ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อัตราคลอดในวัยรุ่น 2 ปีหลัง ลดลงต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 90 มีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษา

อัตราคลอดในวัยรุ่น 2 ปีหลัง ลดลงต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 90 มีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษา HealthServ.net
อัตราคลอดในวัยรุ่น 2 ปีหลัง ลดลงต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 90 มีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษา ThumbMobile HealthServ.net

อัตราคลอดในวัยรุ่น 2 ปีหลัง ลดลงต่อเนื่อง กว่าร้อยละ 90 มีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษา

 7 มีนาคม 2567 ที่ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่า*การกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล  อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย ผู้แทนกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าร่วมประชุม
 
                 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กล่าวระหว่างการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2567 ว่าการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเด็กวัยเรียน วัยรุ่น ถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งนอกจาก กระทรวงสาธารณสุขจะได้ดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจแก่วัยรุ่นแล้ว ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
 
                รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากข้อมูลที่มีการรายงานโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 0.9 ต่อพันประชากรในปี 2564 เหลือ 0.8 ต่อพันประชากร ในปี 2565 อัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 24.4 ต่อพันประชากร ในปี 2564 เหลือ 21 ต่อพันประชากร ในปี 2565 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 – 2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566)
 
 

                  ด้านนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นอกจากการดำเนินการภายใต้คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แล้ว ในส่วนของนโยบายยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ได้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยรุ่น และสตรี ให้ได้รับสิทธิในการใส่ห่วงอนามัย รับยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย และบริการชุดตรวจคัดกรอง HIV ด้วยตนเอง ซึ่งผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถไปขอรับบริการดังกล่าวได้ทั้งที่รพ. ร้านยา และคลินิกที่เข้าร่วมโครงการ

               คณะรัฐมนตรีจะได้พิจารณาอนุมัติ(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 – 2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566) ภายใต้ประเด็นการพัฒนายุทธศาสตร์ 5 ประเด็น คือ

               1) การพัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิตที่มีคุณภาพและมีระบบการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม

               2) การส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการในการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น การเลี้ยงดูบุตรหลาน และการสร้างสัมพันธภาพ

               3) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร

               4) การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือการคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ และการจัดสวัสดิการสังคมในกลุ่มวัยรุ่น และ

               5) การบูรณาการฐานข้อมูล การวิจัย การจัดการความรู้ และนวัตกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
 




               แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล  อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 – 2570 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ระหว่างตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 ด้านการศึกษา พบว่า นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 96.77 มีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตที่มีคุณภาพ ร้อยละ 75.42 ได้รับการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิด้านการศึกษา และร้อยละ 81.70 ของสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านอื่น ๆ นำเรื่อง การคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่ สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผนวกเข้ากับการเรียน การสอน 

              ด้านการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการ พบว่า ร้อยละ 63.5 พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีทักษะการสื่อสารทางเพศ การเลี้ยงดูบุตรหลาน สถานประกอบกิจการมีการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์แก่ลูกจ้างอย่างถูกต้อง ร้อยละ 45.29

               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแผนงานโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติท้องถิ่น จำนวน 2,540 แห่ง

               ด้านระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร พบว่า โรงพยาบาลผ่านการประเมินรับรองตามมาตรฐาน YFHS จำนวน 313 แห่ง  ส่วนระดับอำเภอที่ผ่านการประเมินรับรองตามมาตรฐานการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับอำเภอ จำนวน 103 อำเภอ


 
                  อธิบดีกรมอนามัย ยังกล่าวด้วยว่า ความพึงพอใจของวัยรุ่นที่ได้รับบริการสุขภาพที่เป็นมิตร ร้อยละ 88.24  วัยรุ่นที่เข้าถึงบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ร้อยละ 88.06 หญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ได้รับบริการคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่ (Modern Methods) หลังคลอดหรือหลังแท้ง ร้อยละ 41.66 และหลังคลอด หรือหลังแท้งที่คุมกำเนิดได้รับการคุมกำเนิดด้วยวิธีกึ่งถาวร ร้อยละ 68.55 สนับสนุนการใช้ถุงยางอนามัยฟรี จำนวน 256,610 ชิ้น

               ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือ การคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ และการจัดสวัสดิการสังคม พบว่า มีวัยรุ่นกว่า 81,235 ราย ได้รับบริการสวัสดิการสังคมและความช่วยเหลือที่ตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสม ร้อยละ 98.83 มีความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการทางสังคม สภาเด็กและเยาวชนขับเคลื่อนกิจกรรมป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกว่า 414 กิจกรรม
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด