ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โควิดสายพันธุ์ JN.1 สายพันธุ์หลักในประเทศไทย ขณะนี้ (มกราคม 67)

โควิดสายพันธุ์ JN.1 สายพันธุ์หลักในประเทศไทย ขณะนี้ (มกราคม 67) HealthServ.net
โควิดสายพันธุ์ JN.1 สายพันธุ์หลักในประเทศไทย ขณะนี้ (มกราคม 67) ThumbMobile HealthServ.net

ยืนยันในทางวิชาการแล้วว่า การระบาดโควิดในช่วงนี้ที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2566 นั้น เป็นโควิดสายพันธุ์ JN.1 (เป็นลูกของสายพันธุ์ BA.2.86) เป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดและติดต่อได้ง่าย อาการของผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ JN.1 อาการไม่รุนแรง บางคนเพียงเป็นหวัด เจ็บคอเหมือนโรคทางเดินหายใจทั่วไป ติดต่อได้ง่าย เป็นแล้วก็สามารถเป็นอีก

 
นพ.ยง ภู่วรวรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์โควิดและสายพันธุ์หลักที่พบในขณะนี้ว่า จากที่มีการคาดการณ์ว่าไว้ก่อนหน้าว่า สายพันธุ์ JN.1 ที่เป็นลูกของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2.86 (Pirola ชื่อของดาวเคราะห์น้อย) จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อื่นทั้งหมด เหตุเพราะเป็นสายพันธุ์ที่ติดต่อได้ง่ายและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว 

   โอมิครอนสายพันธุ์ JN.1  พบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และกำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ขณะนี้ 



รู้จักสายพันธุ์ JN.1 





   เพจ Center for Medical Genomics ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ JN.1 ว่า 

  1. โอมิครอน JN.1 สืบเชื้อสายมาจาก BA.2.86 โดยมีความแตกต่างทางสายวิวัฒนาการจากโอมิครอนเชื้อสาย XBB* ที่ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักในปีพ.ศ. 2566 โดยมีการกลายพันธุ์ส่วนหนามของอนุภาคไวรัสที่ใช้ยึดเกาะกับเซลล์มากกว่า 30 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับโอมิครอน XBB.1.5 และการกลายพันธุ์ส่วนหนามดังกล่าวยังช่วยเพิ่มศักยภาพของโอมิครอน JN.1 ให้สามารถหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้สูงขึ้น 
  2. ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ของโอมิครอน JN. 1 สูงกว่าโอมิครอน BA.2.86 และ HK.3 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก EG.5.1<--XBB.1.5 ถึง 79% บ่งชี้ว่าโอมิครอน JN.1 จะแพร่ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่โอมิครอนสายพันธุ์อื่นใน ปี 2567 
  3. โอมิครอน JN.1 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามที่ทำให้ความสามารถในการจับกับตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์มนุษย์ลดลงบ้าง แต่ก็แลกมาด้วยการหลบเลี่ยงภูมิกันสูงกว่าโอมิครอนรุ่นพ่อแม่ BA.2.86 อย่างมีนัยสำคัญ จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า โอมิครอน JN.1 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในปัจจุบัน   
  4. ภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอนสายพันธุ์ XBB* ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโอมิครอน JN.1 ได้ดีนัก
  5. โอมิครอน JN.1 มีรายงานการพบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 โดยเป็นลูกหลานของโอมิครอน BA.2.86 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายตระกูลโอมิครอน BA.2  องค์การอนามัยโลกรายงานว่าพบโอมิครอน JN.1 ได้แพร่กระจายไปยังอย่างน้อย 41 ประเทศ
 


2 สถาบันของไทยยืนยันตรงกัน





        นพ.ยง กล่าวถึงผลจากการศึกษาของศูนย์ไวรัส จุฬาฯ ว่า จากการถอดรหัสพันธุกรรม ในเดือนธันวาคม 14 ตัวอย่าง (ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่รอวิเคราะห์) พบว่าสายพันธุ์เด่นที่พบมากที่สุด เป็นสายพันธุ์ JN.1 แล้ว (เปลี่ยนจากสายพันธุ์ HK3 ในเดือนพฤศจิกายน)  และทางศูนย์ได้ติดตามสายพันธุ์อยู่ต่อไป

        ด้านศูนย์จีโนม มหิดล รายงานว่า ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาจากข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมโควิด-19 ทั้งจีโนมที่แชร์บนฐานข้อมูลโควิด-19 โลก “จีเสส (GISAID)” โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายสถาบันการแพทย์ต่างๆ พบว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงเป็นสายพันธุ์ EG.5.1* ประมาณ 244 ราย และ JN* ประมาณ 15 ราย คาดว่า JN* จะระบาดเข้ามาแทนที่ EG.5.1* ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักของไทยในขณะนี้

 


ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐ


   สหรัฐฯ กำลังเผชิญปัญหาสองด้านพร้อมกัน ปัญหาแรกคือการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 สายพันธุ์ “เจเอ็นวัน(JN.1) ที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมเมื่อ 2 ปีก่อน ปัญหาที่สองคือประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศเลือกที่เชื่อหรือจินตนาการเอง(make believe) ว่า "การระบาดของโควิด-19 ได้ยุติและผ่านพ้นไปแล้ว" โดย "ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ขณะนี้ไม่ต่างไปจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล"  ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนความคิดเหล่านี้ เห็นได้จากการพร้อมใจกันลดการ์ด ปฏิเสธการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อแม้แต่มาตรการง่าย ๆ เช่นการล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะก็ถูกละเลย 


   ในขณะที่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 17  ประการกลับบ่งชี้ชัดเจนว่าการระบาดระลอกใหม่โควิด-19 สายพันธุ์ JN.1 กำลังจะเกิดขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยรุนแรงและเสียชีวิตยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่อาการลองโควิดจากการติดเชื้อน่าจะเพิ่มขึ้น (เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น) อีกทั้งโรคโควิด-19 มีความรุนแรงมากว่าโรคไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ

 
   ในสหรัฐอเมริกาพบโอมิครอน JN.1 เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากการระบาดระลอกแรกจากโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม ขณะนี้พบว่ามีชาวอเมริกันประมาณ 2 ล้านคนที่ติดเชื้อโควิด-19 ในแต่ละวัน โดยประเมินจากจำนวนไวรัสที่พบในน้ำเสีย เพราะเราได้สูญเสียความสามารถในการติดตามจำนวนการติดเชื้อที่แท้จริงเนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ตรวจหาเชื้อกันเองที่บ้านด้วยชุดตรวจ ATK หรือผู้ติดเชื้อบางรายไม่ตรวจเลยด้วยซ้ำ

 
       ช่วงปลายปี 2566 พบจำนวนโอมิครอน JN.1 ในแหล่งน้ำเสียทั่วโลก(ที่มีปัสสาวะและอุจจาระปนเปื้อน) เพิ่มสูงมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อน บ่งชี้ว่าอาจมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามแหล่งน้ำร่วมด้วยนอกเหนือจากการติดต่อโดยสารคัดหลั่งจากการไอ-จาม  โดยพบโอมิครอน JN.1 ประมาณ 66% จากตัวอย่างน้ำเสียในสหรัฐฯ

 
 

วัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยได้หรือไม่


          ประชากรอเมริกันมากกว่า 97% มีแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 เนื่องจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อตามธรรมชาติก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้แม้ระดับการติดเชื้อสูงแต่ความรุนแรงของการเจ็บป่วยลดลง

          วัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นล่าสุดที่ใช้หัวเชื้อหรือสารตั้งต้นเป็นโอมิครอน XBB.1.5 สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างแอนติบอดีเข้าจับและทำลายโอมิครอนทั้งตระกูลรวมทั้งสายพันธุ์ JN.1 ในหลอดทดลองได้ดี และสามารถลดความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อโอมิครอนรวมถึงสายพันธุ์ JN.1 ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. และรักษาตัวในห้องฉุกเฉินลงได้ถึงประมาณ 60% อย่างไรก็ดีกลับพบว่าอัตราการฉีดวัคซีนในประชากรสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเพียงเด็ก 8% และผู้ใหญ่ 19% เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนรุ่นล่าสุด XBB.1.5 โมโนวาเลนต์ โดยผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปเพียง 38% เท่านั้นที่มีรายงานว่าได้รับวัคซีนนี้ ซึ่งน่ากังวลเนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีความเปราะบางที่เมื่อติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้นเป็นที่แน่ชัดว่าการติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่จะทำให้ชาวอเมริกันอาจต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการ “ลองโควิด”เพิ่มมากขึ้น แม้จะไม่เสียชีวิตมากก็ตาม



ความรุนแรงและการรับการรักษาในโรงพยาบาล (ในสหรัฐ)



          การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น 20.4% และ 12.5% ตามลำดับ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2023 
 
          จำนวนผู้เจ็บป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโอมิครอน JN.1 ขณะนี้ยังไม่แตกต่างจากโอมิครอนสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่หากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ย่อมทำให้มีผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
 
          ชาวอเมริกันส่วนหนึ่งเชื่อว่าโรคโควิด-19 มีความรุนแรงไม่ต่างจากโรคไข้หวัดใหญ่ แต่จากข้อมูลการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกาเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่ซึ่งรวบรวมจากสถาบัน “Epic Research COSMOS data tracker” ซึ่งรวบรวมข้อมูลบันทึกทางการแพทย์รวมถึงรหัส ICD-10 และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจากระบบสุขภาพขนาดใหญ่มากกว่า 220 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2565 - 26 พฤศจิกายน 2566 พบว่า 
 
  • มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ (5,572,366 ราย)  มากกว่าไข้หวัดใหญ่ (1,772,602ราย)  ถึง 2.87 เท่า
  • มีผู้ป่วยโควิด-19 ต้องเข้ารักษาตัวโรงพยาบาลมากกว่ามากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ถึง 5 เท่า

และข้อมูลจากทหารผ่านศึกชาวอเมริกันยังพบว่า
  • ผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโควิด-19 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยหวัดไข้ใหญ่ตามฤดูกาล กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น 51% ภายในระยะเวลาติดตาม 18 เดือน 
  • เมื่อวิเคราะห์โรคประจําตัวอีก 94 โรคร่วมด้วยพบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคประจำตัวถึง 64 โรค ส่วนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเพียง 6 โรค
  • หากไม่นับโรคทางระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกับอวัยวะอื่นๆ มากกว่าผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่   โดยมีจํานวนปีชีวิตที่สูญเสียเนื่องจากโรคหรือความพิการ คิดจากกลุ่มผู้ป่วย 100 คน (disability-adjusted life years per 100 patients) พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโควิดใน 100 คนจะมีปีชีวิตที่สูญเสียเนื่องจากโรครวม 287 ปี  ในขณะที่ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีจะมีปีชีวิตที่สูญเสียเนื่องจากโรครวม 243 ปีต่อ 100 คน



 
นพ.ยง ระบุเกี่ยวอาการผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ JN.1 ว่า

"จะมีอาการไม่รุนแรง บางคนเพียงเป็นหวัด เจ็บคอเหมือนโรคทางเดินหายใจทั่วไป ติดต่อได้ง่าย เป็นแล้วก็สามารถเป็นอีก จึงทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังปีใหม่นี้ และคาดว่าผู้ป่วยจะเริ่มลดลงหลังเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะลดลงอย่างมากในเดือนมีนาคม แล้วจะสงบลง จนไปถึงฤดูกาลใหม่ในเดือนมิถุนายนปีนี้
 
ความรุนแรงของโรคไม่ได้เปลี่ยนแปลง สิ่งที่สำคัญที่ต้องศึกษาขณะนี้คือ ระบบภูมิต้านทานเดิมที่มีอยู่มีผลอย่างไร กับการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ใหม่ โดยจะนำสายพันธุ์ใหม่ มาเพราะเชื้อขยายจำนวน แล้วทดสอบกับปฏิกิริยาภูมิต้านทาน ในคนไทย ที่ได้รับวัคซีนชนิดต่างๆ และการติดเชื้อที่ผ่านมา"

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด