พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้โพสต์สรุปภาพเหตุการ ไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
"หลายหน่วยเข้าชื่อร้อง สปสช." . ถ้าคลินิกชุมชนอบอุ่น บริการแล้วไม่จ่ายเงิน ให้ครบจำนวน ถูกหักเปอร์เซ็นต์ จนอยู่ไม่ได้ . ระบบส่งต่อไปยัง โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย บริการแล้ว มีปัญหา ค้างชำระเป็นพันล้าน ทั้งที่โรงพยาบาลเหล่านั้นต้องขอรับบริจาค ประชาชนอยู่แล้ว . ร่วมกับโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเองในทั้งระดับ โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลสถาบันการแพทย์ . การรักษาในระบบบัตรทองจะเดินต่อได้อย่างไร ให้ยั่งยืน . ความท้าทายของรัฐบาลปัจจุบัน ที่ กำลังขยายให้ บริการบัตรประชาชนใบเดียว คงต้องเร่งแก้ไขครับ
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เครือข่ายสถานพยาบาล 5 องค์กร ออกแถลงการณ์ โดย
เนื้อหาในแถลงการณ์ ชี้ถึงข้อเท็จจริง พร้อมแนวทางแก้ปัญหา ต่อ สปสช. อย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา ดังรายละเอียดดังนี้
เรื่อง ข้อเท็จจริงและข้อเสนอประกอบการแก้ปัญหาเรื้อรังจากการบริหารจัดการของ สปสช. ในระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
เรียน ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สิ่งที่ส่งมาด้วย
เอกสาร 1 การบริการสุขภาพของผู้ป่วยนอกสิทธิบัตรทอง
เอกสาร 2 การจ่ายเงินค่าบริการผู้ป่วยนอกในกรุงเทพมหานคร
ตามที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้เกียรติรับฟังและสอบถามทุกข์สุขมายังเครือข่าย สถานพยาบาลที่ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้น ทางเครือข่ายสถานพยาบาลฯประกอบด้วย ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ชมรมโรงพยาบาล/สถาบัน กรมการแพทย์ สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สมาคมคลินิกชุมชนอบอุ่น และเครือข่าย โรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) นั้น ทางเครือข่ายสถานพยาบาลฯ จึงขอเรียน ข้อเท็จจริงและข้อเสนอประกอบการแก้ปัญหาเรื้อรังจากการบริหารจัดการของ สปสซ.ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้
1. ในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร สปสช.เขต 13 และ อปสข.เขต 13 มีการปรับระบบ บริการที่ผิดพลาดจาก Model 2 เป็น Model 5 ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งเป็นรูปแบบที่เบี่ยงไปจากหลักการเดิมของระบบปฐมภูมิ ที่ส่งเสริมให้คลินิกชุมชนเป็นหน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจ ลดศักยภาพการบริการของหน่วยบริการ โดยจำกัดรายการใน Fee Schedule ส่งผลกระทบให้มีมูลค่าการบริการ เกินกว่าการบริการเกือบ 300 ล้านบาท
ตัวอย่าง เช่น สปสช. จ่ายค่าบริการชดเชยค่าบริการผู้ป่วยนอกแก่คลินิกชุมชนอบอุ่น เพียงร้อยละ 57 ของค่าบริการจริง สปสช. ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2567 ปรากฎว่ามีการจ่ายค่าบริการในไตรมาสแรกเกินกว่าร้อยละ 50 ของงบประมาณ ซึ่งมีแนวโน้ว่าในปีงบประมาณ 2567 จะมีปัญหาเช่นเดียวกับปี 2566 โดยมีรายละเอียดตามเอกสาร 1
ทางเครือข่ายสถานพยาบาลมีข้อเสนอแนะมายังท่านเพื่อกำกับการบริหารงบประมาณละบริหารจัดการ
องค์กร ดังนี้
ก. หยุดใช้ Model 5 ในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว และกลับไปใช้ Model 2 แนะนำให้มีการจัดสรรงบประมาณค่าบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มเติมให้เพียงพอสำหรับการบริการใน 3 ไตรมาสที่เหลือของปีงบประมาณ 2567 และจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ในอัตราปกติ
ทั้งนี้ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะขยายการบริหารที่มีลักษณะคล้าย Model 5 ออกไปนอกกรุงเทพมหานคร
ข. ปรับกลไกการกำกับและดูแลในสถานการณ์ที่มีการประเมินวงเงินหรือการบริหารงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน หากผลการเบิกค่าบริการปลายปีเพิ่มมากเกินวงเงินเป็นจากการเพิ่มสิทธิประโยชน์ ต้องมีกลไกด้านจัดการงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเยียวยาสถานพยาบาล
2. ในระบบบริการสุขภาพในภูมิภาค ซึ่งดำเนินการโดยสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขเกือบร้อยละ 100 นั้น ปรากฎปัญหาโดยสังเขปจากการบริทารงานของ สปสช. มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
- ค่าบริการเหมาจ่ายรายหัวที่ สปสช. จ่ายให้ต่ำกว่าต้นทุนอย่างมาก เมื่อปี พ.ศ. 2561 มีการศึกษาต้นทุนในหน่วยบริการโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยายาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าต้นทุน บริการผู้ป่วยในเท่ากับ 13,142 บาทต่อ 1 AdjRW ในขณะที่ สปสช. ยังคงจ่ายในอัตรา 8,350 บาทต่อ 1 AdjRW หรือ เพียงร้อยละ 63 ของต้นทุนบริการมาตลอดในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการปรับเพิ่มอัตราจ่ายให้หน่วยบริการ แม้ สปสช. จะได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี
- ในปีงบประมาณ 2566 สปสช. คาดการณ์บริการผู้ป่วยในต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เพราะในสถานการณ์วิกฤตโควิด ผู้ป่วยถูกเลื่อนจำนวนมาก มีผู้ป่วยตกค้างจำนวนมาก เมื่อlถานการณ์คลี่คลาย ยอดบริการผู้ป่วยในจึงสูงขึ้นอย่างมาก สปสช. ไม่เคยมีการประสานกับหน่วยบริการในการประเมินฉากทัศน์ การบริการร่วมกัน จึงส่งผลให้การประมาณการในด้านการบริการ และงบประมาณไม่เท่าทันกับสถานการณ์จริง สปสช. ใช้วิธีแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีเดิมๆ โดยการดึงเงินค่าบริการผู้ป่วยในกลับจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 710 แห่ง รวมเป็นเงินกว่า 2,200 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการจ่ายค่าบริการเพียงจำนวน 7,678 บาท ต่อ 1 AdjRW (58% ของต้นทุน) โรงพยาบาลที่ให้บริการจำนวนมาก กลับถูกหักเงินคืนมากขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อการจ่ายค่าบริการต่ำกว่าต้นทุน ทำให้หน่วยบริการต่างๆ ประสบปัญหาวิกฤตการเงิน เห็นได้จากโรงพยาบาลเอกชนหนีออกจากระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนมีบทบาทสำคัญในระบบบริการสุขภาพเช่นกัน ดังปรากฎจากสถานการณ์วิกฤตโควิด หากปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้ ในอนาคต จะกระทบต่อบริการที่ให้แก่ประชาชน หน่วยบริการจะไม่สามารถจัดหาอัตรากำลังหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- สปสช. ปรับเพิ่มขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการเรียกข้อมูลจากหน่วยบริการ กำหนดให้ส่งข้อมูลทางคลินิก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลค่าใช้จ่าย (financial Data) นอกจากจะเป็นภาระแก่เจ้าหน้าที่ ยังเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อกฎหมาย PDPA หรือเพิ่มขั้นตอนการยืนยันตัวตน (authentication) ซ้ำเติมสถานการณ์การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยบริการ
- สปสช.ประกาศอัตราเบิกจ่าย โดยไม่เคยมีการตกลงร่วมกันกับหน่วยบริการ สปสซ.ไม่คำนึงถึงทุนที่โรงพยาบาลแต่ละระดับแตกต่างกัน ไม่เคยคำนึถึง STAKEHOLDER ในระบบบริการหลายรายการที่หน่วยบริการไม่สามารถจัดหาได้
ทางเครือข่ายสถานพยาบาลฯมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
ก. ใช้เงินจากกองทุนรายได้สูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายสะสม เนื่องจากเป็นการให้บริการเกินเป้าหมายจริง
ข. ค่ารักษาส่วนที่เกินจากการประมาณการ สปสช.ควรแสดงความรับผิดชอบและมีมาตรการในการจัดหางบประมาณมาชดเชยให้หน่วยบริการ มิใช่ผลักภาระให้หน่วยบริการดังที่เคยปฏิบัติมาเป็นประจำ
ค. สปสช.ต้องลงบัญชีเป็นลูกหนี้ของโรงพยาบาลจากเงินที่เคยเรียกคืน ไม่ใช่ลงบัญชีว่าโรงพยาบาลเป็นลูกหนี้ของ สปสข. ดังเช่นปัจจุบัน
ง. สปสช. ต้องลดขั้นตอนและลดการกำหนดข้อมูลที่มากเกินความจำเป็น รวมทั้งลดขั้นตอนเหลือเท่าที่จำเป็น เพื่อลดภาระของหน่วยบริการและลดการส่งชุดข้อมูลหลายระบบ โรงพยาบาลทุกแห่งจัดส่งข้อมูลผ่านกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
3. สนับสนุนและขอให้เร่งรัดจัดตั้งเครือข่ายสถานพยาบาลฯ หรือ Provider Board ซึ่งเป็นผู้ให้บริการจริงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อการอภิบาลระบบสุขภาพของประเทศ ให้มีความโปร่งใสและธำรงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไปได้ มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกองทุนและหน่วยบริการ ใช้ข้อมูลการบริการจริงในการคำนวณวงเงินงบประมาณ บนหลักความสมเหตุผลทางการแพทย์ ร่วมไปกับความสมเหตุสมผลทางการเงิน ไม่ถ่ายโอนความเสี่ยงโดยเฉพาะความเสี่ยงทางการเงินไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างไม่มีธรรมาภิบาลหรือสมเหตุสมผล หรือไม่ผ่านการตกลงร่วมกัน
ลงนามโดย
นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ประธานชมรมโรงพยาบาลสถาบันกรมการแพทย์
แพทย์หญิงนันทวัน ชอุ่มทอง
นายกสมาคมคลิกนิกชุมชนอบอุ่น
นายแพทย์อนุกูล ไทยถานันดร์
ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ
ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่าย
โรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
เอกสาร 1 การบริการสุขภาพของผู้ป่วยนอกสิทธิประกันสุขภาพ(บัตรทอง)ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
สถานการณ์
การบริหารกองทุนผู้ป่วยนอก (OP) เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ ส่วนที่ 1 Central reimbursement (CR) และส่วนที่ 2 จัดสรรให้หน่วยบริการตามรายหัวประชากร เดิมบริหารเงินส่วนที่ 2 ด้วย Model 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข( ศบส.) คลินิกต่างเป็นหน่วยบริการประจำรับเงินจัดสรรและควบคุมค่าใช้จ่ายในวงเงินของหน่วยบริการเอง ในปีงบประมาณ 2564 เริ่มปรับมาใช้ Model 5 เครือข่ายพวงบริการ ศบส. สังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครเป็นแม่ข่าย (Area manager) และมีคลินิกเป็นลูกข่าย ควบคุมวงเงินของเครือข่าย ด้วยระบบ fee schedule และมี point system ควบคุมอีกชั้นหนึ่ง
ในปี 2566 มีเงินส่วนที่ 2 จำนวน 2,682.86 ล้านบาท สปสช.จ่ายค่าบริการผู้ป่วยนอกให้ ศบส และคลินิก เดือน ต.ค.65 - มค.66 Point ละ 1 บาท ก.พ.66 - ก.ย.66 จ่าย point ละ 0.7 บาท จ่ายให้ รพ. รับส่งต่อ (OP Refer) point ละ 1 บาทตลอดทั้งปี เมื่อสิ้นปีงบประมาณ สปสช ทำการคำนวนใหม่ ต้องจ่ายให้ รพ.รับส่งต่อ 1,900.92 ล้านบาท มีเงินเหลือนำมาจ่ายค่าบริการให้ ศบส.และคลินิก 784.94 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกค่าบริการ 1,345.59 ล้านบาท ทำให้คลินิกได้รับเงินชดเชยค่าบริการ point ละ 0.57 บาท สปสช. มองว่ามีการจ่ายเงินให้หน่วยบริการเกินกว่าวงเงินที่กำหนดรวม 290.85 ล้านบาท
ในปี 2567 พบว่า ต.ค.66 - มค.67 มีการใช้เงินส่วนที่ 2 ไปแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง จึงมีแนวโน้มว่าในปีนี้จะมีปัญหาเช่นเดียวกันปี 2566
ปัญหาการบริหารเงินของ Model 5 ในปี 2566
1. วงเงินค่าบริการส่วนของ OP Refer สูง เนื่องจากอัตราค่าบริการ Fee schedule ที่กำหนดมีจำนวนรายการน้อยเกินไปและอัตราค่ายาบางรายการต่ำจนสำนักอนามัยและคลินิกไม่สามารถซื้อได้ ทำให้คลินิก จำเป็นต้องส่งต่อไปโรงพยาบาล และเมื่อ รพ.ส่งผู้ป่วยกลับ คลินิกฯ ก็ไม่มียาจึงต้องส่งต่อไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ก่อนการใช้ Model 5 คลินิกสามารถจ่ายยาอะไรก็ได้
2. วงเงินค่าบริการซอง ศบส และคลินิกสูง เนื่องจากเครือข่ายพวงบริการเดียวกันสามารถรักษาผู้ป่วย แทนกันได้ ไม่มีระบบตรวจสอบการจ่ายยาซ้ำช้อน และอัตราค่บริการทางการแพทย์ใน กทม.ได้รับการปรับตาม ต้นทุนของ กทม ที่สูงกว่าต่างจังหวัด
3. ศบส. สำนักอนามัยมอบ สปสข.บริหารเงินแทน สปสช.กทม.บริหารเงินของแต่ละเครือข่ายพวงบริการรวมกันทั้งหมด ทำให้คลินิกที่ส่งต่อน้อยได้รับผลกระทบจากคลินิกและ คบส.ที่ส่งต่อมากเท่าๆ กัน
4. เมื่อ สปสช ไม่มีระบบให้ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินเหมือนตอนที่ใช้ Model 2
ข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหา
1. สปสช ควรจัดกลไกการรับผิดชอบผลจากการประเมินวงเงินและการบริหารผิดพลาด และถ้าผลการเบิกค่าบริการปลายปีเพิ่มมากเกินวงเงินจากการเพิ่มสิทธิประโยชน์ สปสช.ต้องของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อเยียวยา
2. การตั้ง Provider board เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีการถ่วงดุลย์อำนาจระหว่างกองทุนและหน่วยบริการ ใช้ข้อมูลการบริการจริงในการคำนวณวงเงิน
3. หยุดใช้ Model 5 ใน กทม กลับไปใช้ Model 2 โดยเร็ว และจัดสรรเงินค่าบริการผู้ป่วยนอกให้เพียงพอสำหรับการบริการอีก 8 เดือนที่เหลือในปีงบประมาณ 2567 และจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ในอัตราปกติ
4. ระมัดระวังการขยายการบริหารที่มีลักษณะคล้าย Mode! 5 ออกไปนอก กทม
สะท้อนปัญหาระบบบริการผู้ป่วยบัตรทองใน กทม
สะท้อนปัญหาระบบบริการผู้ป่วยบัตรทองใน กทม โดยผศ.พญ.ปฐมพร ศิรประภาสิริ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 13
การบริหารงบค่าบริการผู้ป่วยนอกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
ส่วนที่ 1 Central reimbursement (CR)
ส่วนที่ 2 จัดสรรให้หน่วยบริการบริหารเงิน
ปีงบประมาณ 2564 ปรับวิธีการบริหารงบส่วนที่ 2 จาก Model 2 เป็น Model 5
Model 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข(ศบส.) คลินิกชุมชนอบอุ่นต่างเป็นหน่วยบริการประจำ ทำการรักษา-ส่งต่อภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรร
Model 5
- เครือข่ายพวงบริการ ศบส.เป็นหน่วยบริการประจำแม่ข่าย-คลินิกฯเป็นลูกข่าย
- หน่วยบริการต่างๆเบิกเงินชดเชยค่าบริการตามจริง ยึดหลักการ global budget (งบประมาณปลายปิด) ควบคุมวงเงินด้วยระบบ fee schedule และ point system
- เครือข่ายพวงบริการเดียวกันจะรับผิดชอบประชากรร่วมกัน สามารถรักษาผู้ป่วยแทนกัน และส่งต่อผู้ป่วยแทนกันได้
การบริการผู้ป่วยนอก Model 5 เครือข่ายพวงบริการ ศบส-คลินิก
1. ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) สังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 69 แห่ง เป็นหน่วยบริการประจำแม่ข่าย (Area manager) ของพวงบริการ รับผิดชอบประชากรในพื้นที่และได้งบที่จัดสรรของเครือข่ายพวงบริการเพื่อบริหารจัดการจ่ายไปยังลูกข่าย
2. ศบส. สำนักอนามัย มีข้อจำกัดด้านบุคลากรไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ รับคลินิกชุมชน อบอุ่น (คลินิกเอกชน) เข้ามาเป็นพวงบริการ
3. ศบส. สำนักอนามัย ขาดบุคลากรสายงานการเงินและพัสดุ มอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 13 กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่บริหารเงินค่าบริการผู้ป่วยนอกรายหัว
4. สปสช.13 ทำหน้าที่เชิญชวนคลินิกเอกชนเข้าร่วมการให้บริการ และเป็นคู่สัญญากับคลินิกชุมชนอบอุ่น (สัญญาต่ออัตโนมัติทุกปี กรณียกเลิกสัญญาคลินิกเอกชนต้องแจ้งล่วงหน้า 6 เดือน)
หลักการ global budget งบประมาณปลายปิด
หลักการ global budget งบประมาณปลายปิด ควบคุมการใช้จ่ายด้วยระบบ Fee schedule และ Point system
1. อัตราค่าบริการ Fee schedule ใน กทม ปี 2566 จำนวน 937 รายการ เป็นรายการยาประมาณ 400 รายการ อัตราค่ายาบางรายการต่ำ สำนักอนามัยและคลินิกเอกชนไม่สามารถซื้อในราคาที่กำหนด ทั้งนี้มีการปรึกษาองค์การเภสัชกรรมแล้ว ทางองค์การ
เภสัชกรรมเห็นว่าอัตราค่ายาบางรายการการต่ำจริง
2. สปสชกทม บริหารเงินได้รับจัดสรร ปี 2566 (OP slobal budget: OPGB : 2,682.86 ล้านบาท) ของแต่ละเครือข่ายพวงบริการรวมกันทั้งหมด และคำนวณยอดสะสมครั้งสุดท้ายเมื่อสิ้นปีเพื่อสรุปยอดการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการผู้ป่วยนอก ดังนี้
2.1 จ่ายค่าบริการผู้ป่วยนอกสำหรับหน่วยบริการรับส่ง (OP Refer) ก่อน โดยจ่ายอัตรา Fee schedule (point ละ 1 บาท) กรณีไม่กำหนดรายการไว้จ่ายตามจริง ปี 2566 รวม 1,900.92 ล้านบาท
2.2 จ่ายค่าบริการผู้ป่วยนอกสำหรับหน่วยบริการประจำ (OP fee schedule: OPFS) จากเงินที่เหลือ OPGB หักลบด้วย OP refer นำมาคำนวณสัดส่วน มีข้อกำหนด point point ละไม่เกิน 1 บาท โดยไม่มีการกำหนดอัตราจ่ายขั้นต่ำ
3. ผลการคำนวณงินทั้งหมดเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2566 หน่วยบริการประจำจะได้รับเงินค่าบริการ รวมกันไม่เกิน 784.94 ล้านบาท (หน่วยบริการใหม่ปี 66 จ่าย point ละ 0.7 หน่วยบริการเก่า ก่อนปี 66 จ่าย pointละ 0.57 บาท)
4. ที่ผ่านมา สปสช ทำการจ่ายเงิน ต.ค.65 - มค.66 จ่าย point ละ 1 บาท ก.พ.66 - ก.ย.66 จ่าย pint ละ 0.7 บาท สปสช. มองว่า มีการจ่ายเงินให้หน่วยบริการเกินกว่าวงเงินที่กำหนด จึงแจ้งหนี้ สบส.และคลินิก รวมทั้งหมด 290.85 ล้านบาท
การเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการผู้ป่วย กรณี Model 5 ปีงบประมาณ 2566
สรุปผลการคำนวนปิด global budget ค่าบริการผู้ป่วยนอก กรณี Model 5 ปีงบประมาณ 2566