทปส. กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.), สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช),  ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาล โดยหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันหารือเรื่อง“การวางแผนการดำเนินงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดสวัสดิการผู้สูงอายุ ยุค 5G Digital Health Innovation เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ Thailand Personal Health AI” เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้โครงการเดินหน้าในระยะถัดไป
 
 
          เริ่มที่ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กล่าวว่า “เป้าหมายสูงสุดของ บพค. ก็คือการที่เห็นคนไทยมีสุขภาพที่ดีเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยด้วยเป้าหมายที่ทางร่างกายและจิตใจสุขภาพแข็งแรงเป็นผู้สูงวัยที่เปลี่ยนแปลงอนาคตของประเทศได้ และภายในสามปีนี้เราจะได้เห็นประโยชน์ที่เกี่ยวกับ สุขภาพของคนไทยหรือคอมมูนิตี้ ที่เป็น Personal AI อย่างแน่นอน”

 
 
         ในขณะที่ พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็มีความยินดีที่จะสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ โดยเชื่อว่าจะสามารถเป็นส่วนที่เข้ามาช่วยเสริมระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้าน นายประสิทธิ์ ทองแท่งไทย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มองว่า การที่จะให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร ต้องมีหน่วยบริการที่ใกล้พี่น้องประชาชนที่สุดโดยเฉพาะ รพสต. ที่ต้องให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับอุปกรณ์IoTต่าง ๆ เพราะโรคหลายหลายโรคจะต้องมีการเก็บข้อมูลและใช้ความเร่งด่วนในการรักษาอย่างทันท่วงที
 

          นอกจากนี้ นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการทำข้อมูลให้เป็นข้อมูลรายบุคคลด้วยการใช้ระบบดิจิทัล เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทราบสิทธิ์ของตัวเองในการเข้าถึงสวัสดิการที่มีอยู่แล้วของแต่ละบุคคลรวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ เพื่อให้การเข้าถึงทางการแพทย์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ดร.มนต์ศักดิ์  โซ่เจริญธรรม ที่ปรึกษาอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูลดิจิทัลภาครัฐ ก็สนับสนุนแนวคิดเรื่องการเก็บข้อมูล Data ส่วนบุคคลของทุกคน และให้มีมาตรการมารองรับและดูแลข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้ง นางพรนิภา มาสิลีรังสี รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เห็นด้วยว่าการนำนวัตกรรม Personal AI เข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุนั้น สอดคล้องกับภารกิจของกรมกิจการผู้สูงอายุ คือการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกระดับ ในทุกมิติ
 
สำหรับPrototype ที่ประสบความสำเร็จจากโครงการโครงการวิจัยแนวทางเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม และการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ ก็คือ Box set ที่ประกอบไปด้วย สายรัดข้อมืออัจฉ ริยะ “กะทิ” ที่เป็น Health Monitoring ที่ช่วยสามารถติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยสามารถวัดความเข้มข้นของออกซิเจน อัตราการเต้นของหัวใจ สเต็ปก้าวเดิน ซึ่งในอนาคตจะสามารถต่อยอดในเรื่องของ Calling feature และ SOS feature จะส่งพร้อมตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันหากเกิดอุบัติเหตุกับผู้สวมใส่ได้ด้วย นอกนี้รวมถึงยังมีเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดความเค็มและเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
 
 

สำหรับ ความร่วมมือ Thailand Smart Living Lab ในครั้งนี้นับว่าเป็นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการบูรณาการความร่วมมือของ กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด รวมถึงผู้บริหารส่วนท้องถิ่นที่ได้เข้ามาช่วยกันสนับสนุนผลักดันให้เกิดสวัสดิการผู้สูงอายุยุค 5G ผ่านการทำ Digital Health Innovation เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงในสุขภาพ และสามารถใช้ชีวิตสังคมในระยะยาวได้อย่างมีความสุข ตลอดจนทางภาครัฐยังได้มีข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งประเทศไทย เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่การทำ Thailand Personal Health AI กับกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) รวมทั้งหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในลำดับต่อไป โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรงยิ่งขึ้น
 
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นก้าวสําคัญในการขับเคลื่อนการเข้าถึงสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุในประเทศ และจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ช่วยลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐ ในการดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาลของผู้สูงอายุได้ในอนาคต ผมขอสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จจนสามารถเกิดการผลักดันต่อให้เป็นนโยบายสวัสดิการทางสังคมและสุขภาพด้วยเทคโนโลยี 5G ต่อไปในอนาคต” นายไตรรัตน์ กล่าวเพิ่มเติม

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด