ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักถังดับเพลิง 3 ประเภท และวิธีการดูแลรักษา

รู้จักถังดับเพลิง 3 ประเภท และวิธีการดูแลรักษา HealthServ.net
รู้จักถังดับเพลิง 3 ประเภท และวิธีการดูแลรักษา ThumbMobile HealthServ.net

ถังดับเพลิง มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) ถังดับเพลิงประเภทผงเคมีแห้ง 2) ถังดับเพลิงประเภทน้ำยาเคมีสูตรน้ำ และ 3) ถังดับเพลิงประเภทคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งสามแบบ มีวิธีการดูแลรักษาที่ต่างกัน

รู้จักถังดับเพลิง 3 ประเภท และวิธีการดูแลรักษา HealthServ
วิธีการดูแลรักษา ถังดับเพลิงแต่ละประเภท 

ประเภท 1. ถังดับเพลิงประเภทผงเคมีแห้ง  และ ประเภท 2. ประเภทน้ำยาเคมีสูตรน้ำ


ลักษณะภายนอก
  • ประเภทผงเคมีแห้ง ความดันในถัง 195 PSI  ลักษณะภายนอก  ถังสีแดง มีเกจวัดความดัน 
  • ประเภทน้ำยาเคมีสูตรน้ำ ความดันในถัง 195 PSI  ลักษณะภายนอก  ถังสีเขียว มีเกจวัดความดัน 
     

วิธีการดูแลรักษา
 
  •  ทุก 1 เดือนควรมีการตรวจสอบสภาพถัง
  •  กรณีเป็นถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ต้องมีการกลับถังเพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีจับตัวเป็นก้อน
  •  สภาพถังต้องไม่ขึ้นสนิม ไม่บุบหรือบวม สายฉีดต้องไม่แตก หรือเสื่อมสภาพ
  •  เกจวัดความดันอยู่ในระดับพร้อมใช้งาน (พื้นที่สีเขียว)
 
การจัดวางและพื้นที่ปลอดภัย
 
  •  ถังไม่ควรอยู่ในพื้นที่ตากแดด ตากฝน และความชื้น
  •  กรณีวางที่พื้นควรมีถาดรอง และโครงที่ยึดป้องกันถังล้ม
  •  กรณีแขวน ต้องมีความสูงไม่เกิน 1.50 เมตร
 



 

ประเภท 3. ถังดับเพลิงประเภทคาร์บอนไดออกไซด์

ความดันในถัง 800-1,200 PSI 
ลักษณะภายนอก  ถังสีแดง ไม่มีเกจวัดความดัน 

 
วิธีการดูแลรักษา
 
  • ตรวจสอบโดยการชั่งน้ำหนักเท่านั้นว่าปริมาณของสารเคมีในถังต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่
  •  ตรวจสอบสภาพถังและสายฉีดไม่ให้เสื่อมสภาพ
 
การจัดวางและพื้นที่ปลอดภัย
 
  •  ถังไม่ควรอยู่ในพื้นที่ตากแดด ตากฝน และความชื้น
  •  กรณีแขวนต้องมีความสูงไม่เกิน 1.50 เมตร
 


หากพบปัญหา/เหตุเสี่ยงเกี่ยวกับถังดับเพลิง ติดต่อสอบถามขอความช่วยเหลือ ได้ดังนี้
 
  •  แจ้งตรวจเช็คถังดับเพลิง โดยแจ้งข้อมูล พิกัดที่ตั้ง ภาพถ่าย และเบอร์โทรติดต่อกลับได้ที่
  •  ไลน์ @Traffy Fondue
  •  ไลน์ ศูนย์วิทยุพระราม
  •  ไลน์ Openchat (Line OA) ศูนย์วิทยุพระราม
  •  สายด่วน 199 (นักดับเพลิงและกู้ภัย กทม.)



 
รู้จักถังดับเพลิง 3 ประเภท และวิธีการดูแลรักษา HealthServ
รู้จักถังดับเพลิง 3 ประเภท และวิธีการดูแลรักษา HealthServ
 

มาตรการความปลอดภัยในการใช้ถังดับเพลิง


กรุงเทพมหานคร ได้สรุปมาตรการความปลอดภัยในการใช้ถังดับเพลิง เป็นแนวปฏิบัติโดยเคร่งครัดไว้ดังนี้

 
หยุดการซ้อมดับเพลิงทั้งหมดไว้ก่อนจนกว่าอุปกรณ์การซ้อมทั้งหมดจะได้รับการตรวจสอบ

เร่งตรวจสอบถังแดงทุกจุด
 - ให้สถานีดับเพลิงทุกสถานีและสำนักงานเขตพื้นที่ ร่วมกับประธานชุมชน ลงตรวจพื้นที่ที่มีถังแดง ซึ่งเป็นถังเคมีแห้งที่อยู่ในชุมชนทั้งหมด 
 ⁃ เก็บถังเก่าที่ใช้ไม่ได้แล้ว หรืออยู่ในสภาพที่ทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจ จะทำการเก็บ
 ⁃ ส่วนถังที่มีมาตรฐานที่ใช้ได้จะตรวจสอบเติมสารเคมีใหม่เพื่อให้พร้อมใช้ 
 ⁃ นำเทคโนโลยีมาใช้จัดทำบัญชีถังทั้งหมด แสดงจุดติดตั้งใน GPS เพื่อสามารถตรวจสอบอายุถังและระยะตรวจสอบล่าสุด 

กำหนดขั้นตอนในการตรวจสอบ (visual inspection) 
 ⁃ สามารถตรวจสอบได้ในเบื้องต้น โดยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  (อปพร.) ชุมชน ประชาชน และเจ้าหน้าที่ อาทิ การดูเกวัดค่าความดัน สลัก ความกรอบของสายดับเพลิง ขนาด ความบวมของถัง สนิมที่ถัง เป็นต้น ถ้าพบสามารถแจ้งย้ายถังกับสำนักงานเขตพื้นที่ 
 ⁃ สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีความกังวลใจ พบถังดับเพลิงที่มีลักษณะไม่ปลอดภัยสามารถแจ้งผ่านทาง Traffy Fondue 

รื้อระบบการฝึกซ้อมใหม่  
 ⁃ ให้เป็นการซ้อมแห้ง ที่ไม่มีการฉีดพ่น เป็นการใช้ถังเปล่าที่ไม่มีการอัดแรงดันใด ๆ  โดยเฉพาะในโรงเรียน 
 ⁃ ใช้เกณฑ์การเว้นระยะ
 ⁃ ไม่อนุญาตให้มีการซ้อมในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม 
 ⁃ การใช้อุปกรณ์ในการซ้อมต้องได้มาตรฐานและผ่านการตรวจสอบทุกครั้ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมดับเพลิงที่เกิดเหตุเมื่อวานนี้ (23 มิ.ย. 66) เป็นแบบคาร์บอนในออกไซด์ซึ่งจะอยู่ที่สถานีดับเพลิง ไม่ใช่ถังดับเพลิงแบบเดียวกับที่ใช้ในชุมชนและติดตั้งในสถานที่ราชการต่าง ๆ
ขณะนี้สั่งเก็บถังทั้งหมดเพื่อตรวจสอบ และจะไม่มีการซ้อมจนกว่าจะมั่นใจในความปลอดภัย


*มาตรการออกมา ภายหลังจากเกิดเหตุถังดับเพลิงระเบิด ณ โรงเรียนราชวินิต ขณะซ้อมแผนดับไฟในโรงเรียน
รู้จักถังดับเพลิง 3 ประเภท และวิธีการดูแลรักษา HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด