ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

GDP ไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โต 2.3%

GDP ไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โต 2.3% Thumb HealthServ.net
GDP ไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โต 2.3% ThumbMobile HealthServ.net

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โต 2.3% คาดปี 2567 โต 2.3-2.8%

       เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2567 ขยายด้วร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรกของปี 2567 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่สองของปี 2567 ขยายตัวจากโตรมาสแรกของปี 2567 ร้อยละ 0.8 (QoO_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวร้อยละ 1.9


       ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการอุปโภคภาครัฐบาล การส่งออกสินค้าและบริการ และการขยายตัวในเก่ณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐปรับตัวลดลง 

       ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งและการขายปลีก สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาการก่อสร้าง และสาขาเกษตรกรรม ปรับตัวลดลง





แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567

          คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3 - 2.8 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 2.5) โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุม ภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกในรูปตอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อเสลีย อยู่ในช่วงร้อยละ 0.4 - 0.9 และดุลบีซีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP



ปัจจัยสนับสนุน
  • การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
  • การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ
  • การเพิ่มขึ้นของแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
  • การกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของภาคการส่งออก



ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง
  • หนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในเกณฑ์สูงและมาตรฐานสินเชื่อที่มีความเข้มงวด
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2567 ควรให้ความสำคัญกับ

  1. การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ
  2. การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน โดย (1) เร่งสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักลงทุนต่างชาติ (2) พัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุน ในประเทศไทย (3) เร่งรัดโครงการลงทุนโนโครงสร้างพื้นฐานและ การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (4) เพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
  3. การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดย (1) ตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุ่มตลาด รวมทั้งการใช้มาตรการและวิธีการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจาก ประเทศผู้ส่งออกสำคัญ (2) ปรับปรุงกระบวนการตารตรวจสอบ คุณภาพสินค้านำเข้า (3) ดำเนินการอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำ ความผิดลักลอบนำเข้าสินค้าที่ผิดกฎหมาย
  4. การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาการเข้าถึงสภาพคล่อง ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs
  5. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เม็ดเงินรายภายภาครัฐ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว และเร่งรัดกระบวนการจัดทำ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ไม่ให้เกิดความล่าช้า
  6. การเตรียมการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ลานีญาและเอลนีโญ
  7. การเร่งรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) และการเตรียม ความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวสำคัญ
  8. การเตรียมมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบและใช้ประโยชน์จากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการค้าโลก อาทิ ความรุนแรงของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ การกีดกันทาง การค้า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความผันผวน ในตลาดการเงินโลก
 
 

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2567

         การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อน โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากร้อยละ 13.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร กลุ่มบริการทางการเงิน การบริการด้านการศึกษา และกลุ่มสถานบันเทิงอื่น ๆ

         การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และการใช้จ่ายกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

         ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 6.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่าย เพื่อซื้อยานพาหนะซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตัดสินใจชะลอการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ในช่วงที่การแข่งขันด้านราคามีความรุนแรงมากขึ้น

         การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 4.3 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์และการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้ อยู่ที่ระดับ 54.3 ลดลงจากระดับ 57.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

         การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 10.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และค่าตอบแทนแรงงาน (เงินเดือน ค่าบำเหน็จบำนาญ) ขยายตัวร้อยละ 0.8 ขณะที่ค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 3.8 ส าหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 27.7 (สูงกว่า อัตราเบิกจ่ายร้อยละ 19.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 24.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)


         รวมครึ่งแรกของปี 2567 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.4 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 0.9



        การลงทุนรวม ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามร้อยละ 6.2 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 6.8 ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือร้อยละ 8.1 สอดคล้องกับการลดลงของการลงทุนในหมวดยานพาหนะร้อยละ 22.5 และการชะลอตัวของปริมาณการนำเข้า สินค้าทุน ส่วนการลงทุนหมวดก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.2 ตามการลดลงของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ขณะที่การก่อสร้างโรงงานขยายตัวต่อเนื่อง


        การลงทุนภาครัฐ ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 27.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนของรัฐบาลลดลงร้อยละ 12.8 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 10.1 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ ร้อยละ 24.0 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 19.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

        รวมครึ่งแรกของปี 2567 การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 5.1 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.9 และการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 16.7



        การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 73,315 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ตามการขยายตัวของปริมาณ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.7

        กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว (ร้อยละ 53.0) ยางพารา (ร้อยละ 37.3) คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 147.9) อุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม (ร้อยละ 58.5) ยานยนต์ (ร้อยละ 3.3) และชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 22.5) เป็นต้น

        กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ทุเรียน (ลดลงร้อยละ 1.0) น้ำตาล (ลดลงร้อยละ 26.3) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 10.5) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ลดลงร้อยละ 14.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 0.6) และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ลดลงร้อยละ 12.8) เป็นต้น

       รวมครึ่งแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 142,908 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.2 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ


        สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลงร้อยละ 1.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยผลผลิต สินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 1.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตสินค้าสำคัญ ๆ อาทิ ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 13.0) กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 8.0) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 8.4) กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 17.6) และยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.6) ตามลำดับ ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ อ้อย (ร้อยละ 41.9) ปาล์มน้ ามัน (ร้อยละ 40.8) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 11.1) โคเนื้อ (ร้อยละ 4.8) และไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.1) ตามลำดับ ส่วนราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.5 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น ยางพารา (ร้อยละ 68.6) กลุ่มผลไม้ (ร้อยละ 22.6) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 8.4) อ้อย (ร้อยละ 28.6) และไข่ไก่คละ (ร้อยละ 3.5) ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรส าคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น สุกร (ลดลงร้อยละ 16.9) มันส าปะหลัง (ลดลงร้อยละ 21.9) และปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 18.4) ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้รายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 8.9 รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงลดลงร้อยละ 1.9
           สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง ร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของกลุ่มการผลิตเพื่อการบริโภค ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 2.5 ในขณะที่ กลุ่มการผลิตเพื่อการส่งออกและกลุ่มการผลิต ที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30-60 ลดลงร้อยละ 1.5 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ

           การผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตน้ำมันปาล์ม (ร้อยละ 25.5) การผลิตอาหาร สัตว์สำเร็จรูป (ร้อยละ 13.5) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 8.7) การผลิต สตาร์ช และผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช (ร้อยละ 30.1) และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 1.9) เป็นต้น

           ส่วนการผลิตสินค้าสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 13.4) การผลิตชิ้นส่วนและแผงวงจรฯ (ลดลงร้อยละ 18.3) การผลิตผลิตภัณฑ์ คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 9.7) การผลิตจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 14.9) และการผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง (ลดลงร้อยละ 7.2) เป็นต้น สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 57.79 ต่ำกว่า ร้อยละ 60.43 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 58.56 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

           รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.4




           สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อเนื่องจากร้อยละ 11.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ในประเทศไทยจำนวน 8.131 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 93.67 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) ส่งผลให้ มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 3.32 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 12 ร้อยละ 38.6 ส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย (ไทยเที่ยวไทย) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 10 ร้อยละ 13.0 สร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยจ านวน 2.45 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว 5.77 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ย ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 69.92 ต่ำกว่าร้อยละ 75.27 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 66.93 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

           รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 9.8


           สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ประกอบกับการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว รวมครึ่งแรกของปี 2567


           สาขาการขายส่งและการขายปลีก ขยายตัวร้อยละ 3.7 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ตามการเพิ่มขึ้นของบริการขนส่งทางอากาศ (ร้อยละ 22.3) บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง (ร้อยละ 5.2) และบริการขนส่งทางน้ า (ร้อยละ 2.6) รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 9.0


           สาขาการก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 5.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 17.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 7.8 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 30.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่อสร้างของรัฐบาลร้อยละ 17.2 และการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 2.2 ส าหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.4 ตามการลดลงของราคาหมวดเหล็ก (ลดลงร้อยละ 2.0) ราคาหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 1.6) และราคาสุขภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 3.8) เป็นสำคัญ

           รวมครึ่งแรกของปี 2567 สาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 11.2

 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด