18 กรกฏาคม 2567 พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้เผยแพร่ บทความ เรื่อง "94 ความเชี่ยวชาญแพทย์ไทย และการแอบอ้างความเชี่ยวชาญ" ผ่าน
เพจแพทยสภา ให้ข้อมูลสำคัญหลายประเด็น เกี่ยวกับ ความเชี่ยวชาญของแพทย์ไทย ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่ การกำกับดูแล การได้มาซึ่งการรับรองความเชี่ยวชาญ จำนวนสถานะผู้เชี่ยวชาญ การแอบอ้าง ละเมิด ต่อกฏหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อความเข้าใจของประชาชน
เนื้อหาในบทความ มี 8 ข้อ ดังนี้
แพทยสภาชวนมารู้จักความเชี่ยวชาญของแพทย์ไทย ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ครับ
1. แพทยสภาเป็นผู้กำกับดูแล หลักสูตรความเชี่ยวชาญของแพทย์ไทยด้านต่างๆ ผ่านราชวิทยาลัยแพทย์และวิทยาลัยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 15 แห่ง และ 1 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันฯ เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน โดยมีคณะแพทยศาสตร์และสถาบันฝึกอบรมต่างๆเป็นผู้ จัดการเรียนการสอน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
2. แพทยศาสตร์บัณฑิต ที่จบการศึกษา 6 ปี ถือว่าเป็นแพทย์ทั่วไปยังไม่มีความเชี่ยวชาญใดๆ ต้องเข้าโปรแกรมการฝึกอบรมต่อ แพทย์ประจำบ้าน อีก 3 ถึง 7 ปี จึงเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตามกฎหมาย โดยต้อง สอบผ่านได้รับ บัตรอนุมัติหรือวุฒิบัตรก่อน ถึงจะใช้คำว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ โดยสามารถตรวจสอบ ชื่อและความเชี่ยวชาญ ของแพทย์แต่ละท่าน ได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th หัวข้อตรวจสอบแพทย์
3. ปัจจุบันมีความเชี่ยวชาญ ที่ได้รับวุฒิบัตรและบัตรอนุมัติ ตามกฎหมาย 94 สาขา(2567) เป็นสาขาหลัก 41 สาขาและอนุสาขา 53 สาขา ภายใต้อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ ของราชวิทยาลัยและสมาคม (ตามเอกสารแนบ) โดยมีระยะเวลาการ อบรม ตั้งแต่ 3-5 ปี ในสาขาหลัก(สีฟ้า) และเรียนต่ออนุสาขา เพิ่มอีก 2 ปี(สีดำ) ปัจจุบันมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กว่า 40,000 คนจากแพทย์ทั่วประเทศ 76,000 คน โดยจบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปีละกว่า 2,000 คน
4. การอบรมระยะสั้นหรือฝึกอบรมโดย สถาบันวิชาการต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ที่ไม่ได้รับการรับรองโดยแพทยสภา เป็นการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ นั้น แม้ได้รับประกาศนียบัตรจากองค์กร ไม่สามารถใช้คำว่า เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขาหรือ ผู้เชี่ยวชาญตามกฎหมายได้ เช่นเดียวกับ แพทย์จะโฆษณาว่าทำมานานจำนวนมากรายแล้วจะ โฆษณา เป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ ต้องผ่านการอบรมมาตรฐานเท่านั้น
5. การอ้างเป็นผู้ชำนาญการเฉพาะสาขาหรือผู้เชี่ยวชาญถือเป็นความผิด ตามกฎหมาย ทั้งข้อบังคับ จริยธรรมแพทยสภา และพรบ. วิชาชีพเวชกรรม ดังนี้
5.1 กรณีเป็นแพทย์จะผิดข้อบังคับจริยธรรม ถูกตั้งคณะกรรมการจริยธรรม สอบสวนข้อมูล และมีมติกรรมการแพทยสภาลงโทษ มีโทษตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตจนถึงเพิกถอนทะเบียน ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งอยู่ ในอำนาจแพทยสภา และมีลงโทษ แทบทุกเดือน
5.2 ผิดกฎหมายเป็นคดีบ้านเมืองต่อจาก คดี 5.1 คือผิดตามพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 28 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 44 คือจำคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท และหากมีความเสียหาย ต่อผู้ป่วยจะเป็นคดีแพ่งและอาญาต่อไป จะเป็นการดำเนินคดีโดยตำรวจ หลังผิด 5.1
6. ดังนั้นการอ้าง หรือโฆษณาต่อประชาชน ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ 1 ใน 94 สาขา โดยไม่ได้จบการศึกษาจริง ถือเป็นความผิด และการอ้างสาขา ความเชี่ยวชาญที่ไม่ได้อยู่ใน 94สาขาตาม กฎหมาย โดยตั้งขึ้นใหม่ ตามประสบการณ์ตนเอง เพื่อประโยชน์ ในการโฆษณา เป็นความผิดเช่นกัน เช่นผู้เชี่ยวชาญด้าน ความงาม ผิวพรรณ ร้อยไหม ปรับโครงสร้างใบหน้า ฯลฯ ซึ่งมีผู้แจ้ง เป็นเรื่องร้องเรียนและดำเนินคดีกันทุกเดือน ถ้าพบเห็นส่งหลักฐานแจ้งทางเว็บไซต์แพทยสภาได้ครับ
7. ในการประชุม แพทยสภา ครั้งที่ 7 วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ได้มีมติให้ตรวจสอบ คุณวุฒิแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายรายในโฆษณา รวมถึง ตรวจสอบความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ของวุฒิสมาชิก ที่ปรากฏในสื่อ หากไม่ถูกต้อง มีมติให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
8. สำหรับ สาขาที่มีการสอบถาม จาก ประชาชนบ่อยครั้งว่าเป็น สาขาเชี่ยวชาญหรือไม่ เช่น ชะลอวัย ความงาม เสริมสวย เหล่านี้ ยังไม่อยู่ใน 94 สาขาความเชี่ยวชาญ ที่แพทยสภา รับรองตามกฎหมาย จึงไม่สามารถใช้คำว่า เชี่ยวชาญ ด้านความงาม หรือ เสริมสวย หรือ ชะลอวัยได้ คุณหมอโปรดตรวจสอบและระมัดระวังด้วยครับ
94 สาขาความเชี่ยวชาญแพทย์ไทย
1. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สาขากุมารเวขศาสตร์. ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
2. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก ระยะเวลาศึกษา 5 ปี
3. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
4. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
5. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคไต ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
6. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
7. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
8. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
9. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
10. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
11. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
12. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและตับ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
13. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสดร์ดจวิทยา ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
14. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์โภชนาการ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
15. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชากุมารเวชศาสตร์การนอนหลับ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
16. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาจิตเวชศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
17. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
18. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาจิตเวชศาสตร์การเสพคิด ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
19. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
20. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาจิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
21. ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาจักษุวิทยา ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
22. ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาประสาทศัลยศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 5 ปี
23. ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
24. ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาพยาธิวิทยาคลินิก ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
25. ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาเวชศาสตร์บริการโลหิต ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
26. ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย สาขานิติเวชศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
27. ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาตจพยาธิวิทยา ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
28. ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาโลหิตพยาธิวิทยา ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
29. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
30. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
31. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
32. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูง ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
33. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
34. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
35. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขารังสีร่วมรักษาของลำตัว ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
36. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาวิสัญญีวิทยา ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
37. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาวิสัญญีวิทยาสำหรับเด็ก ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
38. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาวิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
39. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาวิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลออดเลือดใหญ่และทรวงอก ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
40. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาเวชศาสตร์ความปวด (วิสัญญีวิทยา) ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
41. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวฯ สาชาเวชศาสตร์ครอบครัว ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
42. วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
43. วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย อนุสาชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
44. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาชาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
45. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาชาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การบิน ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
46. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
47. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาชาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
48. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาชาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
49. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
50. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาชาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์ทางทะเล ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
51. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทาง ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
52. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาชาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การจราจร ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
53. สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย สาชาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์วิถีชีวิต ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
54. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ สาชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู่ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
55. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาศัลยศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
56. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สาขากุมารศัลยศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
57. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาศัลยศาสตร์ตกแต่ง ระยะเวลาศึกษา 5 ปี
58. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
59. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาศัลยศาสตร์ทรวงอก ระยะเวลาศึกษา 5 ปี
60. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาศัลยศาสตร์ลำไล้ใหญ่และทวารหนัก ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
61.ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
62. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
63. ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
64.ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
65. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
66. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
67. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
68. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
69. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาเวชศาสตร์ทางเพศ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
70. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาการผ่าตัดทางนรีเวชที่มีการลุกล้ำน้อย ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
71. ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาโสด ศอ นาสิกวิทยา ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
72. ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
73. ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาโสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
74. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิติกส์แห่งประเทศไทย สาขาออร์โธปิดิกส์ ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
75. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิติกส์แห่งประเทศไทย อนุสาชาออร์โธปิติกส์เด็ก ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
76. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิติกส์แห่งประเทศไทย อนุสาชาเนื้องอกกระดูกและระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
77. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
78. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาอายุรศาสตร์โรคเลือด ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
79. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาอายุรศาสตร์ ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
80. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สาชาประสาทวิทยา ระยะเวลาศึกษา 3 ปี
81. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สาขาดจวิทยา ระยะเวลาศึกษา 4 ปี
82. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาอายุรศาสตร์โรคไต ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
83. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาอายุรศาสตร์ โรคระบบทางเดินอาหาร ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
84. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ และภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
85. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาเวชบำบัดวิกฤต ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
86. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
87. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคอมไร้ท่อและเมนทบอลิซึม ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
88. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
89. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาชาอายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
90. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
91. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาอายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
92. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาเวชเภสัชและพิษวิทยา ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
93. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาโภชนศาสตร์คลินิก ระยะเวลาศึกษา +2 ปี
94. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อนุสาขาอายุรศาสตร์การนอนหลับ ระยะเวลาศึกษา +2 ปี